การใช้สารป้องกันกำจัดโรคศัตรูส้ม
โรครากเน่าโคนเน่า (Root rot and Foot rot : Phytophthora parasitica)
แปลงปลูกส้มต้องมีการระบายน้ำดีและป้องกันน้ำท่วมขังโคนต้นและแปลงเพาะปลูก
เชื้อชนิดนี้จะพักตัวอยู่ในดินในรูปของคลาไมโดสปอร์ (Chlamydospores) พักตัวอยู่ในดินได้นานเป็นปีๆ เมื่อสภาวะเหมาะสมหรือเมื่อมีความชื้นมีน้ำก็จะงอกออกมาเป็นเส้นใย สร้างส่วนขยายพันธุ์ที่เรียกว่า สปอร์แรงเจี่ยม (sporangium) ที่มีสปอร์ที่มีหางอยู่ภายในที่เรียกว่าซูโอสปอร์ (Zoospores) เมื่อแตกออกมาก็จะเคลื่อนที่ไปตามน้ำเข้าทำลายระบบรากของส้ม ซึ่งอาจจะแพร่กระจายติดไปกับดินปลูกและกิ่งพันธุ์ได้
เชื้อชนิดนี้สามารถเข้าทำลายระบบราก ลำต้น กิ่ง ใบและผลส้มได้ โดยเฉพาะเมื่อเริ่มติดผลอ่อนจนกระทั่งผลแก่ โดยติดเชื้อจากความชื้นจากการไหล ชะล้างและแรงกระแทกจากน้ำฝน
ต้นส้มมีอาการใบเหลืองและร่วงหล่นและไม่แตกใบใหม่ โคนต้นมีอาการเน่าสีน้ำตาล รากเน่าสีดำคล้ำ
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
ป้องกันกำจัดด้วย
วิธีการทาแผลที่เป็นโรค
ถากหรือขูดแผลที่เน่าออกให้หมด และขูดเปลือกเนื้อไม้รอบๆแผลซึ่งเป็นเนื้อไม้ดีออกกว้างประมาณ 3 นิ้ว แล้วใช้
เรนแมน
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 1 ลิตร
ทาตามบริเวณรอยถากแล้วพ่นทางใบด้วย
เรนแมน
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
พ่นให้ทั่วใบและลำต้น เดือนละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3 ครั้ง
เอราฟอสทิล
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 150 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร
ทาตามบริเวณรอยถากแล้วพ่นทางใบด้วย หรือ พ่นให้ทั่วใบและลำต้นเดือนละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3 ครั้ง
โรคแคงเคอร์ โรคขี้กลาก (Canker : Xanthomonas campestris pv. Citri)
เชื้อสาเหตุคือเชื้อแบคทีเรีย สามารถเกิดได้ทั้งที่ใบ ก้านใบ กิ่ง ลำต้น และผล
ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการเข้าทำลายของหนอนชอนใบส้มในช่วงแตกใบอ่อน จึงควรกำจัดหนอนชอนใบก็สามารถช่วยลดการระบาดของโรคได้ และพ่นทางใบด้วย
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
โคปิน่า 85 ดับบลิวพี
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
ไอโรเน่ ดับบลิวจี
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
เอราซูก้า
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
โรคราสีชมพู (Pink disease: Corticium salmonicolor)
ในช่วงแรกจะเห็นเป็นเส้นใยสีขาวขึ้นปกคลุมกิ่ง ใบที่ปลายกิ่งจะเริ่มเหลืองและร่วงหล่นในที่สุด ต่อมาจะสร้างส่วนขยายพันธุ์กลายเป็นสีชมพู
โรคเปลือกแตกยางไหล (Bark breaking and gummosis: Botryodiplodia sp.)
