แมลงบั่ว ศัตรูร้ายทำลายนาข้าว ช่วงข้าวแตกกอ
แมลงบั่ว มีชื่อวิทยาศาสตร์: Orseolia oryzae (Wood – Mason) เป็นศัตรูข้าวที่สำคัญ มักจะระบาดมากในระยะข้าวแตกกอ ในช่วงสภาพอากาศมีความชื้นและเย็นดังนั้น เกษตรกรจึงควรเร่งป้องกันการวางไข่และกำจัดตัวหนอนของแมลงบั่ว
รูปร่างลักษณะ
แมลงบั่วเพศผู้ ลำตัวมีสีน้ำตาลปนเหลือง ขนาดเล็กกว่าเพศเมีย เพศเมียจะมีสีชมพูอมส้มโดยวางเป็นฟองเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม 3 – 4 ฟอง เพศเมีย 1 ตัว สามารถวางไข่ได้หลายร้อยฟองใน 4 วัน ระยะไข่ประมาณ3 – 4 วันตัวหนอนคล้ายหนอนแมลงวันหัวท้ายเรียว ระยะหนอนนาน 11 วัน ตัวหนอนที่ฟักจากไข่จะคลานตามบริเวณกาบใบเพื่อแทรกตัวเข้าไปในกาบใบ เข้าไปอาศัยกัดกินที่จุดตายอดหรือตาข้างที่ข้อ และจะสร้างหลอดหุ้มตัวหนอน ทำให้เกิดเป็นช่องกลวงที่เรียกว่า หลอดบั่วหรือหลอดหอม
ลักษณะการเข้าทำลาย
ตัวเต็มวัยมีลักษณะคล้ายยุง จะพบการระบาดในช่วงฤดูหนาว จะวางไข่ใต้ใบข้าวในตอนกลางคืน เพศเมีย 1 ตัวสามารถวางไข่ได้หลายร้อยฟองในชั่ว อายุ 4 วัน
จะวางไข่ตั้งแต่ข้าวระยะกล้า (อายุ 25 – 30 วัน) และเริ่มทำลายข้าวในระยะแตกกอ ตัวหนอนที่ฟักจากไข่จะคลานตามบริเวณกาบใบ และเข้าทำลายกัดกินอยู่ภายในตาที่กำลังเจริญเติบโต ต้นข้าวจะเกิดเป็นช่องกลวงที่เรียกว่า “หลอดบั่วหรือหลอดหอม” ต้นข้าวและกอข้าวที่ถูกทำลายมีอาการแคระแกรน เตี้ย ลำต้นกลม สีเขียวเข้ม ไม่ออกรวง ทำให้ผลผลิตข้าวลดลง
การป้องกันกำจัดแมลงบั่ว
• สำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ ก่อนปลูกข้าวควรกำจัดวัชพืชรอบแปลงเพื่อทำลายพืชอาศัย
• ไม่หว่านข้าวแน่น หรือใช้วิธีปักดำในพื้นที่ที่ประสบปัญหาการระบาด
• ใช้กับดักแสงไฟล่อตัวเต็มวัย
• อนุรักษ์แมลงศัตรูธรรมชาติ เช่นแมงมุม ด้วงดิน แตนเบียน แมลงช้างปีกใส เป็นต้น
พ่นกำจัดแมลงบั่วเมื่อพบการระบาด
• กลุ่ม 1B เอราฟอส อัตรา 40-50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร สลับ
• กลุ่ม 2B เอราทริป โกลด์ อัตรา 4-5 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร สลับ
• กลุ่ม 4A เอรามิพริด อัตรา 20 กรัม หรือ เอราท็อกซ์24 อัตรา 15 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร สลับ
• กลุ่ม 3A+1B เอราโพรทริน อัตรา 30-40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
โดยพ่นสารแต่ละกลุ่มทุก ๆ 5 วัน จำนวน 3 ครั้ง แล้วสลับกลุ่มสารเพื่อป้องกันการดื้อยา