โรคราน้ำค้างในข้าวโพด

โรคราน้ำค้างในข้าวโพด โรคราน้ำค้างของข้าวโพดเกิดจากราสาเหตุที่เป็นราชั้นต่ำกลุ่มราน้ำ  รานี้มีสปอร์ลักษณะใส ชอบอากาศเย็น ประมาณ 22-25 องศาเซลเชียส และความชื้นสูง ข้าวโพดที่อ่อนแอต่อโรคนี้ได้แก่ข้าวโพดหวานและข้าวโพดฝักอ่อน ราสาเหตุผลิตสปอร์ได้ทั้งด้านบนใบและใต้ใบช่วงเวลาเช้า ประมาณ ตีสามถึง ตีห้าก่อนแพร่ระบาดออกไปกับละอองหมอก ไปยังต้นข้าวโพดปกติที่อายุน้อยกว่า 1 เดือน การระบาดเกิดได้ดีโดยเฉพาะการปลูกข้าวโพดในพื้นที่หุบเขาที่มีอากาศเย็น น้ำค้างแรง และมีหมอกปกคลุมในหุบเขาเป็นเวลานาน เมื่อสปอร์งอกเข้าสู่ใบพืชจะสร้างเส้นใยในผิวใบอย่างรวดเร็วไปตามความยาวของใบ จึงเห็นอาการเป็นแถบสีอ่อนสลับสีเขียวปกติของใบ หากอาการรุนแรงรอยแผลสีซีดจะมีขนาดใหญ่ใบตามแผ่นใบในกรวยใบ เมื่อราสาเหตุใช้อาหารใบใบหมด จะทำให้ใบเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองและสีน้ำตาล ต้นข้าวโพดไม่เจริญเติบโต ลำต้นเตี้ยแคระ ข้อไม่ขยาย ไม่ออกดอก และไม่ออกฝัก หากอาการบนใบไม่รุนแรงข้าวโพดอาจออกฝัก และจะได้ฝัก บิดเบี้ยว ไม่สมบูรณ์ ไม่ติดเมล็ด หรือติดเมล็ดเล็กน้อย เมื่อข้าวโพดได้รับเชื้อสาเหตุแล้ว ต้นที่เป็นโรคจะไม่สามารถรักษาให้เป็นปกติได้  แต่ยังสามารถผลิต ราสาเหตุเพื่อการระบาดได้ต่อไปในแปลงปลูก ราสาเหตุที่ติดมากับเมล็ดจะเข้าลาย โดยอยู่อาศัยในต้นข้าวโพดตั้งแต่เริ่มงอก จนถึงแสดงอาการใบสีซีด ใช้เวลาประมาณ 10 – 14 วัน สปอร์ที่ผลิตขึ้นจะแพร่ระบาดไปยังข้าวโพดที่อายุต่ำกว่า 1 เดือน ถึง 45 วัน  โดยจะต้องมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะ เป็นปัจจัยประกอบด้วย…