เอิร์ท 23

ERT 23

อะมิโนทริพโตเฟน สำหรับช่วยผสมเกสรพืช เพื่อการติดผลโดยตรง

 

ปริมาณธาตุอาหารเสริม
โบรอนที่ละลายน้ำ (B)……….1%

 

ส่วนประกอบที่สำคัญและคุณสมบัติพิเศษ

  • ทริพโตเฟน (TRYPTOPHAN)……….ช่วยในการสังเคราะห์อินโดลอะซิติคแอซิด (Indoleacetic acid) ซึ่งเป็นสารอ็อกซินจากธรรมชาติที่ช่วยเสริมสร้างการติดผลและพัฒนาการเจริญเติบโตในช่วงเริ่มแรก
  • โบรอน (BORON)……….เป็นธาตุอาหาร ที่มีผลโดยตรงต่อเนื้อเยื่ออ่อนบริเวณส่วนยอด โดยเฉพาะพัฒนาการของละอองเกสรตัวผู้
  • สาหร่ายสีน้ำตาล (BROWN SEAWEED EXTRACTS)……….มีองค์ประกอบของการเร่งการเจริญเติบโตที่สามารถถูกดูดซึมได้ง่ายเข้าสู่กระบวนการกระตุ้นการทำงานภายในพืช
  • เบต้าอิน (BETAINE)……….เป็นสารอินทรีย์ไนโตรเจนที่มีน้ำหนักของโมเลกุลต่ำ มีส่วนสำคัญในการไหลเวียนของสารอาหารภายในพืช อีกทั้งเสริมสร้างเอ็นไซม์และมีอิทธิพลต่อกระบวนการออสโมซิสของเซลล์ ทั้งนี้ก็เพื่อปกป้องอันตรายที่อาจเกิดกับพืชในสภาวะกดดันจากสภาพแวดล้อม เช่น จากสภาพอากาศที่ร้อนจัดหรือในสภาพดินมีความเข้มข้นด้วยการตกตะกอนของเกลือ ฯลฯ
  • อุดมไปด้วยธาตุอาหารที่จำเป็น (NOURISHING ELEMENTS)……….ช่วยป้องกันอาการขาดธาตุอาหารและใช้เร่งการทำงานในกระบวณการต่างๆภายในพืช
  • วิตามิน ( VITAMINS )……….ใช้เป็นสารเร่งปฏิกิริยาที่สำคัญต่างๆภายในพืช แม้กระทั่งการช่วยยับยั้งการเกิดอ็อกซิเดชั่น
  • สารโมโนและโพลี่แซคคาไรด์ (MONO AND POLYSACCHARIDES)……….ใช้เป็นอาหารพืชได้โดยตรง เพื่อเป็นพลังงานในกระบวนการติดผลของพืช

 

คุณสมบัติพิเศษ

  • กระตุ้นการงอกของละอองเกสรตัวผู้
  • เสริมสร้างความพร้อมของปลายเกสรตัวเมีย ในการรับการผสมเกสร
  • ช่วยให้เกิดการผสมเกสรในท่อรังไข่อย่างสมบูรณ์

 

ประโยชน์

  • ช่วยให้มีการผสมเกสรที่สมบูรณ์ จึงเพิ่มการติดผลอย่างแท้จริง

 

วิธีการใช้
• ไม้ผล
– ตั้งแต่เริ่มแทงช่อดอก
– ช่วงดอกเริ่มบาน
ใช้ 5 – 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร (1ปีบ) ฉีดพ่นทั้งสองช่วงการใช้

• พืชผัก กินหัว
– ก่อนออกอก
– ดอกเริ่มบาน
ใช้ 5 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ( 1 ปีบ) ฉีดพ่นทั้งสองช่วงการใช้

• พืชผักกินใบ
– ในช่วงแรกของการเจริญเติบโต
ใช้ 3 – 5 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร (1ปีบ) ควรพ่นซ้ำอีกครั้ง ห่างกัน 10 – 15 วัน

• ไม้ดอกไม้ประดับ
– ในช่วงแรกของการเจริญเติบโต
ใช้ 3 – 5 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร (1 ปีบ) ควรพ่น 2 ครั้งห่างกัน 10 – 15 วัน

• พืชไร่
– ในช่วงแรกของการเจริญเติบโต
ใช้ 5 – 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร (1 ปีบ) ควรฉีดพ่น 2 ครั้งห่างกัน 10 – 15 วัน

 

