การบำรุงลำไย
การบำรุง
ทางเลือกใหม่สำหรับธาตุอาหารในรูปปุ๋ยทางดิน
ฟื้นต้นหลังเก็บเกี่ยว
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
ท็อป-เอ็น (TOP N)
นวัตกรรมใหม่ สำหรับการบำรุงพืช ช่วยปรับปรุงดิน
อัตรา 300 – 500 กรัม/ต้น
ประโยชน์
-
- ช่วยปรับปรุงดิน
- สารช่วยเสริมสร้างราก
- สารช่วยเร่งขยายขนาดของผล
- สำหรับให้ลำใยทางดิน
- นวัตกรรมใหม่ สำหรับการบำรุงพืช ช่วยปรับปรุงดิน กระตุ้นการเจริญเติบโตของราก กระตุ้นการแตกใบอ่อน ใบเขียวเข้ม เพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิตให้กับพืช
- สารอินทรีย์ชนิดเม็ดสำหรับใช้กับพืชทางดิน ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปนำเข้ามาจาก บริษัท Cifo Srl ประเทศอิตาลี
- เป็นสารอินทรีย์ชนิดเม็ดภายใต้นวัตกรรมใหม่สำหรับใช้เป็นสารกระตุ้นทางชีวภาพ ซึ่งประกอบด้วย สารไฮโดรไลซ์ จีเลติน (Hydrolyzed Gelatin) สำหรับนำไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับพืช ด้วยกระบวนการผลิต FCH (Fully Controlled Hydrolysis) เป็นกระบวนการไฮโดรไลซิสผ่านความร้อนโดยสมบูรณ์ มีการย่อยสลาย Collagen ควบคุมเวลา ความดัน ปริมาณน้ำ ความชื้น อุณหภูมิ ไม่ให้สูงมาก และทำให้สะอาด มีการอบฆ่าเชื้อ ปราศจากเชื้อโรค จนได้ Hydrolyzed Gelatin ในรูปเม็ด
- FCH® นวัตกรรมใหม่ เทคโนโลยีเฉพาะของ Cifo Srl
- ท็อปเอ็น ได้รับสัญลักษณ์ Selected Products Enviromentally Friendly สัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้ได้กับพืชเกษตรอินทรีย์ พืชปลูกโดยทั่วไป
การใช้ชุดผลิตภัณฑ์สารอาหารและฮอร์โมนพืชสำหรับลำไยกระตุ้น
การแตกใบอ่อน
ภายหลังตัดแต่งกิ่งประมาณ 3 สัปดาห์ ก็จะเริ่มแตกใบใหม่
ลำไยมีความจำเป็นจะต้องใช้ใบรุ่นใหม่ประมาณ 2-3 ชุดสำหรับเสริมสร้างอาหารเพื่อความสมบูรณ์พร้อม และช่วยฟื้นฟูสภาพต้นที่ทรุดโทรมให้กลับคืนสู่ความสมบูรณ์ได้อย่างรวดเร็ว
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
ปุ๋ยเกร็ดไซโฟเฟอร์ท 30-12-8
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
อัลก้า
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
เอราจิ๊บ 100
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 2 เม็ด ต่อน้ำ 100 ลิตร
เร่งให้ใบอ่อนแก่เร็ว
เพื่อให้การสร้างใบรุ่นใหม่มีความสมบูลย์พร้อมเร็วกว่าปกติ
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
ซีเนอกอน 2000
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
แมกนีเซียมพาสส์
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
คูวาส
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
สะสมอาหารก่อนการออกดอก
เพื่อให้มีสารอาหารที่เพียงพอต่อการออกดอก
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
ปุ๋ยเกล็ดไซโฟเฟอร์ท 9-48-14
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
ซีเนอกอน 2000
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
ซิ้งค์พาสส์
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
การบังคับการออกดอกของลำไย
ด้วยการราดสารโพแทสเซี่ยมคลอเรตที่มีความเข้มข้นของเนื้อสารไม่ต่ำกว่า 95%
ก่อนราดสารประมาณ 1 เดือน ควรใส่ปุ๋ยทางดินสูตร 8-24-24 หรือ 9-24-24
