โรครากเน่าโคนเน่า กับโรคราสีชมพู

โรครากเน่าโคนเน่าเป็นโรคที่ชาวสวนทุเรียนรู้จักกันมาอย่างน้อย 30 ปี แต่โรคราสีชมพู ซึ่งเกิดจากราฟิวซาเรียมเป็นโรคที่เพิ่งมีการพูดถึงกันมาในช่วง 4-5 ปีมานี้เอง (และมักสับสนกับโรคราสีชมพูที่เคยพูดถึงกันในอดีตซึ่งเกิดจากราคอติเชียม) เราลองมาทบทวนลักษณะอาการและสาเหตุของโรคเหล่านี้กันสักเล็กน้อย โรครากเน่าโคนเน่า เกิดจากราชั้นต่ำ ชื่อไฟทอฟทอร่า อาศัยอยู่ได้ในดินและน้ำ ชอบอากาศค่อนข้างเย็น และชื้น ส่วนขยายพันธุ์ที่เรียกว่าสปอร์ มีหาง ว่ายน้ำได้ เมื่อส่วนขยายพันธุ์ได้งอกและเข้าสู่พืชทางบาดแผล หรือช่องเปิดธรรมชาติ บริเวณราก ของทุเรียน ทำลายในส่วนของท่อน้ำ ท่ออาหาร เนื้อไม้รอบๆ ท่อน้ำท่ออาหาร และลุกลามขึ้นไปยังส่วนของลำต้น ช่วงเวลาการกระจายและเติบโตถึงลำต้นนี้ค่อนข้างนาน และอาจหยุดการเติบโตในช่วงอากาศแห้งแล้งก่อนเจริญเติบโตต่อไปได้ใหม่เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม สปอร์ที่อาศัยในดินสามารถปลิวปะปนไปกับละอองน้ำฝน หรือฝุ่นดินที่ลอยขึ้นไปยังส่วนบนในทรงพุ่มทุเรียน และตกลงบนคาคบ ดอกอ่อน ผลอ่อน กิ่งก้าน หรือใบอ่อนของทุเรียนได้ และทำให้พบอาการของโรคขึ้นได้บนกิ่ง ผล ดอก และผลอ่อน เมื่อมีความชื้นมากพอและสภาพแวดล้อมเหมาะสม เมื่อทุเรียนออกดอก และติดผลอ่อน สปอร์ของราสาเหตุโรครากเน่าโคนเน่านี้จะเกาะอาศัยอยู่บริเวณเปลือกผิวของผล และเมื่อราสาเหตุงอกเส้นใยเจริญมากขึ้น จะเป็นเหตุให้เกิดโรคผลเน่าของทุเรียน แต่การแสดงอาการเน่าของผลแก่ หรืออาการที่พบในโรคเก็บหลังการเก็บเกี่ยวเนื่องมาจากการระบาดเกิดขึ้นในระยะปลายฤดูของผลที่ใกล้เก็บเกี่ยว โดยเฉพาะการเกิดฝนชุก ลมกรรโชกแรงในช่วงผลใกล้แก่ และมีปริมาณราสาเหตุมากพอที่จะเข้าทำลายผลแก่ได้ โรคราสีชมพู เกิดจากราชั้นสูง ชื่อฟิวซาเรียม (และเกษตรกรหลายายอาจรู้สึกสับสนกับโรคราสีชมพูที่เกิดจากราชั้นสูงที่ชื่อคอติเชียม)…