โรคใบจุดสีม่วงหอม

โรคใบจุดสีม่วง เนื่องจากช่วงนี้ มีหมอกและน้้าค้างลงจัดในช่วงเช้า  โดยเฉพาะเขตภาคเหนือ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกษตรกรที่ปลูกหอมแดง หอมแบ่ง หอมหัวใหญ่ กระเทียมต้น และกระเทียมหัว ระมัดระวังโรคใบจุดสีม่วง ดังนั้นควรหมั่นส้ารวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเริ่มพบอาการของ กลุ่มผงสีเทา หรือสีฟางข้าว แผลเป็นวงรี ให้รีบด้าเนินการจัดการและการป้องกันการแพร่ระบาด ลักษณะอาการ #โรคใบจุดสีม่วง เกิดจากเชื้อรา Alternaria porri อาการมักพบบนใบ เป็นจุดสีเทาเล็ก ต่อมาแผลจะขยายใหญ่เป็นวงรีสีน้ำตาล ขอบสีม่วง มีสปอร์ติดอยู่ เมื่อระบาดรุนแรงหลายแผลมากขึ้นจะทำให้ใบแห้ง ต้นโทรม ไม่ลงหัว ไม่ได้ผลผลิต หากเชื้อราเข้าทำลายส่วนหัวจะทำให้หัวเน่าและเก็บไว้ได้ไม่นาน การแพร่ระบาด สปอร์ของเชื้อรา สามารถแพร่กระจายไปตามลม น้ำฝน แมลง เครื่องมือ และเมล็ด ราสามารถอยู่ข้ามฤดู โดยปนอยู่กับเศษซากพืชในดิน โรคระบาดได้ดีในสภาพอากาศเย็น มีความชื้นสูง อาการจะรุนแรงมากขึ้นถ้ามีเพลี้ยไฟเข้าทำลายซ้ำ   วิธีการป้องกันกำจัด ทำลายเศษซากพืชที่เป็นโรคออกไปเผาทำลายนอกแปลง ตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบโรคพ่นด้วย #โคปิน่า โกลด์ อัตรา 20 กรัม…

บำรุงทุเรียนในระยะผลอ่อน เพื่อให้มีพัฒนาการของผลอย่างสมบูรณ์

บำรุงทุเรียน  ในระยะผลอ่อน เพื่อให้มีพัฒนาการของผลอย่างสมบูรณ์ ขยายผล ลูกใหญ่ ทรงสวย มีคุณภาพ

เพลี้ยไฟสาเหตุดอกร่วง หนามจีบในทุเรียนระยะดอก

เพลี้ยไฟสาเหตุดอกร่วง หนามจีบในทุเรียนระยะดอก ชื่อวิทยาศาสตร์ Scirothrips dorsalis Hoods อีกชื่อว่า เพลี้ยไฟพริก   ลักษณะการเข้าทำลาย ระยะดอกบาน โดยดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณกลีบดอก ทำให้ดอกแห้ง ใบหลุดร่วง ระยะหางแย้ เพลี้ยไฟจะอยู่ตามหมวกดอก ทำให้การผสมเกสรไม่สมบูรณ์ ดอกหลุดร่วง ระยะติดผลอ่อน เพลี้ยไฟจะอยู่ตามซอกหนามทุเรียน ทำให้ปลายหนามแห้ง ทำให้เกิดอาการหนามจีบ ชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตต่ำ รูปทรงจะบิดเบี้ยว ทำให้ตกเกรด ราคาตก ส่งออกไม่ได้   การป้องกันกำจัด หมั่นสำรวจแปลงทุก 3 วันในช่วงก่อนดอกบานจนถึงช่วงติดผลอ่อน ระยะหางแย้ควรช่วยเคาะกิ่งหรือใช้การปัดเกี่ยวหมวกดอกให้หลุดร่วงเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นที่หลบซ่อนของเพลี้ยไฟ การเพิ่มความชื้นในแปลงโดยการให้น้ำ ยังช่วยเพิ่มปริมาณศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยไฟให้มากขึ้นในช่วงหน้าแล้ง พ่นกำจัดเพลี้ยไฟเมื่อพบการระบาด โดยเลี่ยงสารกลุ่ม EC เพราะน้ำมันจะทำให้เกิดความเป็นพิษต่อดอกและดอกหลุดร่วงได้ แนะนำให้ใช้สูตรผง (WG), สูตรเนื้อครีม (SC) หรือยาสูตรน้ำ (SL)   ป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟพริก กลุ่ม 13 โรแนน (SC) อัตรา 30 ซีซี…

เตือนภัย!! โรคเน่าดำ หรือ ขอบใบทอง ในพืชตระกูลกะหล่ำ

เตือนภัยการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าว หนอนหัวดำมะพร้าว (Coconut black-headed caterpillar) มีชื่อวิทยาศาสตร์: Opisina arenosella Walker เป็นศัตรูมะพร้าวที่สำคัญ เนื่องจากช่วงนี้สภาพอากาศแห้ง กลางวันอากาศร้อน แดดจัดเหมาะสมต่อการแพร่ระบาดและมีรายงานสถานการณ์การระบาดในหลายพื้นที่   รูปร่างลักษณะ ผีเสื้อหนอนหัวดำมะพร้าวเพศเมียสามารถวางไข่ตั้งแต่ 49-490 ฟอง ตัวอ่อนหนอนจะมีหัวสีดำ ลำตัวสีเหลือง สีของส่วนหัวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มเมื่ออายุมากขึ้น เมื่อโตเต็มที่จะมีลำตัวยาว 2–2.5 เซนติเมตร ระยะหนอน 32-48 วัน   ลักษณะการทำลาย หนอนหัวดำมะพร้าวเข้าทำลายใบเฉพาะระยะตัวหนอนเท่านั้น โดยจะกัดแทะผิวใบแก่และสร้างใยถักพันโดยใช้มูลที่ถ่ายออกมาผสมกับเส้นใยที่สร้างขึ้นทำเป็นอุโมงค์ยาวตามแนวของใบมะพร้าวคล้ายทางเดินของปลวก ต้นมะพร้าวที่ถูกหนอนหัวดำมะพร้าวลงทำลายจะมีใบแห้ง และมีสีน้ำตาล ผลผลิตลดลง หากการทำลายรุนแรงอาจทำให้ต้นมะพร้าวตายได้     การป้องกันกำจัด 1.วิธีการฉีดสารเคมีเข้าต้น (trunk injection) ป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว ใช้สารอีมาเมกติน เบนโซเอต 1.92% EC เข้มข้นโดยไม่ต้องผสมน้ำฉีดเข้าที่ลำต้นมะพร้าวอัตรา 30 มิลลิลิตรต่อต้น โดยใช้สว่าน 5 หุน เจาะรูให้เอียงลงประมาณ 45 องศา…