ช่วงราดสารใบควรจะมีสีเขียวเข้ม ใบเริ่มแก่ (แต่ไม่แก่จัด)
ก่อนราดสารดินจะต้องไม่ชื้นหรือแห้งเกินไป
- สำหรับลำไย ปลูกใหม่ เมื่อต้นมีอายุประมาณ 2-2.5 ปี สามารถบังคับให้ลำไยออกดอกได้ โดยการราด โพแทสเซียมคลอเรต อัตรา 10-20 กรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร หรือใช้สารประมาณ 30-50 กรัมต่อต้นจนกระทั่งประมาณ 3-4 สัปดาห์ ลำไยจะเริ่มแทงช่อดอก
- สำหรับลำไยที่ให้ผลผลิตแล้ว การราดสารโพแทสเซียมคลอเรตขึ้นอยู่กับอายุของลำไย ขนาดของทรงพุ่มและชนิดของเนื้อดิน
ในกรณีที่เป็นดินร่วนปนทราย ให้ใช้ตามอัตรา ดังนี้
- ลำไย อายุ 5-7 ปี ควรใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต ในอัตรา 100 กรัมต่อต้น
- ลำไย อายุ 7-10 ปี ควรใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต ในอัตรา 150 กรัมต่อต้น
- ลำไย อายุ 10 ปีขึ้นไป ควรใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต ในอัตรา 200 กรัมต่อต้น
ในกรณีที่เป็นดินร่วนปนเหนียว ให้เพิ่มอัตราอีก 50 กรัมต่อต้น
ภายหลังราดสารแล้วควรรดน้ำให้ชุ่ม จนกระทั่งลำไยออกดอก ซึ่งปกติแล้วภายหลังราดสารประมาณ 20-35 วันก็จะแทงช่อดอก
สำหรับลำไยที่ราดสารโพแทสเซี่ยมคลอเรต
ควรบำรุงใบลำไยเพื่อการสะสมอาหารอย่างสมบูรณ์
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
ซีเนอกอน 2000
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
ซิงค์พาสส์
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
เปิดตาดอกลำไย
ต้องพิจารณาถึงความพร้อมต่อการออกดอกด้วยสภาพที่เหมาะสมที่ควรสังเกตคือ
- เมื่อใบแก่มีความพร้อมต่อการออกดอก
- สภาพของดินจะต้องมีการระบายน้ำได้ดีหรือจะต้องมีร่องน้ำสำหรับการะบายน้ำออกไม่ควรมีน้ำท่วมขัง
- ปริมาณน้ำฝนจะต้องลดลงหรือจะต้องมีช่วงฝนทิ้งช่วงประมาณ 1 เดือนและก่อนเปิดตาดอกจะต้องปลอดฝนอย่างน้อย 5-7 วัน
- ควรมีอุณหภูมิก่อนออกดอกประมาณ 15 องศาเซลเซียส นาน 1-2 เดือน
- หากราดสารโพแทสเซียมคลอเรตให้สังเกตภายหลังจากราดสารแล้ว 3-4 สัปดาห์ และมีช่วงกระทบแล้งอย่างน้อย 5-7 วันก็เหมาะสมสำหรับการดึงตาดอก
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
ปุ๋ยเกร็ดไซโฟเฟอร์ท 6-10-32+6.3Zn
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
เซ็ท 46
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
อัลก้า
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
ช่วยผสมเกสรในระยะก่อนดอกบาน
ในระยะนี้จำเป็นจะต้องช่วยสร้างสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการผสมเกสร ถ้าหากมีน้ำมากควรลดปริมาณการให้น้ำลง ควรพ่นสารช่วยในการผสมเกสร
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
เอิร์ท 23
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 5 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
พ่น 2 ครั้งเมื่อดอกเริ่มบานห่างกัน 5-7 วัน
เพิ่มการติดผลภายหลังกลีบดอกโรย
ภายหลังผสมเกสรอย่างสมบูรณ์แล้ว เริ่มติดผลอ่อน
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
ไซฟามิน บีเค
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 5 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
พ่น 2 ครั้งห่างกัน 5-7 วัน