ขนาดบรรจุ
100 ซีซี, 1 ลิตร

แคลซิซาน

CALCISAN
บำรุงผล สร้างเนื้อ ขยายขนาดผล
.
ปริมาณธาตุอาหารรอง
แคลเซี่ยมที่ละลายน้ำ (Ca)……….6%
แมกนีเซียมที่ละลายน้ำ (Mg)……….1%
.
ประโยชน์
  • เสริมสร้างความสมบูรณ์สำหรับพืชที่ต้องการธาตุแคลเซี่ยมและมักเนเซี่ยมในปริมาณสูง เช่น องุ่น(ก้านช่อดอกและช่อผลแห้ง พืชผัก(ใบไหม้) ผักตระกูลแตง(ใบไหม้) มะเขือเทศ(ก้นเน่า) ผัก กาดหัว(ไส้กลวง) มันฝรั่ง(ใบทรุดโทรมแห้งเหี่ยว)เป็นต้น
  • ป้องกันผลแตก
  • ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของผล
  • ช่วยเสริมสร้างคุณภาพผล
  • ช่วยให้ผลผลิตทั้งผลไม้และพืชผักแข็งแรงทนทานภายหลังการเก็บเกี่ยว สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน.
วิธีการใช้
  • ไม้ผล
    • ช่วงเริ่มขยายขนาดผล
    • ช่วงพัฒนาการของผล
    • ช่วงก่อนเก็บเกี่ยว
10-20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
  • พืชผัก
    • ช่วงผักมีใบ 4-6 ใบ
    • ช่วงติดผล
ช่วงเริ่มลงหัว(หอม กระเทียม) 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
  • ผักตระกูลแตง
ช่วงสร้างใบ 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
  • มะเขือเทศ
ช่วงติดผล
ช่วงพัฒนาการของผล
10-15 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
  • ผักกาดหัว
ช่วงเริ่มลงหัว 10-15 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
  • มันฝรั่ง
ช่วงเริ่มลงหัว 10-20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
  • ข้าว
ช่วงเริ่มแตกกอ
ช่วงก่อนออกรวง
10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร.
ขนาดบรรจุ
1 กก., 5 กก.

แท็ปโก้

5% + อิมิดาโคลพริด 25% SC

เป็นผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยสารออกฤทธิ์ 2 ชนิดได้แก่
1️⃣ ไบเฟนทริน (bifenthrin) กลุ่ม 3A มีกลไกการออกฤทธิ์ตรงระบบประสาท ในจุดยับยั้งระบบประสาทโดยทำลายตรงผนังเซลประสาทตรงส่วนของเอกซอน(axon)ทำให้การเข้าออกของโซเดียมไม่สมดุล
2️⃣ อิมิดาโคลพริด (imidacloprid) กลุ่ม 4A มีกลไกการออกฤทธิ์ในระบบประสาทและกล้ามเนื้อ โดยเลียนแบบสารสื่อกระแสประสาท “อะซิติลโคลีน” และขัดขวางบริเวณจุดรับนิโคตินิกอะซิติลโคลีน ทำให้การส่งกระแสประสาทขัดข้อง ส่งผลให้แมลงหยุดกินอาหาร หยุดทำลายพืชนำไปสู่การตายในที่สุด

