โรคของพืชตระกูลแตง : โรคราน้ำค้าง (Downy mildew)

เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Peronosporaparasitica

 

ลักษณะอาการ

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลแตงทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้ระวังโรคราน้ำค้างระบาด เนื่องจากช่วงนี้อากาศร้อนสลับฝนตกบ่อย มีความชื้นสูงหรือหมอกลงจัด สภาพอากาศเหมาะต่อการเจริญของเชื้อราโดยจะพบอาการจะเกิดเป็นรอยจุดสีดำบนใบ ในช่วงเช้าด้านหลังของใบอาจมองเห็นกลุ่มของเส้นใยของเชื้อรา จากนั้นปื้นสีเหลืองจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล โดยเริ่มเปลี่ยนจากกลางแผลออกไป

 

การแพร่ระบาด

โรคนี้ระบาดได้ตั้งแต่ระยะต้นกล้าจนถึงระยะเจริญเติบโตเต็มที่ การระบาดของโรคอย่างรวดเร็วทำให้ใบจะร่วงและแห้งตาย พืชชะงักการเจริญเติบโต กระทบการออกดอกและการติดผลมากกว่า 50% ผลมีขนาดเล็กและคุณภาพต่ำ ถ้าหากควบคุมโรคได้ไม่ดี จะก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงทั้งในสภาพการปลูกในแปลงเปิด ในโรงเรือน และในสภาพการปลูกในไร่

 

การป้องกันและกำจัดโรคราน้ำค้าง

✅ เลือกปลูกพันธุ์ที่มีความต้านทานต่อโรค

✅ ทำลายวัชพืชในแปลงเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค

✅ แปลงที่มีการระบาดของโรค หลังเก็บเกี่ยวให้เก็บซากพืชไปทำลายนอกแปลงปลูก

✅ แช่เมล็ดพันธุ์ ด้วยน้ำอุ่นอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที แล้วคลุกด้วยสารเมทาแลกซิล 35% ดีเอส อัตรา 7 กรัม ต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม

✅ เมื่อแตกใบที่สองออกมา ให้เด็ดใบล่างออกเพื่อลดแหล่งสะสมของเชื้อโรค

✅ พ่นป้องกันก่อนเกิดโรค จนถึงระยะออกดอก

✅ เมื่อปรากฏมีโรคเกิดขึ้นในแปลงปลูกให้รีบป้องกันการระบาดเพื่อรักษาต้นที่ยังดีอยู่โดยการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชในระระที่เริ่มพบโรคใหม่ๆ การฉีดพ่นสารเคมีดังกล่าว ควรทำทันทีเมื่อเริ่มมีโรคเกิดขึ้น สำหรับการป้องกันควรทำหลังจากต้นแตงเกิดใบจริงแล้ว 2-5 ใบ โดยทำการฉีดทุกๆ 5 วัน หรือ 2 ครั้งใน 1 อาทิตย์ หากสิ่งแวดล้อมเหมาะสม และทำต่อเนื่องไปจนกระทั่งพืชแข็งแรงพ้นระยะการระบาดของโรค

 

สารป้องกันกำจัดโรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง  ที่ได้ผลดี

  1. แฟนทิค เอ็ม ดับบลิวจี อัตรา 30 กรัม ต่อ น้ำ 20 ลิตร หรือ
  2. เรนแมน อัตรา 5 ซีซี หรือ
  3. โรบินนิล อัตรา 30 ซีซี หรือ
  4. เรสเปคท์ บลู อัตรา 30 กรัม  หรือ
  5. ซิลโม-เอ็ม อัตรา 80 กรัม หรือ
  6. ไอโรเน่ ดับบลิวจี อัตรา 20 กรัม ต่อ น้ำ 20 ลิตร

โดยพ่นสารให้ทั่วทั้งด้านบนและใต้ใบ กลุ่มล่ะ 2 ครั้ง ทุก ๆ 5-7 วัน แล้วสลับกลุ่มยา เพื่อป้องกันการดื้อยาของเชื้อราสาเหตุของโรค