โรคกิ่งแห้งยางไหล (Dieback and Gummosis: Botryodiplodia theobromae)
เกิดจากหลายสาเหตุทั้งขาดน้ำ ขาดธาตุอาหารและเกี่ยวพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสทริสเตซ่า ยังพบเชื้อรา
ป้องกันกำจัดด้วยการทากิ่งที่เริ่มระบาดในช่วงแรก
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
ฟราวไซด์
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10-15 กรัมต่อน้ำ1 ลิตร
โคปิน่า 85 ดับบลิวพี
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร
ไอโรเน่ ดับบลิวจี
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร
ทาให้ทั่วบริเวณที่เกิดโรค และทาบริเวณรอยตัดของกิ่งที่ถูกตัดแต่ง และฉีดพ่นกิ่งด้วย
ฟราวไซด์
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10-15 กรัมต่อน้ำ1 ลิตร
โคปิน่า 85 ดับบลิวพี
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร
ไอโรเน่ ดับบลิวจี
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
พ่นบริเวณกิ่งที่เริ่มพบอาการเกิดโรคและตามรอยแผลที่ตัดแต่งกิ่ง
สโตนเฮนจ์
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
โรบินนิล
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
โรคเมลาโนส (Melanose: Diaporthe citri, Phomopsis citri)
โรคกรีสซีเมลาโนส โรคใบเปื้อนน้ำหมาก (Greasy melanose: Mycospherella sp., Cercospora citri)
ผลเน่าใกล้ขั้ว (Stem end rot) อาการยางไหลที่กิ่ง เชื้อสาเหตุคือ เชื้อรา Diplodia natalensis
โรคผลเน่า (Sour rot: Geotrichum candidum var. citri-aurantii
โรคแผลสะเก็ด โรคสะแคบ (Scab: Elsinoe fawcetii)
โรคใบปื้นเหลือง โรคใบแต้มเหลือง (Greasy spot:Cercospora sp.)
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
ฟราวไซด์
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
เอราสตาร์ 32.5 เอสซี
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 5-10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
เอราคลอราซ 450
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
เอราโปรราซ
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
โซซิม 50
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
เอราคลอโรนิล 75 ดับบลิวพี
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
โรคราแป้ง (Powdery mildew: Oidium sp.)
พบระบาดได้ทั้งใบอ่อนและยอดอ่อน ตลอดจนบริเวณกิ่ง
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
โซซิม 50
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
เอราวิล
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10-20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
เอราซิน 50 เอสซี
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 15-20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
เอราซัล
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
โรคจุดตะไคร่ (Algal disease)
เกิดจากสาหร่าย Cephaleuros virescense
พบระบาดมากในแหล่งเพาะปลูกที่มีความชื้นสูง ต้นส้มมีพุ่มแน่นทึบ ใบและกิ่งได้รับแสงแดดน้อย สาหร่ายจะเข้าทำลายที่ใบและกิ่ง ที่จะเห็นจุดเป็นสีน้ำตาลคล้ายๆสีสนิม การระบาดที่กิ่งจะเห็นเป็นขนสีน้ำตาลแดงขึ้นเป็นหย่อมๆที่ใบ กิ่ง ลำต้นและผล
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
พ่นบริเวณใบและกิ่งที่พบการเกิดโรค
พ่นทางใบด้วย
โคปิน่า 85 ดับบลิวพี
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
ไอโรเน่ ดับบลิวจี
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10-20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
