โรคราน้ำค้างของบวบเหลี่ยม

บวบเหลี่ยม เป็นอีกพืชหนึ่งที่เกษตรกรนิยมปลูกหลังการผลิตพืชหลัก ไม่ว่าจะหลังการปลูกข้าว หรือข้าวโพด เพราะเป็นพืชอายุสั้น ได้ผลผลิตเร็ว แต่บวบเหลี่ยมก็มีปัญหาด้านการดูแลรักษา ทั้งเรื่องโรค แมลง และการเขตกรรม เกษตรกรจึงควรมีความเข้าใจปัญหาพื้นฐานของศัตรูและหมั่นสังเกตความผิดปกติที่พบในแปลงอยู่เสมอๆ

โรคราน้ำค้างของบวบ เป็นโรคประจำชนิดหนึ่งที่มักพบเสมอๆ เกิดจากราชั้นต่ำที่มีชื่อว่า ซูโดเพอเรอโนสปอร่า

การสังเกตอาการ จะพบอาการบนใบ มักพบมีแผลเหลี่ยมเล็กสีเหลืองชัดเจน ในขอบเขตเส้นใบ ในบางสายพันธุ์แผลอาจเป็นสีขาวหรือเทา ต่อมาใบจะเหลืองแห้งไป แตกต่างจากอาการใน แตงโม หรือแคนตาลูป โดยแผลจะเกิดในขอบเขตเส้นใบเช่นเดียวกับแตงกวา แต่ไม่ชัดเจนเท่า จะติดผลน้อย ผลมีขนาดเล็ก และความหวานลดลง หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม โรคจะระบาดรวดเร็ว ทำให้ใบเหลืองและแห้งตายทั้งต้น พบเส้นใยเชื้อราฟู เล็กๆ สีเทาดำตรงแผลใต้ใบ มักจะระบาดรุนแรงและรวดเร็วเมื่อช่วงกำลังให้ผล ทำให้เถาตายก่อนที่ผลจะสุกแก่พร้อมเก็บเกี่ยว

 การแพร่ระบาด พบได้ทุกระยะการเจริญ ระบาดมากในช่วงปลายฝนต้นหนาว ยิ่งมีความต่างของอุณหภูมิต่ำในเวลากลางคืน และอุณหภูมิสูงในเวลากลางวัน ยิ่งทำให้อาการของโรครุนแรง

วิธีป้องกันกำจัด

จัดการให้แปลงปลูกมีการถ่ายเทอากาศที่ดี

  • ใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราชั้นต่ำ เช่น สาร ไดเมโทมอร์ฟ สารกลุ่ม 4 – เมทาแลกซิล กลุ่ม 22 – อีทาบอกแซม หรือ ไซม็อกซานิล+แมนโค
  • เซบ กลุ่ม 27 กลุ่ม 33 หรือสารผสมของสารในกลุ่มเหล่านี้ สามารถอ่านเพิ่มเติมเรื่องสารเคมีป้องกันกำจัดโรค ได้ที่ แนะนำสารเคมีป้องกัน

กำจัดโรคพืช และวิธีการสลับยา(ป้องกันการดื้อยา)
ใช้สารป้องกันกำจัดด้วงเต่าแตง (พาหะของราน้ำค้าง) เช่น คาร์โบซัลแฟน เป็นต้น

 



สารป้องกันกำจัดโรคพืช

เรนแมน: อัตราการใช้ 6 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นด้วยปริมาณน้ำ 80 ลิตรต่อไร่

ไอโรเน่ดับบลิวจี:  อัตราการใช้ 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

เรสเปคท์ บูล:  อัตราการใช้ 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร