โรคใบจุดสีม่วง

เนื่องจากช่วงนี้ มีหมอกและน้้าค้างลงจัดในช่วงเช้า  โดยเฉพาะเขตภาคเหนือ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกษตรกรที่ปลูกหอมแดง หอมแบ่ง หอมหัวใหญ่ กระเทียมต้น และกระเทียมหัว ระมัดระวังโรคใบจุดสีม่วง ดังนั้นควรหมั่นส้ารวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเริ่มพบอาการของ กลุ่มผงสีเทา หรือสีฟางข้าว แผลเป็นวงรี ให้รีบด้าเนินการจัดการและการป้องกันการแพร่ระบาด

ลักษณะอาการ

#โรคใบจุดสีม่วง เกิดจากเชื้อรา Alternaria porri อาการมักพบบนใบ เป็นจุดสีเทาเล็ก ต่อมาแผลจะขยายใหญ่เป็นวงรีสีน้ำตาล ขอบสีม่วง มีสปอร์ติดอยู่ เมื่อระบาดรุนแรงหลายแผลมากขึ้นจะทำให้ใบแห้ง ต้นโทรม ไม่ลงหัว ไม่ได้ผลผลิต หากเชื้อราเข้าทำลายส่วนหัวจะทำให้หัวเน่าและเก็บไว้ได้ไม่นาน

การแพร่ระบาด

สปอร์ของเชื้อรา สามารถแพร่กระจายไปตามลม น้ำฝน แมลง เครื่องมือ และเมล็ด ราสามารถอยู่ข้ามฤดู โดยปนอยู่กับเศษซากพืชในดิน โรคระบาดได้ดีในสภาพอากาศเย็น มีความชื้นสูง อาการจะรุนแรงมากขึ้นถ้ามีเพลี้ยไฟเข้าทำลายซ้ำ

 

วิธีการป้องกันกำจัด

  • ทำลายเศษซากพืชที่เป็นโรคออกไปเผาทำลายนอกแปลง
  • ตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบโรคพ่นด้วย #โคปิน่า โกลด์ อัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร สลับกับ #ไอโรเน่ ดับบลิวจี เพื่อป้องกันการดื้อยาของเชื้อสาเหตุ โดยพ่นทุก 7 วัน จำนวน 2 ครั้ง
  • หมั่นตรวจสอบแปลงปลูกระวังเรื่องเพลี้ยไฟ ให้พ่น เอรามอล 83 อัตรา 10-30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพราะเมื่อพืชถูกรบกวน พืชจะอ่อนแอต่อโรค

ในฤดูถัดไป

  • ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคควรปลูกพืชชนิดอื่นที่ไม่ใช่สกุลหอมกระเทียมสลับ เพื่อลดการระบาดของโรค
  • ก่อนปลูกควรปรับปรุงดินให้มีสภาพเหมาะสมกับการปลูกหอมและกระเทียม โดยการใส่ ปูนขาว ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์ ให้ได้ค่า pH5-7.0
  • ใช้หัวพันธุ์ที่ปราศจากโรค โดยแช่หัวพันธุ์หรือต้นกล้าก่อนปลูก ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา – ไดฟีโนโคนาโซล 25% อีซี อัตรา 30-40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร นาน 15-20 นาที