เรสเปคท์ บูล 72 ดับบลิวพี
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
สำหรับการทากิ่งและลำต้นภายหลังตัดแต่งกิ่งใช้
โคปิน่า 85 ดับบลิวพี
อัตราและวิธีใช้
ในอัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร
ไอโรเน่ ดับบลิวจี
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10-20 กรัมต่อน้ำ 1ลิตร
ทาให้ทั่วบริเวณกิ่งและลำต้นที่เป็นโรค
โรคราดำ (Sooty moulds, Black mildew: Copnodium citri, Meliola citrocolor, Antennella citri)
เกิดจากเพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย และแมลงหวี่ขาว ถ่ายมูลคล้ายๆน้ำหวานเป็นอาหารให้เชื้อรากลุ่มนี้เจริญเติบโตเกิดเป็นแผ่นหรือคราบดำเคลือบอยู่บริเวณผิวภายนอก
การป้องกันกำจัด ให้ใช้วิธีกำจัดแมลงปากดูดสาเหตุคือ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย และแมลงหวี่ขาว ก็จะช่วยลดการระบาดของโรคได้ในระดับหนึ่ง
กำจัดเพลี้ยด้วย
เอราท๊อกซ์
อัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
ป้องกันโรคราดำด้วย
โคปิน่า 85 ดับบลิวพี
อัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
ไอโรเน่ ดับบลิวจี
อัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
โรคกรีนนิ่ง หรือใบเหลืองต้นโทรม (Greening disease)
เชื้อสาเหตุคือเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ ที่มีทั้งรูปทรงกระบอกและทรงกลม (Bacterial-Like Organism)
เชื้อสาเหตุมักติดมากับกิ่งพันธุ์ หรือการนำตา หรือยอดจากต้นที่เป็นโรคไปติดตาหรือเสียบกิ่ง หรืออาจมีแมลงศัตรูพาหะคือเพลี้ยกระโดด หรือเพลี้ยไก่แจ้ นำเชื้อสาเหตุมาแพร่ขยาย
ดังนั้นการเลือกกิ่งพันธุ์ปลอดโรคและการกำจัดเพลี้ยกระโดดหรือเพลี้ยไก่แจ้ ซึ่งมักระบาดในช่วงส้มแตกใบอ่อน ก็สามารถป้องกันการระบาดของโรคได้ในระดับหนึ่ง
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคเผาทำลายแล้วทารอยแผลด้วย
โคปิน่า 85 ดับบลิวพี
ไอโรเน่ ดับบลิวจี
ละลายน้ำข้นๆ ทารอยแผลก็สามารถช่วยป้องกันและการระบาดของโรคได้อีกทางหนึ่ง
ป้องกันเพลี้ยด้วย
เอราคอน 70
อัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
เอราทริป 5 เอสซี
อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
อีมาไซด์ ดับบลิวจี
อัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
โรคขาดธาตุแมงกานีส
ช่วยกระตุ้นการเข้าสีผิวผลส้มก่อนเก็บเกี่ยว
ถ้าขาดจะทำให้ผลส้มคุณภาพด้อยลงมีรสชาตจืด น้ำหนักผลเบากว่าปกติ
ป้องกันด้วยการเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
พ่นทางใบด้วย
แมงกานีสพาสส์
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 5 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
พ่น 2 ครั้งห่างกัน 15 วัน
โรคขาดธาตุแมกนีเซียม
มักจะเกิดกับส้มที่ติดผลดก ผลส้มผิวไม่เรียบ ใบอ่อนบนแผ่นใบจะเป็นสีเหลืองอ่อน แต่เส้นใบและเนื้อบริเวณโคนใบยังเขียวอยู่ใบแก่ร่วงเร็ว
ผลส้มมีขนาดเล็กลงและร่วงหล่นง่าย
ป้องกันด้วยการเพิ่มปูนขาวและอินทรีย์วัตถุลงไปในดินบริเวณพุ่มต้น
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
พ่นทางใบด้วย
แมกนีเซียมพาสส์
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
พ่น 2 ครั้งห่างกัน 15 วัน
โรคใบแก้ว โรคขาดธาตุสังกะสี
อาการคล้ายๆโรคกรีนนิ่งส้ม ต้นโทรม ใบเหลืองซีดแต่เส้นกลางใบยังเขียวอยู่ ใบมีขนาดเล็กลง ผลส้มมีขนาดเล็ก
ป้องกันด้วยการปรับสภาพดินให้อยู่ในระดับ pH 5.6-6.5 เพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุในดิน
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
พ่นทางใบด้วย
ซิ้งค์พาสส์
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร