การจัดการหนอนกอข้าวอย่างมีประสิทธิภาพ

การจัดการหนอนกอข้าวอย่างมีประสิทธิภาพ   หนอนกอข้าว ทำลายข้าวตั้งแต่ช่วงระยะกล้าจนถึงระยะข้าวออกรวง ในแถบเอเชียมีรายงานการระบาดของหนอนกอข้าวหลายชนิด เช่น หนอนกอสีครีม;Scirpophaga incertulas หนอนกอแถบลาย;Chilo suppressalis หนอนกอสีชมพู;Sesamia inferens หนอนกอหัวดำหรือหนอนกอแถบลายสีม่วง (dark-headed stem borer); Chilo polychrysus และหนอนกอสีขาว;Chilo innotata ซึ่งหนอนกอสีขาวยังไม่มีรายงานในประเทศไทย หนอนกอสีครีมและหนอนกอแถบลายเป็นชนิดที่พบการทำลายมากที่สุด หนอนกอสีครีมสามารถทำลายจนเกิดความเสียหายของผลผลิตมากถึง 20%ในช่วงข้าวแตกกอ และ 80% ในช่วงข้าวออกรวง ในขณะที่หนอนกอแถบลายอาจทำลายรุนแรงจนผลผลิตเสียหายโดยสิ้นเชิง   มีรายงานว่ามีพืชตระกูลหญ้าหลายชนิดเป็นพืชอาศัยของหนอนกอเหล่านี้ เช่น ข้าวฟ่าง หญ้าปล้องหิน หญ้าตีนกา หญ้าชันกาด ข้าวป่า ข้าวสาลี ข้าวบาเล่ย์  เป็นต้น ลักษณะและการจำแนกการทำลายของหนอนกอข้าว (Damage symptoms caused by stem borers and How to identify): หนอนกอข้าวแม้จะมีหลายชนิดแต่ลักษณะการทำลายในข้าวจะเหมือนกัน หนอนขนาดเล็กจะเจาะเข้าภายในซอกกาบใบ ก่อนที่จะเจาะเข้าไปในต้นข้าวบริเวณโคนกอข้าวเพื่อกัดกินผิวของผนังด้านในของลำต้น การทำลายลักษณะดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการส่งอาหารจากลำต้นไปที่จุดเจริญ ซึ่งการทำลายจะเกิดอาการได้ 2…

เตือนภัย ระวังโรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง

โรคของพืชตระกูลแตง : โรคราน้ำค้าง (Downy mildew) เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Peronosporaparasitica   ลักษณะอาการ เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลแตงทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้ระวังโรคราน้ำค้างระบาด เนื่องจากช่วงนี้อากาศร้อนสลับฝนตกบ่อย มีความชื้นสูงหรือหมอกลงจัด สภาพอากาศเหมาะต่อการเจริญของเชื้อราโดยจะพบอาการจะเกิดเป็นรอยจุดสีดำบนใบ ในช่วงเช้าด้านหลังของใบอาจมองเห็นกลุ่มของเส้นใยของเชื้อรา จากนั้นปื้นสีเหลืองจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล โดยเริ่มเปลี่ยนจากกลางแผลออกไป   การแพร่ระบาด โรคนี้ระบาดได้ตั้งแต่ระยะต้นกล้าจนถึงระยะเจริญเติบโตเต็มที่ การระบาดของโรคอย่างรวดเร็วทำให้ใบจะร่วงและแห้งตาย พืชชะงักการเจริญเติบโต กระทบการออกดอกและการติดผลมากกว่า 50% ผลมีขนาดเล็กและคุณภาพต่ำ ถ้าหากควบคุมโรคได้ไม่ดี จะก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงทั้งในสภาพการปลูกในแปลงเปิด ในโรงเรือน และในสภาพการปลูกในไร่   การป้องกันและกำจัดโรคราน้ำค้าง ✅ เลือกปลูกพันธุ์ที่มีความต้านทานต่อโรค ✅ ทำลายวัชพืชในแปลงเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค ✅ แปลงที่มีการระบาดของโรค หลังเก็บเกี่ยวให้เก็บซากพืชไปทำลายนอกแปลงปลูก ✅ แช่เมล็ดพันธุ์ ด้วยน้ำอุ่นอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที แล้วคลุกด้วยสารเมทาแลกซิล 35% ดีเอส อัตรา 7 กรัม…

เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน ระบาดหนัก ทำลายทุเรียนในช่วงใบอ่อน

เพลี้ยจักจั่นฝอย ทำลายทุเรียนช่วงทำใบ เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน (Durian leafhopper) ชื่อวิทยาศาสตร์: Amrasca durianae Hongsaprug   ลักษณะการเข้าทำลาย ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมักเข้าทำลายในช่วงทุเรียนแตกใบใหม่หรือใบอ่อน ดูดกินน้ำเลี้ยงตรงขอบใบ ทำให้ใบเหมือนถูกน้ำร้อนลวก ต่อมาขอบใบจะเริ่มแห้งสีน้ำตาลม้วนงอขึ้น การระบาดรุนแรงจะทำให้ใบอ่อนร่วงทั้งต้น ยอดทุเรียนเหลือแต่ก้าน หรือเรียก “ยอดก้านธูป” ทำให้ทุเรียนหยุดชะงักการเจริญเติบโต ไม่สามารถผลิตใบแต่ละชุดได้   การจัดการควรใช้วิธีผสมผสาน วิธีกล: บังคับยอดให้แตกพร้อมกัน ใช้กับดักกาวเหนียวอย่างน้อย 80 กับดักต่อไร่ สำรวจต้น 10-20 ต้น สุ่มเคาะยอดอ่อนต้นละ 5 ยอด ถ้าพบใบแสดงอาการโดนเพลี้ยจักจั่นฝอยทำลาย ให้พ่นสาร การสารเคมีกำจัดแมลง เอราโทเอต (กลุ่ม 1B) กำจัดทุกระยะ อัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 2 ครั้ง ทุก 7 วัน + เอราเฟซิน…

เตือนภัยการระบาดของแมลงหวี่ขาวข้าว

เตือนภัยการระบาดของแมลงหวี่ขาวข้าว   ในสภาพอากาศที่แปรปรวน ภาวะโลกร้อน ทำให้อุณหภูมิปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้น แมลงหลายชนิดจึงปรับพฤติกรรมและหาแหล่งอาหารใหม่ส่งผลให้เริ่มพบการระบาดของแมลงศัตรูข้าวใหม่ได้ และหนึ่งในแมลงที่พบคือ แมลงหวี่ขาวข้าว Aleurocybotus indicus เริ่มเข้าทำลายในหลายจังหวัดในขณะนี้   แมลงหวี่ขาวข้าว มีขนาดเล็กแต่บินได้ไม่ไกล จะมีลมช่วยในการพัดพา การแพร่พันธุ์และขยายพันธุ์รวดเร็ว เพศเมียวางไข่ได้ 100-240 ฟอง ตลอดวงจรชีวิตใช้เวลาประมาณ 17-24 วัน อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 30 องศาเซลเซียส ระบาดมากในช่วงอากาศร้อนชื้น (ก.ค. – ส.ค.)   ลักษณะการทำลาย แมลงหวี่ขาวข้าว ตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบข้าวในระยะแตกกอ ช่วงแรกจะสังเกตเห็นใบข้าวเป็นวงสีเหลือง ถ้าระบาดมากใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ใบบิดเบี้ยว ทำให้ต้นข้าวชะงักการเจริญเติบโต ถ้าในระยะออกดอก จะทำให้ช่อดอกและเมล็ดข้าวเหี่ยวเฉา ออกรวงไม่ได้   การจัดการควรใช้วิธีผสมผสาน วิธีเขตกรรม หมั่นสำรวจแปลงนาข้าวอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ระยะกล้า 20 วันขึ้นไป ไม่ปลูกข้าวหนาแน่นเกินไป ชีววิธี กำจัดโดยใช้แมลงศัตรูธรรมชาติ เช่น ด้วงเต่าตัวห้ำ, แตนเบียน และมวนเขียวดูดไข่ พ่นกำจัดแมลงหวี่ขาวข้าวเมื่อพบการระบาด…

