โรคราแป้งของกุหลาบ

โรคนี้เกิดจากราชั้นสูง ที่มีชื่อว่า ออยเดียม สามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนของต้นกุหลาบตั้งแต่ใบอ่อน ก้านดอก ก้านใบ กลีบดอก กิ่งอ่อน ตลอดจนเกสรของดอกกุหลาบ
อาการเริ่มแรก เราจะเห็นส่วนอ่อนๆ ของกุลาบ เช่นบนใบอ่อน หรือกลีบดอก เป็นจุดสีแดง ไม่มีขอบ ต่อมาจะพบกลุ่มเส้นใยบางๆ สีขาวและสปอร์ละเอียดคล้ายผงแป้งบนบริเวณนั้นภายในเวลาเพียง 5 วัน ซึ่งนับว่าเร็วมาก เมื่อเปรียบเทียบกับพัฒนาการของโรคบนพืชอื่น ผงแป้งหรือราแป้งนี้จะกระจายเป็นหย่อมๆ ทั่วไปบนใบอ่อน กิ่งอ่อน กลีบดอก ดอกตูม ทำให้เกิดอาการบิดเบี้ยว เสียรูปร่าง ดอกเปลี่ยนสี ดอกไม่บาน กลีบเป็นสีน้ำตาลแดง ใบเหลือง แห้งกรอบ และร่วง
ราออยเดียม ชอบอากาศเย็น โดยอุณหภูมิช่วงกลางคืนที่ 15.5 องศาเซลเชียส และ 26.7 องศาเซลเชียส ในเวลากลางวัน ที่มีความชื้นสูง ประมาณ 90-99 เปอร์เซ็นต์ เช่นวันที่หมอกลงจัด หรือมีฝนตกพรำๆ หรือในฤดูหนาวที่มีน้ำค้างค้างอยู่บนใบได้นานเกิน 2-3 ชั่วโมง สปอร์ของราที่ปลิวมาตามลม อาจจะจากใบล่าง หรือจากต้นข้างเคียง หรือจากแปลงข้างเคียงก็ได้ เมื่อสปอร์ตกลงบนใบที่ชื้นพอจะงอกเส้นใยแทงทะลุผิวไปได้โดยตรง และเจริญอยู่ที่ใต้ผิวใบ พร้อมที่จะสร้างเส้นใยชูขึ้นมากลายเป็นสปอร์ได้ในเวลาอันสั้น คือประมาณ 48 ชั่วโมง ซึ่งโรคพืชชนิดอื่นอาจใช้เวลา 5 ถึง 7 วัน หรือนานกว่านั้น จึงจะแสดงอาการ เมื่อราผลิตสปอร์บนต้นจึงสามารถทำให้เกิดโรคได้วนเวียนกลับขึ้นไปยังส่วนที่งอกใหม่ซ้ำๆ ได้อีกหลายรอบในแต่ละฤดู โดยเฉพาะเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม
การป้องกันกำจัด
การตัดแต่งให้โปร่ง เป็นการลดแหล่งระบาดของโรค และช่วยให้อากาศถ่ายเท ไม่อับชื้น การปลูกในแนวขวางตะวัน จะทำให้แสงแดดส่องถึงได้ทั่วแปลง เป็นการลดความชื้น เมื่อตัดแต่งกิ่งแล้วควรทำลายกิ่งก้านเป็นโรคให้พ้นจากแปลงปลูก
การพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช ควรปฎิบัติตั้งแต่ระยะหลังการตัดแต่งกิ่ง และเมื่อเริ่มแทงยอดใหม่ จากนั้นพ่นอย่างสม่ำเสมอทุก 7-10 วัน หากพบการระบาด ควรพ่นให้บ่อยครั้งขึ้น
สารป้องกันกำจัดโรคพืช ที่ใช้ได้ดีมักมีส่วนประกอบของกำมะถัน ได้แก่ กำมะถัน ชนิดผง หรือชนิดน้ำ, คอปเปอร์ซัลเฟต,ไทโอฟาเนต เมททิล, ไทแรม หรือสารกลุ่ม ไทอะโซล เป็นต้น
โรคราแป้งของกุหลาบ