คุณสมบัติเด่น
✳️การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชได้หลากหลาย
มีกลไกการออกฤทธิ์ (2 แบบ และสารผสมที่มีสารออกฤทธิ์ 2 ชนิดจึงออกฤทธิ์กว้าง มีประสิทธิภาพใช้ทั้งรูปแบบป้องกัน และกำจัด โดยใช้ในรูปแบบวิธีพ่นทางใบ ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชหลากหลาย และป้องกันกำจัดแมลงได้ทั้งปากกัดและปากดูด
✳️ประกอบด้วยสารที่ออกฤทธิ์สัมผัสและดูดซึมพร้อมกัน
มีคุณสมบัติถูกตัวตาย กินตาย และดูดซึม มีคุณสมบัติเป็นสารไล่ มีคุณสมบัติดูดซึมแบบเคลื่อนย้ายไปตามท่อน้ำ และมีคุณสมบัติแทรกซึมผ่านใบได้ดี ทำให้สามารถกำจัดแมลงที่อยู่ด้านตรงข้ามของใบที่ได้รับสาร นอกจากนี้ยังเคลื่อนย้ายไปปกป้องยอดที่แตกมาใหม่
✳️มีคุณสมบัติออกฤทธิ์เร็ว และออกฤทธิ์นาน
สารที่ออกฤทธิ์ฆ่าแมลงได้อย่างรวดเร็ว มีการแทรกซึมและดูดซึมเคลื่อนย้ายขึ้นไปตามท่อน้ำของพืชได้ จึงปกป้องใบของพืชได้ทั้งด้านบนและล่างของใบพืช ทำให้ซึมผ่านเนื้อเยื่อพืชได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ปกป้องพืชได้เป็นระยะเวลายาวนาน และสามารถปกป้องยอดอ่อนต่อเนื่องภายหลังการพ่น
✳️ป้องกันและชะลอการต้านทานของแมลงศัตรูพืช
มีกลไกการออกฤทธิ์ทำลายแมลงในตำแหน่งที่แตกต่างกัน จึงมีประสิทธิภาพควบคุมแมลงศัตรูพืชได้อย่างดีเยี่ยมและกำจัดประชากรแมลงที่สร้างความต้านทานต่อสารเดี่ยว โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการใช้สารเดี่ยวๆติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้สารคู่ผสมนี้ยังแก้ไขปัญหาในพื้นที่ที่ใช้สารกลุ่มอื่นมานาน เช่น กลุ่ม1A กลุ่มคาร์บาเมท และ1B ออร์กาโนฟอสเฟต เช่น คาร์โบซัลแฟน เบนฟูราคาร์บ ฟีโนบูคาร์บ คาร์บาริล โพรฟีโนฟอส ไตรอะโซฟอส โพรไทโอฟอส ไดเมโทเอต โอเมโทเอต มาลาไทออน เฟนิโตรไธออน จากการที่มีสารออกฤทธิ์ที่แตกต่างกลุ่มเคมีกัน และกลไกสารออกฤทธิ์ของสารทั้ง 2 ชนิด แตกต่างกัน ทำให้แมลงยากที่จะพัฒนาให้ต้านทาน
✳️ลดอัตราการใช้เมื่อใช้สารแบบผสมเมื่อเปรียบเทียบกับสารเดี่ยว
มีอัตราการใช้ต่ำ เนื่องจากมีสารออกฤทธิ์ของไบเฟนทริน 5%ที่มากกว่าสารไบเฟนทริน ที่มีการขึ้นทะเบียนแบบสารเดี่ยว สูตร 2.5%EC ถึง 2เท่า ส่วนสารอิมิดาโคลพริดสารออกฤทธิ์ 25% ที่มากกว่าสารอิมิดาโคลพริด ที่มีการขึ้นทะเบียนแบบสารเดี่ยว สูตร 10%SL ถึง 2.5เท่า นอกจากนี้สารทั้ง 2 ชนิดจะเสริมฤทธิ์กัน จึงใช้อัตราต่ำมากเมื่อเทียบกับสารเดี่ยว จึงลดการปนเปื้อน และผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม
✳️ เป็นสูตรผสมที่มีความเป็นพิษต่อผู้ใช้น้อย พิษต่อพืชน้อยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
สูตรสารแขวนลอยเข้มข้น เป็นสารออกฤทธิ์ของแข็งบดละเอียดแขวนลอยเข้มข้นมารวมอยู่ในภาชนะเดียวกัน จึงเหมาะสำหรับสารผสมที่มีสารออกฤทธิ์มากกว่า 1ชนิด สูตรนี้ทำให้สะดวกในการใช้หลีกเลี่ยงปัญหาความไม่เข้ากันของสาร กรณีที่เกษตรกรผสมสารหลายชนิดในถังพร้อมกัน
นอกจากนี้แล้วการทำสูตร SC เป็นสูตรที่ไม่มีสารละลายอินทรีย์ ทำให้ลดโอกาสเกิดพิษต่อผู้ใช้ และพิษต่อพืชสามารถพ่นได้ทุกช่วงอายุพืช แม้แต่ในช่วงแตกใบอ่อน หรือช่วงดอก
เนื่องจากไบเฟนทริน เป็นไพรีทรอยด์ประเภทที่ 3 ไม่มีกลุ่มอัลฟ่าไซยาโนในสูตรโมเลกุล จึงมีการระคายเคืองต่อผิวหนังน้อยต่อผู้ใช้น้อยกว่ากลุ่มไพรีทรอยด์ชนิดอื่น ๆ เช่น ไซเพอร์เมทริน อัลฟาไซเพอร์เมทริน เบตาไซเพอร์เมทริน เบตาไซฟลูทริน เดลทาเมทริน แลมบ์ดาไซฮาโลทริน แกมมาไซฮาโลทริน อะครินาทริน เฟนโพรพาทริน เฟนวาเลอเรต

