เพลี้ยไฟสาเหตุดอกร่วง หนามจีบในทุเรียนระยะดอก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scirothrips dorsalis Hoods อีกชื่อว่า เพลี้ยไฟพริก
ลักษณะการเข้าทำลาย
- ระยะดอกบาน โดยดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณกลีบดอก ทำให้ดอกแห้ง ใบหลุดร่วง
- ระยะหางแย้ เพลี้ยไฟจะอยู่ตามหมวกดอก ทำให้การผสมเกสรไม่สมบูรณ์ ดอกหลุดร่วง
- ระยะติดผลอ่อน เพลี้ยไฟจะอยู่ตามซอกหนามทุเรียน ทำให้ปลายหนามแห้ง ทำให้เกิดอาการหนามจีบ ชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตต่ำ รูปทรงจะบิดเบี้ยว ทำให้ตกเกรด ราคาตก ส่งออกไม่ได้
การป้องกันกำจัด
- หมั่นสำรวจแปลงทุก 3 วันในช่วงก่อนดอกบานจนถึงช่วงติดผลอ่อน
- ระยะหางแย้ควรช่วยเคาะกิ่งหรือใช้การปัดเกี่ยวหมวกดอกให้หลุดร่วงเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นที่หลบซ่อนของเพลี้ยไฟ
- การเพิ่มความชื้นในแปลงโดยการให้น้ำ ยังช่วยเพิ่มปริมาณศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยไฟให้มากขึ้นในช่วงหน้าแล้ง
- พ่นกำจัดเพลี้ยไฟเมื่อพบการระบาด โดยเลี่ยงสารกลุ่ม EC เพราะน้ำมันจะทำให้เกิดความเป็นพิษต่อดอกและดอกหลุดร่วงได้ แนะนำให้ใช้สูตรผง (WG), สูตรเนื้อครีม (SC) หรือยาสูตรน้ำ (SL)
ป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟพริก
กลุ่ม 13 โรแนน (SC)
อัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 2 ครั้ง ทุก 5-7 วัน สลับกับ
กลุ่ม 4A เอราคอน 70 (WG)
อัตรา 5 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 2 ครั้ง
กลุ่ม 4A เอราทริป-โกลด์ (WG)
อัตรา 2 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 2 ครั้ง
การใช้สารเคมีควบคุมเพลี้ยไฟพริก ไม่ควรใช้สารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่งซ้ำติดต่อกันหลายครั้ง เพราะจะทําให้ดื้อยา ทำให้เพลี้ยไฟสร้างความต้านทานต่อสารได้