เตือนภัย ระวังโรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง

โรคของพืชตระกูลแตง : โรคราน้ำค้าง (Downy mildew) เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Peronosporaparasitica   ลักษณะอาการ เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลแตงทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้ระวังโรคราน้ำค้างระบาด เนื่องจากช่วงนี้อากาศร้อนสลับฝนตกบ่อย มีความชื้นสูงหรือหมอกลงจัด สภาพอากาศเหมาะต่อการเจริญของเชื้อราโดยจะพบอาการจะเกิดเป็นรอยจุดสีดำบนใบ ในช่วงเช้าด้านหลังของใบอาจมองเห็นกลุ่มของเส้นใยของเชื้อรา จากนั้นปื้นสีเหลืองจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล โดยเริ่มเปลี่ยนจากกลางแผลออกไป   การแพร่ระบาด โรคนี้ระบาดได้ตั้งแต่ระยะต้นกล้าจนถึงระยะเจริญเติบโตเต็มที่ การระบาดของโรคอย่างรวดเร็วทำให้ใบจะร่วงและแห้งตาย พืชชะงักการเจริญเติบโต กระทบการออกดอกและการติดผลมากกว่า 50% ผลมีขนาดเล็กและคุณภาพต่ำ ถ้าหากควบคุมโรคได้ไม่ดี จะก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงทั้งในสภาพการปลูกในแปลงเปิด ในโรงเรือน และในสภาพการปลูกในไร่   การป้องกันและกำจัดโรคราน้ำค้าง ✅ เลือกปลูกพันธุ์ที่มีความต้านทานต่อโรค ✅ ทำลายวัชพืชในแปลงเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค ✅ แปลงที่มีการระบาดของโรค หลังเก็บเกี่ยวให้เก็บซากพืชไปทำลายนอกแปลงปลูก ✅ แช่เมล็ดพันธุ์ ด้วยน้ำอุ่นอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที แล้วคลุกด้วยสารเมทาแลกซิล 35% ดีเอส อัตรา 7 กรัม…

เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน ระบาดหนัก ทำลายทุเรียนในช่วงใบอ่อน

เพลี้ยจักจั่นฝอย ทำลายทุเรียนช่วงทำใบ เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน (Durian leafhopper) ชื่อวิทยาศาสตร์: Amrasca durianae Hongsaprug   ลักษณะการเข้าทำลาย ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมักเข้าทำลายในช่วงทุเรียนแตกใบใหม่หรือใบอ่อน ดูดกินน้ำเลี้ยงตรงขอบใบ ทำให้ใบเหมือนถูกน้ำร้อนลวก ต่อมาขอบใบจะเริ่มแห้งสีน้ำตาลม้วนงอขึ้น การระบาดรุนแรงจะทำให้ใบอ่อนร่วงทั้งต้น ยอดทุเรียนเหลือแต่ก้าน หรือเรียก “ยอดก้านธูป” ทำให้ทุเรียนหยุดชะงักการเจริญเติบโต ไม่สามารถผลิตใบแต่ละชุดได้   การจัดการควรใช้วิธีผสมผสาน วิธีกล: บังคับยอดให้แตกพร้อมกัน ใช้กับดักกาวเหนียวอย่างน้อย 80 กับดักต่อไร่ สำรวจต้น 10-20 ต้น สุ่มเคาะยอดอ่อนต้นละ 5 ยอด ถ้าพบใบแสดงอาการโดนเพลี้ยจักจั่นฝอยทำลาย ให้พ่นสาร การสารเคมีกำจัดแมลง เอราโทเอต (กลุ่ม 1B) กำจัดทุกระยะ อัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 2 ครั้ง ทุก 7 วัน + เอราเฟซิน…

เตือนภัยการระบาดของแมลงหวี่ขาวข้าว

เตือนภัยการระบาดของแมลงหวี่ขาวข้าว   ในสภาพอากาศที่แปรปรวน ภาวะโลกร้อน ทำให้อุณหภูมิปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้น แมลงหลายชนิดจึงปรับพฤติกรรมและหาแหล่งอาหารใหม่ส่งผลให้เริ่มพบการระบาดของแมลงศัตรูข้าวใหม่ได้ และหนึ่งในแมลงที่พบคือ แมลงหวี่ขาวข้าว Aleurocybotus indicus เริ่มเข้าทำลายในหลายจังหวัดในขณะนี้   แมลงหวี่ขาวข้าว มีขนาดเล็กแต่บินได้ไม่ไกล จะมีลมช่วยในการพัดพา การแพร่พันธุ์และขยายพันธุ์รวดเร็ว เพศเมียวางไข่ได้ 100-240 ฟอง ตลอดวงจรชีวิตใช้เวลาประมาณ 17-24 วัน อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 30 องศาเซลเซียส ระบาดมากในช่วงอากาศร้อนชื้น (ก.ค. – ส.ค.)   ลักษณะการทำลาย แมลงหวี่ขาวข้าว ตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบข้าวในระยะแตกกอ ช่วงแรกจะสังเกตเห็นใบข้าวเป็นวงสีเหลือง ถ้าระบาดมากใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ใบบิดเบี้ยว ทำให้ต้นข้าวชะงักการเจริญเติบโต ถ้าในระยะออกดอก จะทำให้ช่อดอกและเมล็ดข้าวเหี่ยวเฉา ออกรวงไม่ได้   การจัดการควรใช้วิธีผสมผสาน วิธีเขตกรรม หมั่นสำรวจแปลงนาข้าวอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ระยะกล้า 20 วันขึ้นไป ไม่ปลูกข้าวหนาแน่นเกินไป ชีววิธี กำจัดโดยใช้แมลงศัตรูธรรมชาติ เช่น ด้วงเต่าตัวห้ำ, แตนเบียน และมวนเขียวดูดไข่ พ่นกำจัดแมลงหวี่ขาวข้าวเมื่อพบการระบาด…