พืชที่มีการแนะนำ
🥦พืชผัก พืชไร่ เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ถั่วฝักยาว
🍎ไม้ผล เช่น พืชตระกูลส้ม ทุเรียน มะม่วง
🌺ไม้ดอก ไม้ประดับ เช่น กุหลาบ กล้วยไม้ ดาวเรือง เบญจมาศ

ศัตรูพืชที่แนะนำ
🐛หนอนผีเสื้อทุกชนิด เพลี้ยอ่อน, เพลี้ยแป้ง, เพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ, แมลงหวี่ขาว เพลี้ยจักจั่น, เพลี้ยไก่แจ้, ปลวก, ด้วงหมัดผัก, ด้วงกินรากกลุ่มแมลงนูน, แมลงวันเจาะยอด; ยุง, เห็บ, แมลงวัน, มวน, มด, ตั๊กแตน

📌อัตราการใช้
อัตรา 15 – 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร

แมกนีเซียมพาสส์

MAGNESIUM FAST

ปริมาณธาตุอาหารรอง
แมกนีเซียมที่ละลายน้ำ (Mg)……….3%

ส่วนประกอบที่สำคัญ

  • แมกนีเซี่ยม (Mg++)
  • ของเหลวข้นสีน้ำเงิน
  • สามารถละลายน้ำได้ทั้งหมด
  • ไม่มีปริมาณของไนเตรท

ประโยชน์

  • ช่วยให้ใบเขียวเข้ม
  • ช่วยให้ใบแก่เร็ว
  • ช่วยเสริมสร้างใบใหม่อย่างสมบูรณ์
  • ช่วยสะสมอาหารเพื่อการออกดอก
  • ช่วยสะสมอาหารเพื่อการสร้างเนื้อ
  • ช่วยในการเข้าสีผล
  • ช่วยเสริมสร้างน้ำมัน(สำหรับพืชน้ำมัน)
  • ช่วยป้องกันอาการก้านช่อดอกและก้านช่อผลแห้งขององุ่น
  • ช่วยให้พืชผักโต ลดอาการเหี่ยวเฉา

วิธีการใช้

• ไม้ผล
– ช่วงแตกใบอ่อน
– ช่วงสร้างใบรุ่นใหม่
– ช่วงก่อนออกดอก
– ช่วงสร้างเนื้อผล
– ช่วงก่อนเข้าสี
อัตรา 10-15 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร

• พืชน้ำมัน
– ช่วงแตกใบอ่อน
– ช่วงสร้างใบรุ่นใหม่
– ช่วงก่อนออกดอก
– ช่วงพัฒนาการของผล
อัตรา 10-15 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร

• พืชผัก
– ช่วงแรกของการเจริญเติบโต
– ช่วงพัฒนาการของใบและผล
อัตรา 5 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร

• ข้าว
– ช่วงข้าวแตกกอ
– ช่วงก่อนข้าวตั้งท้อง
– ช่วงสร้างเมล็ดข้าว
อัตรา 5 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร

• ไม้ดอกไม้ประดับ
– ช่วงแรกของการเจริญเติบโต
อัตรา 5 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร

ขนาดบรรจุ
1 ลิตร

แมงกานีสพาสส์

MANGANESE FAST

ปริมาณธาตุอาหารเสริม
แมงกานีสที่ละลายน้ำ (Mn)……….12%

 

สารสำคัญ:

  • ของเหลวข้นสีชมพูอ่อน
  • สามารถละลายน้ำได้ทั้งหมด
  • ไม่มีปริมาณของคลอไรด์และซัลเฟต

 

คุณสมบัติ:

  • ช่วยให้พืชสามารถสังเคราะห์แสงได้มากขึ้น
  • ช่วยเพิ่มผลผลิต
  • ช่วยป้องกันผลกระทบจากการเป็นปฏิปักษ์ของธาตุเหล็ก
  • ช่วยเพิ่มความเขียวเข้มให้กับใบพืช
  • ช่วยให้ธาตุอาหารดูดซึมเข้าสู่ต้นพืชได้รวดเร็วขึ้น

 

ประโยชน์และวิธิการใช้:

ไม้ผล
• ใช้ช่วงเสริมสร้างใบ 5 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
• ใช้ช่วงสะสมอาหารก่อนการออกดอก 5 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
• ใช้ช่วงขยายขนาดผล 5 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
• ใช้ช่วงก่อนเข้าสี 5 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
• ใช้ช่วงสภาวะวิกฤตที่พืชสังเคราะห์แสงได้น้อย 5 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

