ร้อนสลับฝน ความชื้นสูง เฝ้าระวังโรคผลเน่า ระบาดในทุเรียน

เนื่องจากช่วงนี้ มีฝนตกสลับกับอากาศร้อนชื้น โดยเฉพาะชาวสวนทุเรียนในพื้นที่ปลูกทุเรียนในภาคตะวันออกและภาคใต้ ต้องระมัดระวังโรคผลเน่า ที่มีเชื้อสาเหตุจากเชื้อราไฟทอฟธอร่า (Phytophthora palmivora) มักพบได้ตั้งแต่ระยะผลอ่อนจนกระทั่งหลังเก็บเกี่ยว ดังนั้นเกษตรกรควรเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นทั้งก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว

ลักษณะอาการ

จะเห็นจุดแผลขนาดเล็กสีน้ำตาลดำบนผล และจะขยายใหญ่ลุกลามมากขึ้นตามการสุกของผล ในสภาพที่มีความชื้นสูงอาจพบเส้นใยสีขาวของเชื้อรา โดยจะพบอาการของโรคได้ตั้งแต่ผลยังอยู่บนต้น ซึ่งถ้าอาการรุนแรงมากผลจะเน่าร่วงหล่นก่อนกำหนด นอกจากนั้น ยังสามารถพบอาการดังกล่าวหลังการเก็บเกี่ยวเมื่อเกิดแผลที่ผลระหว่างการขนย้ายจากเชื้อที่ยังติดไปกับผล

การแพร่ระบาด

ในสวนทุเรียนที่มีการระบาดของโรครากเน่าโคนเน่าจะมีโอกาสเกิดโรคผลเน่าจากเชื้อราไฟท็อปธอร่าได้สูง เชื้อราสาเหตุโรคผลเน่าสามารถแพร่ระบาดได้ด้วยลมและฝน รวมทั้งเศษซากพืชที่เป็นโรคภายในแปลง  เชื้อสาเหตุโรคอาจจะติดไปกับผลได้โดยยังไม่แสดงอาการ ดังนั้นการเก็บเกี่ยวผลต้องระมัดระวังไม่ให้ผลสัมผัสกับดิน

 

วิธีการป้องกันกำจัด

  • ตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ ให้ตัดผลและเก็บผลร่วงหล่นที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก
  • การป้องกัน พ่นด้วย #โคปิน่า โกลด์ อัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร สลับกับ #ไอโรเน่ ดับบลิวจี เพื่อป้องกันการดื้อยาของเชื้อสาเหตุ โดยพ่นทุก 7 วัน จำนวน 2 ครั้ง ควรหยุดพ่นสารก่อนเก็บเกี่ยวผลอย่างน้อย 15 วัน
  • การรักษา พ่นด้วย #โรบินนิล อัตรา 10-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร สลับกับ #เอราฟอสทิล โกลด์ อัตรา 50กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สลับกับ #ซิลโม-เอ็ม อัตรา 80กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สลับกับ #เรนแมน อัตรา 5 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
  • ไม่นำเครื่องมือตัดแต่งที่ใช้กับต้นเป็นโรคไปใช้ต่อกับต้นปกติ และทำความสะอาดเครื่องมือก่อนนำไปใช้ใหม่ทุกครั้ง
  • การเก็บเกี่ยวผลต้องระมัดระวังไม่ให้ผลสัมผัสกับดินซึ่งมีเชื้อสาเหตุโรค หรือปูพื้นดินที่จะวางผลด้วยวัสดุหรือกระสอบที่สะอาด และการขนย้ายควรระมัดระวังไม่ให้เกิดบาดแผลที่ผล