บริษัท เอราวัณ เคมีเกษตร จำกัด ต้อนร้านค้าทั่วประเทศเยี่ยมชมโรงงาน จ. นครปฐม ปี 2567

เมื่อวันที่ 7-10 พฤษภาคม 2567 คุณโกศล นาคเรือง ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เอราวัณเคมีเกษตร จำกัด พร้อมคณะผู้บริหาร ร่วมให้การต้อนรับ ร้านค้าตัวแทนจำหน่ายเคมีเกษตรจากทั่วประเทศเยี่ยมชมโรงงานผลิตของบริษัทฯ จังหวัดนครปฐม ในงาน ERAWAN OPEN HOUSE โดยจัดให้มีการฟังบรรยายสรุปภาพรวมการดำเนินงาน ความก้าวหน้า การพัฒนาของโรงงานบริษัทฯ นั่งรถเยี่ยมชมสายการผลิต เครื่องจักรที่ทันสมัย อาคารคลังสินค้าที่จัดเก็บสินค้าที่ได้มาตรฐาน อาคารห้องปฏิบัติการ R&D  พร้อมกับรับฟังวิชาการและผลการทดลองจากทางผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ร้านค้าเชื่อมั่นในผลการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และในช่วงค่ำ ได้มีมีการจัดเลี้ยงที่โรงแรมไมด้า แกรนด์ ทวารวดี ซึ่งมีกิจกรรมวงล้อลุ้นโชค พร้อมโชว์จากนักร้องลูกทุ่งชื่อดัง หนิง ปัทมา ที่มอบความสุขแก่ร้านค้าอย่างสนุกสนาน โดยภายในงานมีลำดับดังนี้ 8.00 น. ร้านค้าลงทะเบียนเข้าร่วมเยี่ยมชมโรงงาน ฟังสัมนาวิชาการพร้อมแนะนำสินค้าคุณภาพ และทีมงานวิจัย R&D สาธิตคุณภาพยาของทางบริษัท 18.00 น.  ลูกค้าลงทะเบียนเข้าร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำ ‘ERAWAN OPEN HOUSE 2024’ ภายในงานยังมีกิจกรรมวงล้อลุ้นโชค ที่ลุ้นกันอย่างสนุกสาน 19.00 น.…

บริษัท เอราวัณ เคมีเกษตร จำกัด ต้อนร้านค้าทั่วประเทศเยี่ยมชมโรงงาน จ. นครปฐม ปี 2567