โรคนี้เกิดจากราชั้นสูง ที่มีชื่อว่า ออยเดียม สามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนของต้นกุหลาบตั้งแต่ใบอ่อน ก้านดอก ก้านใบ กลีบดอก กิ่งอ่อน ตลอดจนเกสรของดอกกุหลาบ
อาการเริ่มแรก เราจะเห็นส่วนอ่อนๆ ของกุลาบ เช่นบนใบอ่อน หรือกลีบดอก เป็นจุดสีแดง ไม่มีขอบ ต่อมาจะพบกลุ่มเส้นใยบางๆ สีขาวและสปอร์ละเอียดคล้ายผงแป้งบนบริเวณนั้นภายในเวลาเพียง 5 วัน ซึ่งนับว่าเร็วมาก เมื่อเปรียบเทียบกับพัฒนาการของโรคบนพืชอื่น ผงแป้งหรือราแป้งนี้จะกระจายเป็นหย่อมๆ ทั่วไปบนใบอ่อน กิ่งอ่อน กลีบดอก ดอกตูม ทำให้เกิดอาการบิดเบี้ยว เสียรูปร่าง ดอกเปลี่ยนสี ดอกไม่บาน กลีบเป็นสีน้ำตาลแดง ใบเหลือง แห้งกรอบ และร่วง
ราออยเดียม ชอบอากาศเย็น โดยอุณหภูมิช่วงกลางคืนที่ 15.5 องศาเซลเชียส และ 26.7 องศาเซลเชียส ในเวลากลางวัน ที่มีความชื้นสูง ประมาณ 90-99 เปอร์เซ็นต์ เช่นวันที่หมอกลงจัด หรือมีฝนตกพรำๆ หรือในฤดูหนาวที่มีน้ำค้างค้างอยู่บนใบได้นานเกิน 2-3 ชั่วโมง สปอร์ของราที่ปลิวมาตามลม อาจจะจากใบล่าง หรือจากต้นข้างเคียง หรือจากแปลงข้างเคียงก็ได้ เมื่อสปอร์ตกลงบนใบที่ชื้นพอจะงอกเส้นใยแทงทะลุผิวไปได้โดยตรง และเจริญอยู่ที่ใต้ผิวใบ พร้อมที่จะสร้างเส้นใยชูขึ้นมากลายเป็นสปอร์ได้ในเวลาอันสั้น คือประมาณ 48 ชั่วโมง ซึ่งโรคพืชชนิดอื่นอาจใช้เวลา 5 ถึง 7 วัน หรือนานกว่านั้น จึงจะแสดงอาการ เมื่อราผลิตสปอร์บนต้นจึงสามารถทำให้เกิดโรคได้วนเวียนกลับขึ้นไปยังส่วนที่งอกใหม่ซ้ำๆ ได้อีกหลายรอบในแต่ละฤดู โดยเฉพาะเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม
การป้องกันกำจัด
การตัดแต่งให้โปร่ง เป็นการลดแหล่งระบาดของโรค และช่วยให้อากาศถ่ายเท ไม่อับชื้น การปลูกในแนวขวางตะวัน จะทำให้แสงแดดส่องถึงได้ทั่วแปลง เป็นการลดความชื้น เมื่อตัดแต่งกิ่งแล้วควรทำลายกิ่งก้านเป็นโรคให้พ้นจากแปลงปลูก
การพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช ควรปฎิบัติตั้งแต่ระยะหลังการตัดแต่งกิ่ง และเมื่อเริ่มแทงยอดใหม่ จากนั้นพ่นอย่างสม่ำเสมอทุก 7-10 วัน หากพบการระบาด ควรพ่นให้บ่อยครั้งขึ้น
สารป้องกันกำจัดโรคพืช ที่ใช้ได้ดีมักมีส่วนประกอบของกำมะถัน ได้แก่ กำมะถัน ชนิดผง หรือชนิดน้ำ, คอปเปอร์ซัลเฟต,ไทโอฟาเนต เมททิล, ไทแรม หรือสารกลุ่ม ไทอะโซล เป็นต้น

เอราซัล: อัตราการใช้ 20-40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
เอราวิล: อัตราการใช้ 10-20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
เอราซิน 50 เอสซี: อัตราการใช้ 15-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
โซซิม 50: อัตราการใช้ 12-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร