เพลี้ยจักจั่นฝอย ทำลายทุเรียนช่วงทำใบ

เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน (Durian leafhopper)

ชื่อวิทยาศาสตร์: Amrasca durianae Hongsaprug

 

ลักษณะการเข้าทำลาย

ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมักเข้าทำลายในช่วงทุเรียนแตกใบใหม่หรือใบอ่อน ดูดกินน้ำเลี้ยงตรงขอบใบ ทำให้ใบเหมือนถูกน้ำร้อนลวก ต่อมาขอบใบจะเริ่มแห้งสีน้ำตาลม้วนงอขึ้น การระบาดรุนแรงจะทำให้ใบอ่อนร่วงทั้งต้น ยอดทุเรียนเหลือแต่ก้าน หรือเรียก “ยอดก้านธูป” ทำให้ทุเรียนหยุดชะงักการเจริญเติบโต ไม่สามารถผลิตใบแต่ละชุดได้

 

การจัดการควรใช้วิธีผสมผสาน

  • วิธีกล:
    • บังคับยอดให้แตกพร้อมกัน
    • ใช้กับดักกาวเหนียวอย่างน้อย 80 กับดักต่อไร่
    • สำรวจต้น 10-20 ต้น สุ่มเคาะยอดอ่อนต้นละ 5 ยอด ถ้าพบใบแสดงอาการโดนเพลี้ยจักจั่นฝอยทำลาย ให้พ่นสาร
  • การสารเคมีกำจัดแมลง
    • เอราโทเอต (กลุ่ม 1B) กำจัดทุกระยะ อัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 2 ครั้ง ทุก 7 วัน + เอราเฟซิน 40 เอสซี (กลุ่ม 16) คุมไข่ อัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร สลับกับ
    • เอราทริป 5 เอสซี (กลุ่ม 2B) อัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร + เอราท๊อกซ์ (กลุ่ม 4A) อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร สลับกับ
    • เอราโพรทริน (กลุ่ม 3A + 1B) อัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร สลับกับ
    • เอรามิลิน (กลุ่ม 15) อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

ควรสลับกลุ่มยาเพื่อลดจำนวนเพลี้ยในแต่ละช่วงอายุ และป้องกันการดื้อยา

พ่นติดต่อกันอย่างน้อย 2-3 ครั้ง ทุก 5-7 วัน

 

ชุดบำรุงเพื่อกระตุ้นการสร้างใบใหม่

  • อัลก้า ช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างใบใหม่อย่างพร้อมเพรียง เป็นรุ่นๆไป ใช้อัตรา 20-30 ซีซี ต่อ น้ำ 20 ลิตร พ่นทางใบทั่วทรงพุ่ม ทุก ๆ 7 วัน