โรครากเน่าโคนเน่าเป็นโรคที่ชาวสวนทุเรียนรู้จักกันมาอย่างน้อย 30 ปี แต่โรคราสีชมพู ซึ่งเกิดจากราฟิวซาเรียมเป็นโรคที่เพิ่งมีการพูดถึงกันมาในช่วง 4-5 ปีมานี้เอง (และมักสับสนกับโรคราสีชมพูที่เคยพูดถึงกันในอดีตซึ่งเกิดจากราคอติเชียม)

เราลองมาทบทวนลักษณะอาการและสาเหตุของโรคเหล่านี้กันสักเล็กน้อย

โรครากเน่าโคนเน่า เกิดจากราชั้นต่ำ ชื่อไฟทอฟทอร่า อาศัยอยู่ได้ในดินและน้ำ ชอบอากาศค่อนข้างเย็น และชื้น ส่วนขยายพันธุ์ที่เรียกว่าสปอร์ มีหาง ว่ายน้ำได้ เมื่อส่วนขยายพันธุ์ได้งอกและเข้าสู่พืชทางบาดแผล หรือช่องเปิดธรรมชาติ บริเวณราก ของทุเรียน ทำลายในส่วนของท่อน้ำ ท่ออาหาร เนื้อไม้รอบๆ ท่อน้ำท่ออาหาร และลุกลามขึ้นไปยังส่วนของลำต้น ช่วงเวลาการกระจายและเติบโตถึงลำต้นนี้ค่อนข้างนาน และอาจหยุดการเติบโตในช่วงอากาศแห้งแล้งก่อนเจริญเติบโตต่อไปได้ใหม่เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม

สปอร์ที่อาศัยในดินสามารถปลิวปะปนไปกับละอองน้ำฝน หรือฝุ่นดินที่ลอยขึ้นไปยังส่วนบนในทรงพุ่มทุเรียน และตกลงบนคาคบ ดอกอ่อน ผลอ่อน กิ่งก้าน หรือใบอ่อนของทุเรียนได้ และทำให้พบอาการของโรคขึ้นได้บนกิ่ง ผล ดอก และผลอ่อน เมื่อมีความชื้นมากพอและสภาพแวดล้อมเหมาะสม

เมื่อทุเรียนออกดอก และติดผลอ่อน สปอร์ของราสาเหตุโรครากเน่าโคนเน่านี้จะเกาะอาศัยอยู่บริเวณเปลือกผิวของผล และเมื่อราสาเหตุงอกเส้นใยเจริญมากขึ้น จะเป็นเหตุให้เกิดโรคผลเน่าของทุเรียน แต่การแสดงอาการเน่าของผลแก่ หรืออาการที่พบในโรคเก็บหลังการเก็บเกี่ยวเนื่องมาจากการระบาดเกิดขึ้นในระยะปลายฤดูของผลที่ใกล้เก็บเกี่ยว โดยเฉพาะการเกิดฝนชุก ลมกรรโชกแรงในช่วงผลใกล้แก่ และมีปริมาณราสาเหตุมากพอที่จะเข้าทำลายผลแก่ได้

โรคราสีชมพู เกิดจากราชั้นสูง ชื่อฟิวซาเรียม (และเกษตรกรหลายายอาจรู้สึกสับสนกับโรคราสีชมพูที่เกิดจากราชั้นสูงที่ชื่อคอติเชียม)

ราฟิวซาเรียมเป็นราชั้นสูงที่อาศัยอยู่ได้ในดินเช่นกัน มีพืชอาศัยมากมาย ราชนิดนี้มีส่วยขยายพันธุ์ขนาดเล็ก มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้กว้าง ทนร้อน ทนแล้ง และเจริญได้ดีในทุกสภาพอากาศ

เมื่อไม่นานมานี้เอง เกษตรกรเริ่มสังเกตว่ามีราลักษณะเส้นใยฟูบนรอยแผลช้ำน้ำบริเวณกิ่ง สีชมพู ขาว หรือม่วง นักวิชาการโรคพืชจากกรมวิชาการเกษตร และอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เก็บตัวอย่างราลักษณะดังกล่าวไปศึกษาในห้องปฏิบัติการ และพบว่าเป็นราฟิวซาเรียมหลากหลายสายพันธุ์ และเพื่อทำการทดสอบตามหลักการโรคพืช พบว่ารานี้มีความสามารถเป็นสาเหตุของโรคได้เช่นกัน

