โรคกาบใบแห้ง โรคราหลุม โรคขี้กลาก ‼
ราสาเหตุของโรคกาบใบแห้งนี้มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ไรซอกโทเนีย โซลาไน สร้างเส้นใยสีเข้ม มีผนังกั้น อยู่ข้ามฤดูได้บนตอซังข้าวหรืออาศัยบนรากวัชพืชหรืออยู่ปะปนอยู่บนดิน เมื่อมีการปลูกพืช สเคอโรเตียมจะงอกเข้าทำลายพืชอาศัยได้หลายชนิดนอกเหนือจากข้าวก็ได้
อาการของโรคกาบใบแห้ง จะเริ่มพบบนต้นข้าวตั้งแต่ระยะข้าวแตกกอ โดยเฉพาะถ้าต้นข้าวเบียดกันแน่นเกินไปจะทำให้การเกิดโรครุนแรงมากขึ้น แผลบนกาบใบเป็นแผลขอบเรียบ สีน้ำตาลเข้ม ตรงกลางแผลมีลักษณะสีเขียวปนเทา อาการจะเริ่มที่กาบใบตรงระดับน้ำก่อน เนื่องจากเม็ดสเคอโรเตียมของราจะลอยมาติดบริเวณนั้น และงอกเข้าทำลายเนื้อเยื่อกาบใบข้าว รอยแผลที่เกิดมีขนาดใหญ่ขึ้นจนเต็มกาบใบ และลุกลามทั่วใบข้าวทั้งหมด ชาวนาเรียกว่า #โรคขี้กลาก รานี้อาจลุกลามถึงกาบหุ้มรวง ทำให้กาบใบเหี่ยว ช่อดอกไม่พัฒนาและเมล็ดไม่สมบูรณ์ การระบาดจะเกิดได้รวดเร็วมากขึ้นหากมีการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในปริมาณที่สูง และพันธุ์ข้าวอ่อนแอต่อโรค
การป้องกันกำจัด
- • กำจัดวัชพืชซึ่งเป็นพืชอาศัยของราสาเหตุ
- • ไถหน้าดินฝังกลบตอซังข้าวให้กลับลงไปด้านล่างหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อให้ตอซังเน่าเปื่อยและเม็ดสเคอโรเตียมฝ่อ
- • ใช้พันธุ์ข้าวต้านทานโรค
- • ไม่ใช้ปุ๋ยไนโตรเจนปริมาณสูง จนข้าวแตกกอแน่นทึบ และการระบายอากาศมีน้อย
- • การพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชตามคำแนะนำของนักวิชาการ
โรคกาบใบแห้ง โรคราหลุม โรคขี้กลาก ‼

ฟราวไซด์: อัตราการใช้ 12-16 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
เอราโปรมูเร่: hอัตราการใช้ 10-15 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
โซซิม 50: อัตราการใช้ 12-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร