รูปร่างลักษณะของตัวผีเสื้อ
เมื่อกางปีกจะมีขนาด 1.5 -2.0 เซนติเมตร ปีกบนสีขาวฟางข้าว มีแต้มสีน้ำตาล 2 จุดบนปีกบนทั้ง 2 ข้าง ปีกคู่ล่างสีขาว หัวเล็ก สีน้ำตาล ลำตัวใส สีเนื้อ แต่หากกินอาหารต่างกัน ลำตัวอาจมีสีแดง หรือสีเขียวได้ แม่ผีเสื้อวางไข่เวลากลางวั
นบริเวณกลีบดอกอ่อน ระยะไข่ประมาณ 2-3 วัน ตัวหนอนมี 5-6 ระยะ เข้าดักแด้ในดิน 7-12 วัน วงจรชีวิตโดยรวม 23-35 วัน
หนอนเจาะผลมะเขือเปราะพบทั่วไปในแหล่งปลูกมะเขือ แต่พบทำลายยอดและต้นมากในฤดูฝน ส่วนในฤดูแล้งหนอนจะเข้าทำลายผลมากกว่า พืชอาศัยของหนอนนี้เป็นพืชพวกมะเขือ เช่น มะเขือม่วง มะเขือเปราะ มะเขือเหลือง มะเขือยาว เป็นต้น แต่ไม่ทำลายมะเขือเทศ
การป้องกันกำจัด
• เก็บยอดและผลที่ถูกทำลาย ทั้งที่มีหนอนหรือไม่มีหนอน ออกไปจากสวน
• ใช้กับดักแสงไฟล่อตัวเต็มวัย
• ปลูกพืชหมุนเวียนที่ไม่ใช่มะเขือ
• ใช้สารป้องกันกำจัดแมลง เมื่อสำรวจพบการทำลายผล 5-10% โดยใช้ เบตาไซฟลูทริน อัตรา 80 กรัม/น้ำ20 ลิตร หรือซีตาไซเพอร์เมทริน อัตรา 30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร หรือโพรไทโอฟอส อัตรา 50 มิลลิกรัม/น้ำ 20 ลิตร การพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงให้พ่นทันทีหลังเก็บเกี่ยว และเว้นระยะการเก็บเกี่ยว 7-10 วัน หากพบการระบาดอีก ก็พ่นหลังเก็บเกี่ยวได้ หรืออาจใช้สารชีวภัณฑ์ เช่น บีที ในช่วงที่มีการเก็บเกี่ยวต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการตกค้างของสารเคมีในผลผลิต