โรคแคงเกอร์ของส้มโอ
ปัจจุบันส้มโอเป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ดีมาก โดยเฉพาะสวนส้มโอที่ผลิตเพื่อการส่งออก แต่ปัญหาศัตรูพืชที่เป็นเรื่องใหญ่คือโรคแคงเกอร์ ซึ่งเป็นโรคพืชกักกันในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศในยุโรป และออสเตรเลีย และเนื่องด้วยสถานะการณ์การระบาดของโรคไข้โควิด – 19 จึงส่งผลพวงมายังการค้า การส่งออก อีกทั้งการขาดแรงงานที่เป็นปัจจัยหลักของการทำสวนผลไม้ จึงทำให้โรคแคงเกอร์ของส้มโอทวีความรุนแรงมากขึ้นไปอีก ปัจจัยอื่นๆ นอกเหนือจากการขาดแรงงาน และปัญหาการตลาด ก็คือ การลดมาตรการควบคุมโรคพื้นฐาน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการรักษาสวนผลไม้ให้คงอยู่ และประคับประคองไปจนกว่าสถานะการณ์ภายนอกจะคลี่คลายลง สาเหตุ โรคแคงเกอร์ของส้มโอ มีสาเหตุจากแบคทีเรียชนิดเดียวกับส้มและมะนาว และพืชตระกูลส้มอีกหลายชนิด นั่นคือ แบคทีเรีย แซนโทโมแนส ซิไตร ซิไตร ที่ชอบอากาศร้อนชื้น ลักษณะอาการ ลักษณะอาการของโรค แบคทีเรียสาเหตุทำให้เกิดรอยแผลเป็นขุยสีสนิมบน ใบอ่อน กิ่งอ่อน ยอดอ่อน และผล แบคทีเรียใช้เวลานานประมาณ 7-10 วัน จึงจะแสดงอาการให้เห็น ผลส้มจะอ่อนแอต่อการเข้าทำลายในช่วง 2 เดือนแรก ตั้งแต่เริ่มผสมเกสร ช่วงเวลาเริ่มระบาดจะตั้งต้นเมื่อเริ่มย่างฤดูฝน ในขณะที่ส้มโอแตกยอดใหม่ และมีฝนต้นฤดูโปรายปรายลงมา ช่วงที่ระบาดสูงสุดคือช่วงกลางฤดูฝน และลดโรคจะลดลงเมื่อ ฝนทิ้งช่วง หรือหมดฤดูฝนนั่นเอง อาการที่พบบนใบ เป็นจุดนูนสีเหลือง ฉ่ำน้ำ…