เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน ระบาดหนัก ทำลายทุเรียนในช่วงใบอ่อน

เพลี้ยจักจั่นฝอย ทำลายทุเรียนช่วงทำใบ เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน (Durian leafhopper) ชื่อวิทยาศาสตร์: Amrasca durianae Hongsaprug   ลักษณะการเข้าทำลาย ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมักเข้าทำลายในช่วงทุเรียนแตกใบใหม่หรือใบอ่อน ดูดกินน้ำเลี้ยงตรงขอบใบ ทำให้ใบเหมือนถูกน้ำร้อนลวก ต่อมาขอบใบจะเริ่มแห้งสีน้ำตาลม้วนงอขึ้น การระบาดรุนแรงจะทำให้ใบอ่อนร่วงทั้งต้น ยอดทุเรียนเหลือแต่ก้าน หรือเรียก “ยอดก้านธูป” ทำให้ทุเรียนหยุดชะงักการเจริญเติบโต ไม่สามารถผลิตใบแต่ละชุดได้   การจัดการควรใช้วิธีผสมผสาน วิธีกล: บังคับยอดให้แตกพร้อมกัน ใช้กับดักกาวเหนียวอย่างน้อย 80 กับดักต่อไร่ สำรวจต้น 10-20 ต้น สุ่มเคาะยอดอ่อนต้นละ 5 ยอด ถ้าพบใบแสดงอาการโดนเพลี้ยจักจั่นฝอยทำลาย ให้พ่นสาร การสารเคมีกำจัดแมลง เอราโทเอต (กลุ่ม 1B) กำจัดทุกระยะ อัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 2 ครั้ง ทุก 7 วัน + เอราเฟซิน…

เตือนภัยการระบาดของแมลงหวี่ขาวข้าว

เตือนภัยการระบาดของแมลงหวี่ขาวข้าว   ในสภาพอากาศที่แปรปรวน ภาวะโลกร้อน ทำให้อุณหภูมิปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้น แมลงหลายชนิดจึงปรับพฤติกรรมและหาแหล่งอาหารใหม่ส่งผลให้เริ่มพบการระบาดของแมลงศัตรูข้าวใหม่ได้ และหนึ่งในแมลงที่พบคือ แมลงหวี่ขาวข้าว Aleurocybotus indicus เริ่มเข้าทำลายในหลายจังหวัดในขณะนี้   แมลงหวี่ขาวข้าว มีขนาดเล็กแต่บินได้ไม่ไกล จะมีลมช่วยในการพัดพา การแพร่พันธุ์และขยายพันธุ์รวดเร็ว เพศเมียวางไข่ได้ 100-240 ฟอง ตลอดวงจรชีวิตใช้เวลาประมาณ 17-24 วัน อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 30 องศาเซลเซียส ระบาดมากในช่วงอากาศร้อนชื้น (ก.ค. – ส.ค.)   ลักษณะการทำลาย แมลงหวี่ขาวข้าว ตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบข้าวในระยะแตกกอ ช่วงแรกจะสังเกตเห็นใบข้าวเป็นวงสีเหลือง ถ้าระบาดมากใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ใบบิดเบี้ยว ทำให้ต้นข้าวชะงักการเจริญเติบโต ถ้าในระยะออกดอก จะทำให้ช่อดอกและเมล็ดข้าวเหี่ยวเฉา ออกรวงไม่ได้   การจัดการควรใช้วิธีผสมผสาน วิธีเขตกรรม หมั่นสำรวจแปลงนาข้าวอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ระยะกล้า 20 วันขึ้นไป ไม่ปลูกข้าวหนาแน่นเกินไป ชีววิธี กำจัดโดยใช้แมลงศัตรูธรรมชาติ เช่น ด้วงเต่าตัวห้ำ, แตนเบียน และมวนเขียวดูดไข่ พ่นกำจัดแมลงหวี่ขาวข้าวเมื่อพบการระบาด…

เพลี้ยไฟสาเหตุดอกร่วง หนามจีบในทุเรียนระยะดอก

เพลี้ยไฟสาเหตุดอกร่วง หนามจีบในทุเรียนระยะดอก ชื่อวิทยาศาสตร์ Scirothrips dorsalis Hoods อีกชื่อว่า เพลี้ยไฟพริก   ลักษณะการเข้าทำลาย ระยะดอกบาน โดยดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณกลีบดอก ทำให้ดอกแห้ง ใบหลุดร่วง ระยะหางแย้ เพลี้ยไฟจะอยู่ตามหมวกดอก ทำให้การผสมเกสรไม่สมบูรณ์ ดอกหลุดร่วง ระยะติดผลอ่อน เพลี้ยไฟจะอยู่ตามซอกหนามทุเรียน ทำให้ปลายหนามแห้ง ทำให้เกิดอาการหนามจีบ ชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตต่ำ รูปทรงจะบิดเบี้ยว ทำให้ตกเกรด ราคาตก ส่งออกไม่ได้   การป้องกันกำจัด หมั่นสำรวจแปลงทุก 3 วันในช่วงก่อนดอกบานจนถึงช่วงติดผลอ่อน ระยะหางแย้ควรช่วยเคาะกิ่งหรือใช้การปัดเกี่ยวหมวกดอกให้หลุดร่วงเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นที่หลบซ่อนของเพลี้ยไฟ การเพิ่มความชื้นในแปลงโดยการให้น้ำ ยังช่วยเพิ่มปริมาณศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยไฟให้มากขึ้นในช่วงหน้าแล้ง พ่นกำจัดเพลี้ยไฟเมื่อพบการระบาด โดยเลี่ยงสารกลุ่ม EC เพราะน้ำมันจะทำให้เกิดความเป็นพิษต่อดอกและดอกหลุดร่วงได้ แนะนำให้ใช้สูตรผง (WG), สูตรเนื้อครีม (SC) หรือยาสูตรน้ำ (SL)   ป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟพริก กลุ่ม 13 โรแนน (SC) อัตรา 30 ซีซี…