หากมีใบอ่อนแตกแซมจำนวนมากในช่วงนี้ เพื่อลดการแตกใบอ่อนและลดปริมาณใบอ่อนลง
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
ปุ๋ยเกร็ดเอราวัณเฟอร์ท 0-52-34
อัตราและวิธีใช้
ในอัตรา 150 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
พ่นไปบริเวณที่มีใบอ่อนแตกแซม
การบำรุงผลอ่อนลำไย
เพื่อให้มีพัฒนาการของผลอย่างสมบูรณ์
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
ปุ๋ยเกล็ดไซโฟเฟอร์ท 18-18-18
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
แคลซิซาน
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
อีลีมิน
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 5 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
การบำรุงในช่วงพัฒนาการของผล
เพื่อให้มีพัฒนาการของผลอย่างสมบูรณ์
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
ปุ๋ยเกล็ดไซโฟเฟอร์ท
10-30-30
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
แคลซิซาน
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
อีลีมิน
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
ไซโฟแคล
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
คูวาส
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 5 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
ป้องกันอาการผลแตกของลำไย
มักพบอาการผลแตกจำนวนมากในช่วงพัฒนาการของผลก่อนเก็บเกี่ยว เกิดจากผลลำไยมีเปลือกบางกว่าปกติโดยเฉพาะด้านก้นผล บางครั้งอาจโดนโรค(เช่น โรคแอนแทรคโนส โรคราน้ำฝน)และแมลงศัตรูพืชทำลาย หรือผ่านสภาวะแล้งมาช่วงขณะหนึ่ง เมื่อได้รับน้ำที่ไม่สมดุลหรือมากเกินไปจากปริมาณน้ำฝน ก็อาจดันให้ผลลำไยเปลือกแตกได้ง่าย ดังนั้นควรจัดการให้ในแปลงเพาะปลูกมีการระบายน้ำที่ดีโดยเฉพาะในแปลงปลูกที่เป็นดินเหนียว ควรพูนโคนต้นและให้น้ำอย่างสม่ำเสมอในช่วงพัฒนาการของผลลำไยและไม่ควรตัดหญ้าในช่วงฤดูฝน
การป้องกันควรมีวิธีการจัดการปุ๋ยที่ดีในระยะผลอ่อน ควรมีปริมาณธาตุไนโตรเจนที่สูงกว่าปกติ(โดยเฉพาะในช่วงที่มีอากาศหนาวจัด)เพื่อช่วยในการเสริมสร้างเปลือก แล้วฉีดพ่นทางใบด้วย
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
แคลซิซาน
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
ไซโฟแคล
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
ควรพ่นซ้ำอีกครั้งห่างกัน 15 วัน พ่นในช่วงขยายขนาดของผล
เสริมสร้างคุณภาพเนื้อผล
เพื่อพัฒนาการของเนื้อผลเป็นไปอย่างสมบูรณ์
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
ปุ๋ยเกล็ดไซโฟเฟอร์ท 6-10-32
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
แคลซิซาน
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
ไซโฟแคล
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
เร่งการสุกของผลเร่งการเข้าสีเนื้อผลและสีผิวผล
เพื่อเร่งการสุกของผลให้สามารถเก็บเกี่ยวได้ก่อนฤดูกาล โดยมีคุณภาพเนื้อที่ดีมีความหวานและสีผิวผลที่เหมาะสม
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
ปุ๋ยเกล็ดไซโฟเฟอร์ท 6-10-32+6.3Zn
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
เซ็ท 46
อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
พ่น 2 ครั้งก่อนเก็บเกี่ยว 30 และ 15 วัน