อากาศร้อนสลับฝนตก เฝ้าระวัง!!! โรคผลเน่าในทุเรียน

ร้อนสลับฝน ความชื้นสูง เฝ้าระวังโรคผลเน่า ระบาดในทุเรียน เนื่องจากช่วงนี้ มีฝนตกสลับกับอากาศร้อนชื้น โดยเฉพาะชาวสวนทุเรียนในพื้นที่ปลูกทุเรียนในภาคตะวันออกและภาคใต้ ต้องระมัดระวังโรคผลเน่า ที่มีเชื้อสาเหตุจากเชื้อราไฟทอฟธอร่า (Phytophthora palmivora) มักพบได้ตั้งแต่ระยะผลอ่อนจนกระทั่งหลังเก็บเกี่ยว ดังนั้นเกษตรกรควรเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นทั้งก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว ลักษณะอาการ จะเห็นจุดแผลขนาดเล็กสีน้ำตาลดำบนผล และจะขยายใหญ่ลุกลามมากขึ้นตามการสุกของผล ในสภาพที่มีความชื้นสูงอาจพบเส้นใยสีขาวของเชื้อรา โดยจะพบอาการของโรคได้ตั้งแต่ผลยังอยู่บนต้น ซึ่งถ้าอาการรุนแรงมากผลจะเน่าร่วงหล่นก่อนกำหนด นอกจากนั้น ยังสามารถพบอาการดังกล่าวหลังการเก็บเกี่ยวเมื่อเกิดแผลที่ผลระหว่างการขนย้ายจากเชื้อที่ยังติดไปกับผล การแพร่ระบาด ในสวนทุเรียนที่มีการระบาดของโรครากเน่าโคนเน่าจะมีโอกาสเกิดโรคผลเน่าจากเชื้อราไฟท็อปธอร่าได้สูง เชื้อราสาเหตุโรคผลเน่าสามารถแพร่ระบาดได้ด้วยลมและฝน รวมทั้งเศษซากพืชที่เป็นโรคภายในแปลง  เชื้อสาเหตุโรคอาจจะติดไปกับผลได้โดยยังไม่แสดงอาการ ดังนั้นการเก็บเกี่ยวผลต้องระมัดระวังไม่ให้ผลสัมผัสกับดิน   วิธีการป้องกันกำจัด ตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ ให้ตัดผลและเก็บผลร่วงหล่นที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก การป้องกัน พ่นด้วย #โคปิน่า โกลด์ อัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร สลับกับ #ไอโรเน่ ดับบลิวจี เพื่อป้องกันการดื้อยาของเชื้อสาเหตุ โดยพ่นทุก 7 วัน จำนวน 2 ครั้ง ควรหยุดพ่นสารก่อนเก็บเกี่ยวผลอย่างน้อย 15 วัน การรักษา…

โรคใบจุดสีม่วงหอม

โรคใบจุดสีม่วง เนื่องจากช่วงนี้ มีหมอกและน้้าค้างลงจัดในช่วงเช้า  โดยเฉพาะเขตภาคเหนือ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกษตรกรที่ปลูกหอมแดง หอมแบ่ง หอมหัวใหญ่ กระเทียมต้น และกระเทียมหัว ระมัดระวังโรคใบจุดสีม่วง ดังนั้นควรหมั่นส้ารวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเริ่มพบอาการของ กลุ่มผงสีเทา หรือสีฟางข้าว แผลเป็นวงรี ให้รีบด้าเนินการจัดการและการป้องกันการแพร่ระบาด ลักษณะอาการ #โรคใบจุดสีม่วง เกิดจากเชื้อรา Alternaria porri อาการมักพบบนใบ เป็นจุดสีเทาเล็ก ต่อมาแผลจะขยายใหญ่เป็นวงรีสีน้ำตาล ขอบสีม่วง มีสปอร์ติดอยู่ เมื่อระบาดรุนแรงหลายแผลมากขึ้นจะทำให้ใบแห้ง ต้นโทรม ไม่ลงหัว ไม่ได้ผลผลิต หากเชื้อราเข้าทำลายส่วนหัวจะทำให้หัวเน่าและเก็บไว้ได้ไม่นาน การแพร่ระบาด สปอร์ของเชื้อรา สามารถแพร่กระจายไปตามลม น้ำฝน แมลง เครื่องมือ และเมล็ด ราสามารถอยู่ข้ามฤดู โดยปนอยู่กับเศษซากพืชในดิน โรคระบาดได้ดีในสภาพอากาศเย็น มีความชื้นสูง อาการจะรุนแรงมากขึ้นถ้ามีเพลี้ยไฟเข้าทำลายซ้ำ   วิธีการป้องกันกำจัด ทำลายเศษซากพืชที่เป็นโรคออกไปเผาทำลายนอกแปลง ตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบโรคพ่นด้วย #โคปิน่า โกลด์ อัตรา 20 กรัม…

เตือนภัย!! โรคเน่าดำ หรือ ขอบใบทอง ในพืชตระกูลกะหล่ำ

เตือนภัยการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าว หนอนหัวดำมะพร้าว (Coconut black-headed caterpillar) มีชื่อวิทยาศาสตร์: Opisina arenosella Walker เป็นศัตรูมะพร้าวที่สำคัญ เนื่องจากช่วงนี้สภาพอากาศแห้ง กลางวันอากาศร้อน แดดจัดเหมาะสมต่อการแพร่ระบาดและมีรายงานสถานการณ์การระบาดในหลายพื้นที่   รูปร่างลักษณะ ผีเสื้อหนอนหัวดำมะพร้าวเพศเมียสามารถวางไข่ตั้งแต่ 49-490 ฟอง ตัวอ่อนหนอนจะมีหัวสีดำ ลำตัวสีเหลือง สีของส่วนหัวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มเมื่ออายุมากขึ้น เมื่อโตเต็มที่จะมีลำตัวยาว 2–2.5 เซนติเมตร ระยะหนอน 32-48 วัน   ลักษณะการทำลาย หนอนหัวดำมะพร้าวเข้าทำลายใบเฉพาะระยะตัวหนอนเท่านั้น โดยจะกัดแทะผิวใบแก่และสร้างใยถักพันโดยใช้มูลที่ถ่ายออกมาผสมกับเส้นใยที่สร้างขึ้นทำเป็นอุโมงค์ยาวตามแนวของใบมะพร้าวคล้ายทางเดินของปลวก ต้นมะพร้าวที่ถูกหนอนหัวดำมะพร้าวลงทำลายจะมีใบแห้ง และมีสีน้ำตาล ผลผลิตลดลง หากการทำลายรุนแรงอาจทำให้ต้นมะพร้าวตายได้     การป้องกันกำจัด 1.วิธีการฉีดสารเคมีเข้าต้น (trunk injection) ป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว ใช้สารอีมาเมกติน เบนโซเอต 1.92% EC เข้มข้นโดยไม่ต้องผสมน้ำฉีดเข้าที่ลำต้นมะพร้าวอัตรา 30 มิลลิลิตรต่อต้น โดยใช้สว่าน 5 หุน เจาะรูให้เอียงลงประมาณ 45 องศา…