#โรคราดำ พบเห็นได้ทั่วไปบนพืชชนิดต่
างๆ โดยทั่วไปแล้วโรคนี้ดูเหมือ
นไม่ค่อยมีความสำคัญมากนัก แต่ความสำคัญมีมากขึ้นเมื่อ
พบควบคู่กับ
#เพลี้ยอ่อน #เพลี้ยแป้ง #เพลี้ยหอย #เพลี้ยจักจั่น เพราะแมลงปากดูดต่างๆ เหล่านี้จะถ่ายมูลที่เป็นอา
หารของราโรคราดำ ตัวการที่นำพาให้แมลงปากดูด
ที่เคลื่อนที่ได้ช้า เช่นเพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง หรือเพลี้ยอ่อนที่ยังไม่มีป
ีกเข้าไปยังส่วนอ่อนๆของพืช
ก็คือ
#มด (เ
พลี้ยอ่อนบางชนิดที่เป็นตัวแก่จะมีปีก และบินไปหาแหล่งอาหารที่อื่นได้) เมื่อมดคาบตัวอ่อนของแมลงไปยังส่วนอ่อนๆ เช่นยอดอ่อน หรือช่อดอก เพื่อให้แมลงอาศัยดูดน้ำเลี้ยง ถ่ายมูลออกมาเป็นอาหารของมด ขณะเดียวกันราดำก็ชอบขึ้นบนน้ำหวานเหล่านั้นได้ด้วย
ลักษณะของราดำที่พบเสมอมี 2 แบบ
1. แบบแรกเราจะเห็นราดำที่เป็นคราบ หรือแผ่นของเส้นใยราสีดำคลุมอยู่บนผิวพืช แผ่นสีดำของรากลุ่มนี้จะหลุดร่อนออกได้ง่ายโดยเฉพาะเมื่อปรากฎอยู่บนใบ แต่เราก็พบบนกิ่ง บนช่อดอก บนลำต้น และบนผลได้เช่นกัน
สาเหตุของราดำกลุ่มนี้มีหลายชนิด ได้แก่ แคบโนเดนดรอน ไตรโปสเปอมัม ลิมาซิลูน่า และราอีกหลายชนิด เส้นใยของรากลุ่มนี้จะเล็กละเอียด มีสีดำ ทอดยาว แตกแขนง สานกันเป็นแผ่น ปกคลุมบนผิวพืช และสามารถลอกออกเป็นแผ่นได้ง่าย สปอร์ของรากลุ่มนี้มีขนาดเล็ก ไหลไปกับน้ำหรือปลิวไปกับลมและเจริญเติบโตบนน้ำหวานที่ออกมาจากการขับถ่ายของแมลง
2. ส่วนราดำอีกแบบหนึ่ง คือราดำที่เกิดเป็นจุดกลมบนใบ เส้นใยหยาบ สามารถขยายออกและเชื่อมต่อกันได้เมื่อความชื้นสูง ราดำชนิดนี้ชื่อ เมลิโอร่า เป็นราชั้นสูงที่สร้างส่วนขยายพันธุ์เป็นรูปกลม ผนังหนา เส้นใยของราดำชนิดนี้มีอวัยวะที่แทงเข้าไปหาอาหารจากใบพืชได้