โรครากเน่า โคนเน่า

เกิดจากเชื้อรา ไฟทอฟธอรา Phytophthora palmivora

 

เชื้อชนิดนี้จะพักตัวอยู่ในดินในรูปของคลาไมโดสปอร์(Chlamydospores) พักตัวอยู่ในดินได้นานเป็นปีๆ เมื่อสภาวะเหมาะสมหรือเมื่อมีความชื้นมีน้ำก็จะงอกออกมาเป็นเส้นใย สร้างส่วนขยายพันธุ์ที่เรียกว่าสปอร์แรงเจี่ยม(sporangium)ที่มีสปอร์ที่มีหางอยู่ภายในที่เรียกว่าซูโอสปอร์(Zoospores) เมื่อแตกออกมาก็จะเคลื่อนที่ไปตามน้ำเข้าทำลายระบบรากของทุเรียน ซึ่งอาจจะแพร่กระจายติดไปกับดินปลูกและกิ่งพันธุ์ได้

เชื้อชนิดนี้สามารถเข้าทำลายระบบราก ลำต้น กิ่ง ใบและผลทุเรียนได้ โดยเฉพาะเมื่อเริ่มติดผลอ่อนจนกระทั่งผลแก่ โดยติดเชื้อจากความชื้นจากการไหล ชะล้างและแรงกระแทกจากน้ำฝน

 

ผลิตภัณฑ์แนะนำ

วิธีการทาแผลที่เป็นโรค

ถากหรือขูดแผลที่เน่าออกให้หมด และขูดเปลือกเนื้อไม้รอบๆแผลซึ่งเป็นเนื้อไม้ดีออกกว้างประมาณ 3 นิ้ว แล้วใช้

เรนแมน

อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 1 ลิตร ทาตามบริเวณรอยถาก แล้วพ่นทางใบด้วย

เรนแมน

อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วใบและลำต้น เดือนละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3 ครั้ง

or-button

เอราฟอสทิล

อัตรา 150 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ทาตามบริเวณรอยถากแล้วพ่นทางใบด้วย

เอราฟอสทิล

อัตรา 100 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วใบและลำต้นเดือนละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3 ครั้ง