พืชผัก
• ใช้ช่วงแรกของการเจริญเติบโต 3-5 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

ข้าว
• ใช้ช่วงแรกของการเจริญเติบโต 5 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
• ใช้ช่วงข้าวแตกกอเต็มที่ 5 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
• ใช้ช่วงข้าวออกรวง 5 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

พืชไร่
• ใช้ช่วงแรกของการเจริญเติบโต 3-5 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

ไม้ดอกไม้ประดับ
• ใช้ช่วงแรกของการเจริญเติบโต 2-3 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

 

ขนาดบรรจุ
1 ลิตร

โคปิน่า 85 ดับบลิวพี

  • ชื่อสามัญ : คอปเปอร์ ออกซีคลอไรด์ 85% WP
คุณสมบัติ
• เป็นสารอนินทรีย์สำหรับใช้ป้องกันกำจัดโรคพืช
• ไม่เป็นอันตรายต่อผึ้ง
• ไม่ควรใช้ร่วมกับสารที่มีส่วนประกอบของกำมะถัน และสารในกลุ่มไดธิโอคาร์บาเมท (มาเนบ แมนโคเซ็บ เป็นต้น)
ประโยชน์
• ใช้ในการป้องกันกำจัดโรคพืชทั้งที่เกิดจากเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียของพืชชนิดต่างๆ ดังต่อไปนี้
• องุ่น โรคราน้ำค้าง โรคแอนแทรคโนส • ส้ม โรคมีลาโนส โรคสแคป • มะม่วง โรคแอนแทรคโนส • ถั่ว โรคใบจุด • กล้วย โรคใบจุด • มันฝรั่ง โรคใบไหม้ • มะเขือเทศ โรคใบไหม้ • ผัก โรคใบจุด โรคราน้ำค้าง • มะเขือ โรคใบจุด • กาแฟ โรคราสนิม โรคใบจุด โรคผลเน่า • ชา โรคราสนิมแดง โรคแอนแทรคโนส • พริก โรคใบจุด โรคผลเน่า • ยางพารา โรคแอนแทรคโนส • ไม้ดอกไม้ประดับ โรคใบจุด โรคแอนแทรคโนส โรคราน้ำค้าง โรคใบแห้ง • มะนาว โรคแคงเกอร์ • เผือก โรคใบไหม้ หรือใบจุดตาเสือ • พืชตระกูลแตง โรคราน้ำค้าง
ใช้อัตรา 30-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วต้นพืช

โคปิน่า โกลด์

ชื่อสามัญ : คอปเปอร์ ออกซีคลอไรด์ 65.2% WG

คุณสมบัติ

• เป็นสารอนินทรีย์สำหรับใช้ป้องกันกำจัดโรคพืช

• ไม่เป็นอันตรายต่อผึ้ง

• ไม่ควรใช้ร่วมกับสารที่มีส่วนประกอบของกำมะถัน และสารในกลุ่มไดธิโอคาร์บาเมท (ซีเนบ มาเนบ แมนโคเซ็บ เป็นต้น)

 

ประโยชน์

• ใช้ในการป้องกันกำจัดโรคพืชทั้งที่เกิดจากเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียของพืชชนิดต่างๆ ดังต่อไปนี้

• องุ่น โรคราน้ำค้าง โรคแอนแทรคโนส
• ส้ม โรคมีลาโนส โรคสแคป
• มะม่วง โรคแอนแทรคโนส
• ถั่ว โรคใบจุด
• กล้วย โรคใบจุด
• มันฝรั่ง โรคใบไหม้
• มะเขือเทศ โรคใบไหม้
• ผัก โรคใบจุด โรคราน้ำค้าง
• มะเขือ โรคใบจุด
• กาแฟ โรคราสนิม โรคใบจุด โรคผลเน่า
• ชา โรคราสนิมแดง โรคแอนแทรคโนส
• พริก โรคใบจุด โรคผลเน่า
• ยางพารา โรคแอนแทรคโนส
• ไม้ดอกไม้ประดับ โรคใบจุด โรคแอนแทรคโนส โรคราน้ำค้าง โรคใบแห้ง
• มะนาว โรคแคงเกอร์
• เผือก โรคใบไหม้ หรือใบจุดตาเสือ
• พืชตระกูลแตง โรคราน้ำค้าง

ใช้อัตรา 30-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วต้นพืช