ในความเห็นของผู้เขียน นิสัยของราฟิวซาเรียมจะเข้าทำลายพืชอาศัยที่อ่อนแอ และหากเข้าทางรากพืช จะเข้าไปเติบโตในส่วนของท่อน้ำ ปล่อยสารพิษกระตุ้นให้เซลล์ของท่อน้ำขยายใหญ่ อุดตันท่อน้ำ พืชจะแสดงอาการยางไหล ออกจากลำต้นตรงส่วนที่อุดตันนั้น และมักพบรานี้เกิดบนรอยแผลที่มีอาการรากเน่าโคนเน่า หรือกิ่งเน่าร่วมด้วย

จากการสันนิษฐานของผู้เขียนที่ได้ติดตามอาการของโรคทั้งสองนี้มาเป็นเวลาค่อนข้างนาน จึงเข้าใจว่า โรคราสีชมพูฟิวซาเรียมนี้เพิ่งเข้ามาระบาดในสวนทุเรียนเมื่อไม่นานมานี้เอง โดยมีต้นตอมาจากพืชอาศัยที่อ่อนแอ ตัวอย่างเช่น กล้วยหอมที่มีปัญหาโรคตายพรายอย่างรุนแรงในสวนกล้วยหอมหลายแห่ง หรืออาจมาจากพืชล้มลุกเช่นโรครากเน่าของพืชกลุ่มมะเขือที่มีการปนเปื้อนของราสาเหตุติดมา เป็นต้น และรานี้จะเข้ามามาเมื่อทุเรียนเป็นโรครากเน่า เนื้อเยื่อพืชอ่อนแอ เป็นช่องทางที่ราฟิวซาเรียมสามารถเข้าสู่พืชได้ดียิ่งขึ้น

การป้องกันกำจัดโรคทั้งสองนี้ ในสวนปลูกมาเป็นเวลานานอาจกระทำได้ระดับหนึ่งโดยการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคที่มีประสิทธิภาพควบคุมราสาเหตุทั้งสองได้ดี อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการป้องกันและทำลายแหล่งระบาดของโรคก่อนเข้าสู่ฤดูฝน การพ่นสารป้องกันโรคบนผลก่อนการเก็บเกี่ยวอย่างน้อย 2 สัปดาห์เพิ่งป้องการการตกค้างของสารฯบนผล การกำจัดเศษซากพืชเป็นโรคหลังการเก็บเกี่ยว การตัดแต่งกิ่งอย่างพอเหมาะ (ไม่ตัดออกมากเกินไปจนแสงแดดส่องก้านทำให้เกิดการไหม้ของกิ่งและลำต้น)

สำหรับสวนที่เพิ่งปลูกใหม่ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการปรับสภาพดินก่อนปลูกด้วยปูนขาว กิ่งพันธุ์ที่นำเข้ามาในสวน ต้องทำการกักโรคในพื้นที่จำเพาะ ควบคุมโรคโดยการแช่หรือพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชอย่างทั่วถึงจนมั่นใจได้ว่ากิ่งพันธุ์ที่ได้มาไม่มีราสาเหตุรอดชีวิตและเข้าสู่พื้นที่ปลูกได้อย่างแน่นอน

การตรวจติดตามสวนทุเรียนปลูกใหม่ควรมีตารางการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ และหมั่นสังเกตุความผิดปกติของพืชเพื่อการแก้ไขอย่างทันท่วงที่ก่อนการลุกลามในสวนต่อไป

ขูดแผลออก แล้วทารอยแผลด้วย
ฟราวไซด์  อัตรา 10 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร หรือ

โคปิน่า 85 ดับบลิวพี  อัตรา 40 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร หรือ

ไอโรเน่ ดับบลิวจี  อัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร

ทาทุกๆ 7-10 วันจํานวน 2-3 ครั้งแล้วสลับกลุ่มยา

พ่นทางใบด้วย

สโตนเฮนจ์  อัตรา 15 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

ทุกๆ 7-10 วันจํานวน 2 ครั้งแล้วสลับด้วย

ฟราวซด์  อัตรา 10 ซีซี ต่อน้ํา 20 ลิตร

ทุกๆ 7-10 วันจํานวน 2 ครั้งแล้วสลับด้วย

โรบินนิล อัตรา 15 ซีซี ต่อน้ํา 20 ลิตร