เมื่อวันที่ 27-30 เมษายน 2567 คุณโกศล นาคเรือง ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เอราวัณเคมีเกษตร จำกัด พร้อมคณะผู้บริหาร ร่วมให้การต้อนรับ ร้านค้าตัวแทนจำหน่ายเคมีเกษตรจากทั่วประเทศเยี่ยมชมโรงงานผลิตของบริษัทฯ จังหวัดนครปฐม ในงาน ERAWAN OPEN HOUSE โดยจัดให้มีการฟังบรรยายสรุปภาพรวมการดำเนินงาน ความก้าวหน้า การพัฒนาของโรงงานบริษัทฯ นั่งรถเยี่ยมชมสายการผลิต เครื่องจักรที่ทันสมัย อาคารคลังสินค้าที่จัดเก็บสินค้าที่ได้มาตรฐาน อาคารห้องปฏิบัติการ R&D  พร้อมกับรับฟังวิชาการและผลการทดลองจากทางผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ร้านค้าเชื่อมั่นในผลการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และในช่วงค่ำ ได้มีมีการจัดเลี้ยงที่โรงแรมไมด้า แกรนด์ ทวารวดี ซึ่งมีกิจกรรมวงล้อลุ้นโชค พร้อมโชว์จากนักร้องลูกทุ่งชื่อดัง หนิง ปัทมา ที่มอบความสุขแก่ร้านค้าอย่างสนุกสนาน โดยภายในงานมีลำดับดังนี้ 8.00 น. ร้านค้าลงทะเบียนเข้าร่วมเยี่ยมชมโรงงาน ฟังสัมนาวิชาการพร้อมแนะนำสินค้าคุณภาพ และทีมงานวิจัย R&D สาธิตคุณภาพยาของทางบริษัท 18.00 น.  ลูกค้าลงทะเบียนเข้าร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำ ‘ERAWAN OPEN HOUSE 2024’ ภายในงานยังมีกิจกรรมวงล้อลุ้นโชค ที่ลุ้นกันอย่างสนุกสาน 19.00 น.…

อากาศร้อนสลับฝนตก เฝ้าระวัง!!! โรคผลเน่าในทุเรียน

ร้อนสลับฝน ความชื้นสูง เฝ้าระวังโรคผลเน่า ระบาดในทุเรียน เนื่องจากช่วงนี้ มีฝนตกสลับกับอากาศร้อนชื้น โดยเฉพาะชาวสวนทุเรียนในพื้นที่ปลูกทุเรียนในภาคตะวันออกและภาคใต้ ต้องระมัดระวังโรคผลเน่า ที่มีเชื้อสาเหตุจากเชื้อราไฟทอฟธอร่า (Phytophthora palmivora) มักพบได้ตั้งแต่ระยะผลอ่อนจนกระทั่งหลังเก็บเกี่ยว ดังนั้นเกษตรกรควรเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นทั้งก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว ลักษณะอาการ จะเห็นจุดแผลขนาดเล็กสีน้ำตาลดำบนผล และจะขยายใหญ่ลุกลามมากขึ้นตามการสุกของผล ในสภาพที่มีความชื้นสูงอาจพบเส้นใยสีขาวของเชื้อรา โดยจะพบอาการของโรคได้ตั้งแต่ผลยังอยู่บนต้น ซึ่งถ้าอาการรุนแรงมากผลจะเน่าร่วงหล่นก่อนกำหนด นอกจากนั้น ยังสามารถพบอาการดังกล่าวหลังการเก็บเกี่ยวเมื่อเกิดแผลที่ผลระหว่างการขนย้ายจากเชื้อที่ยังติดไปกับผล การแพร่ระบาด ในสวนทุเรียนที่มีการระบาดของโรครากเน่าโคนเน่าจะมีโอกาสเกิดโรคผลเน่าจากเชื้อราไฟท็อปธอร่าได้สูง เชื้อราสาเหตุโรคผลเน่าสามารถแพร่ระบาดได้ด้วยลมและฝน รวมทั้งเศษซากพืชที่เป็นโรคภายในแปลง  เชื้อสาเหตุโรคอาจจะติดไปกับผลได้โดยยังไม่แสดงอาการ ดังนั้นการเก็บเกี่ยวผลต้องระมัดระวังไม่ให้ผลสัมผัสกับดิน   วิธีการป้องกันกำจัด ตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ ให้ตัดผลและเก็บผลร่วงหล่นที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก การป้องกัน พ่นด้วย #โคปิน่า โกลด์ อัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร สลับกับ #ไอโรเน่ ดับบลิวจี เพื่อป้องกันการดื้อยาของเชื้อสาเหตุ โดยพ่นทุก 7 วัน จำนวน 2 ครั้ง ควรหยุดพ่นสารก่อนเก็บเกี่ยวผลอย่างน้อย 15 วัน การรักษา…