โรคแมลงศัตรูพืช

อัตราและวิธีใช้

เรนแมน (สารไชยาโซฟามิด 40% เอสซี) ในอัตรา 5 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ควรพ่นซ้ำอย่างน้อย 2 ครั้งห่างกัน 7-10 วัน

ปัญหาแมลงศัตรูกล้วยไม้ที่ยุ่งยากต่อการกำจัด

เพลี้ยไฟศัตรูวายร้ายที่ต้านยา

  • ปัญหาเพลี้ยไฟ เป็นปัญหาหลักที่จัดการได้ยาก กล้วยไม้ส่งออกไปยังสหภาพยุโรปตรวจพบสารตกค้างประเภทสารกำจัดเพลี้ยไฟในกล้วยไม้เป็นหลักเพลี้ยไฟชาวสวนกล้วยไม้รู้จักกันในชื่อว่า “ตัวกินสี” เป็นแมลงปากดูดที่มีขนาดเล็กมากที่หลบซ่อนอยู่ตามซอกกลีบดอก จนยากที่จะพบเห็นตัวได้

ผลิตภัณฑ์แนะนำ

ผลิตภัณฑ์บริษัท เอราวัณเคมีเกษตรที่สามารถกำจัดเพลี้ยไฟได้ส่วนใหญ่จะมีคุณสมบัติออกฤทธิ์แบบดูดซึมเป็นหลักหรือซึมผ่านใต้พื้นผิวใบสารในกลุ่มนีโอนิโคตินอยด์ ได้แก่

เอราคอน 70

เอราท็อกซ์

เอราทริป 5 เอสซี

เอราเมท โกลด์

เอราทริน 2.5

อัตราและวิธีใช้

เอราคอน 70 (สารอิมิดาคลอพริด 70% ดับบลิวจี) ให้ใช้ในอัตรา 5 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

และ เอราท็อกซ์ (สารไทอะมีโทแซม 25% ดับบลิวจี) ให้ใช้ในอัตรา 5 กรัม ต่อน้ำ 20  ลิตร

 

โดยพ่นสลับหรือใช้ร่วมกันกับสารกำจัดเพลี้ยไฟชนิดอื่นๆ เช่น

เอราทริป 5 เอสซี (สารฟิโพรนิล 5% เอสซี) ใช้ในอัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

เอราเมท โกลด์ (สารไดเมโทเอต 40% อีซี) สูตรปรับปรุงใหม่จากยุโรป ด้วยสูตรผสมที่คงสภาพสารออกฤทธิ์อยู่ได้นาน ปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม ใช้ในอัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

เอราทริน 2.5 (สารแลมบ์ด้า ไซฮาโลทริน 2.5% อีซี)ใช้ในอัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

ไรแมงมุมเทียมศัตรูคู่กล้วยไม้ตลอดกาล

ไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้

นับว่าเป็นศัตรูที่สำคัญในกล้วยไม้ โดยเฉพาะกล้วยไม้สกุลหวายและฟาเลนนอพซิส พบระบาดมากจนมีชื่อสามัญว่า ฟาเลนนอพซิสไมท์

ผลิตภัณฑ์แนะนำ

ไมทาไซด์

เอราทริน 2.5

เอราไมท์ 20

อัตราและวิธีใช้

ไมทาไซด์ (สารอามีทราส 20% อีซี)

ให้ใช้ในอัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

หากใช้ร่วมกับสารในกลุ่มไพรีทรอยด์ เช่น เอราทริน 2.5 (แลมดา ไซฮาโลทริน 2.5 อีซี) จะเสริมฤทธิ์การทำงานซึ่งกันและกัน

 

เอราไมท์ 20 (สารไพริดาเบน 20% ดับบลิวพี) สามารถกำจัดไรศัตรูกล้วยไม้ได้อย่างรวดเร็วและควบคุมได้ยาวนานสามารถกำจัดได้ทุกระยะของการเจริญเติบโต โดยเฉพาะในระยะทั้งตัวอ่อนและตัวแก่

ให้ใช้ในอัตรา 20กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

 

ดังนั้นการใช้เพื่อการกำจัดไรศัตรูกล้วยไม้น่าจะใช้ร่วมกันทั้ง ไมทาไซด์ และ เอราไมท์ สามารถช่วยลดการดื้อยาได้ เพราะอยู่ต่างกลุ่มกลไกการออกฤทธิ์

สารกำจัดแมลงศัตรูพืชที่สามารถกำจัดไรศัตรูกล้วยไม้ได้ด้วย ได้แก่

เอราเมท โกลด์

เอรามอล 83

เอราเม็คติน

เอราเมท โกลด์ (สารไดเมโทเอต 40% อีซี) สูตรปรับปรุงใหม่จากยุโรป ด้วยสูตรผสมที่คงสภาพสารออกฤทธิ์อยู่ได้นาน ปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม ใช้ในอัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

เอรามอล 83 (สารมาลาไทออน 83% อีซี) ใช้ในอัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

เอราเม็คติน (สารอะบาเเมคติน 1.8% อีซี) ใช้ในอัตรา 15 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

 

สารป้องกันกำจัดโรคพืชที่สามารถกำจัดไรศัตรูกล้วยไม้ได้ด้วย

ฟราวไซด์

เอราซัล

ฟราวไซด์ (สารฟลูอะซินาม 50% อีซี)ใช้ในอัตรา 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

เอราซัล  (สารซัลเฟอร์ 80% ดับบลิวพี) ใช้ในอัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร การใช้เอราซัล จะต้องระมัดระวังการใช้สำหรับกล้วยไม้บางสกุลที่อาจพบอาการเกิดพิษได้ ควรหลีกเลี่ยงการพ่นในขณะที่มีอากาศร้อน

บั่วกล้วยไม้ หนอนแมลงวันดอกกล้วยไม้ ไอ้ฮวบ

ไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้

นับว่าเป็นศัตรูที่สำคัญในกล้วยไม้ โดยเฉพาะกล้วยไม้สกุลหวายและฟาเลนนอพซิส พบระบาดมากจนมีชื่อสามัญว่า ฟาเลนนอพซิสไมท์

ผลิตภัณฑ์แนะนำ

ไมทาไซด์

เอราทริน 2.5

เอราไมท์ 20

อัตราและวิธีใช้

ไมทาไซด์ (สารอามีทราส 20% อีซี)

ให้ใช้ในอัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

หากใช้ร่วมกับสารในกลุ่มไพรีทรอยด์ เช่น เอราทริน 2.5 (แลมดา ไซฮาโลทริน 2.5 อีซี) จะเสริมฤทธิ์การทำงานซึ่งกันและกัน

 

เอราไมท์ 20 (สารไพริดาเบน 20% ดับบลิวพี) สามารถกำจัดไรศัตรูกล้วยไม้ได้อย่างรวดเร็วและควบคุมได้ยาวนานสามารถกำจัดได้ทุกระยะของการเจริญเติบโต โดยเฉพาะในระยะทั้งตัวอ่อนและตัวแก่

ให้ใช้ในอัตรา 20กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

 

ดังนั้นการใช้เพื่อการกำจัดไรศัตรูกล้วยไม้น่าจะใช้ร่วมกันทั้ง ไมทาไซด์ และ เอราไมท์ สามารถช่วยลดการดื้อยาได้ เพราะอยู่ต่างกลุ่มกลไกการออกฤทธิ์

สารกำจัดแมลงศัตรูพืชที่สามารถกำจัดไรศัตรูกล้วยไม้ได้ด้วย ได้แก่

เอราเมท โกลด์

เอรามอล 83

เอราเม็คติน

เอราเมท โกลด์ (สารไดเมโทเอต 40% อีซี) สูตรปรับปรุงใหม่จากยุโรป ด้วยสูตรผสมที่คงสภาพสารออกฤทธิ์อยู่ได้นาน ปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม ใช้ในอัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

เอรามอล 83 (สารมาลาไทออน 83% อีซี) ใช้ในอัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

เอราเม็คติน (สารอะบาเเมคติน 1.8% อีซี) ใช้ในอัตรา 15 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

 

สารป้องกันกำจัดโรคพืชที่สามารถกำจัดไรศัตรูกล้วยไม้ได้ด้วย

ฟราวไซด์

เอราซัล

ฟราวไซด์ (สารฟลูอะซินาม 50% อีซี)ใช้ในอัตรา 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

เอราซัล  (สารซัลเฟอร์ 80% ดับบลิวพี) ใช้ในอัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร การใช้เอราซัล จะต้องระมัดระวังการใช้สำหรับกล้วยไม้บางสกุลที่อาจพบอาการเกิดพิษได้ ควรหลีกเลี่ยงการพ่นในขณะที่มีอากาศร้อน

หนอนกระทู้หอม ฉายาหนอนหนังเหนียวที่กำจัดยาก

หนอนกระทู้หอม หนอนหนังเหนียว หนอนหลอดหอม หนอนเขียว

ชาวสวนกล้วยไม้มักเรียกว่าหนอนหนังเหนียวเนื่องจากกำจัดได้ยาก มักพบระบาดอย่างรุนแรงในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อน โดยกัดกินดอกและใบ

ผลิตภัณฑ์แนะนำ

เอรามิลิน

เอรานูฟอส

อัตราและวิธีใช้

เอรามิลิน (สารลูเฟนนูรอน 5% อีซี) ใช้ในอัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร

หรือ

เอรานูฟอส (สารลูเฟนนูรอน 5% + สารโพรฟีโนฟอส 50% อีซี) ใช้ในอัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

พ่นเมื่อเริ่มพบการระบาด ทุกๆ 5-7 วัน

ทากศัตรูกล้วยไม้ที่มากับฝน

หอยทากศัตรูกล้วยไม้

อาศัยอยู่บนเครื่องปลูก บริเวณราก เข้าทำลายตาหน่อ ตาดอกและช่อดอก และเมือกของหอยทากทำให้เกิดเป็นเชื้อรา

มักพบระบาดมากในช่วงหน้าฝนที่มีความชื้นสูง

ผลิตภัณฑ์แนะนำ

เอราดีไฮด์

เอราซามายด์

อัตราและวิธีใช้

เอราดีไฮด์ (สารเมทัลดีไฮด์ 5% จีบี) ใช้หว่านลงบนเครื่องปลูกให้ทั่วบริเวณ 10-20 เม็ด ต่อต้น หรือหว่านใต้ร้านในตอนเย็นหลังให้น้ำหรือโรยตามบริเวณที่มีหอยระบาด

เอราซามายด์ (สารนิโคลซาไมด์ อีทานอลลามีน 83.1% ดับบลิวพี) ยาผงสีเหลือง ใช้ในอัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

 

การพ่นสารกำจัดหอยทากกล้วยไม้ ควรพ่นเมื่อมีความชื้นสูงหรือภายหลังฝนหยุดตก