
โรคเมลาโนส พบได้บนใบและบนผลส้มในขณะที่ใบอ่อนขยายแผ่นใบหรือ หรือผลอ่อนกำลังเติบโตในขณะที่สภาพอากาศร้อนชื้น หรือมีฝนตกพรำๆ อาการของโรคเมลาโนส อาจแตกต่างไปตั้งแต่ จุดสีดำเล็กๆ หรือรอยแผลตกสะเก็ด รูปแบบของรอยแผลอาจเป็นทางยาวคล้ายน้ำตาเทียน หรือ เป็นแผลนูน เป็นต้น
สาเหตุของโรค
โรคนี้เกิดจากเชื้อราชั้นสูงที่อยู่ในระยะสร้างส่วนขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบมีเพศ ชื่อ ไดอะพอท ซิไตร หรืออยู่ในระยะสร้างส่วนขยายพันธุ์แบบไม่มีเพศ ชื่อ โฟทอพสีส ซิไตร โดยเชื้อราจะทำลายเฉพาะส่วนเปลือกของผลและไม่เข้าไปทำลายถึงเนื้อผลส้ม หากเชื้อราเข้าทำลายใบ จะพบรอยแผลที่มีวงสีเหลืองล้อมรอบ เมื่ออาการรุนแรง ใบจะร่วงได้ง่าย บางครั้งเราอาจพบการเข้าทำลายของเชื้อราบนกิ่งที่ผุ หรือบนรอยแผลของปลายกิ่งที่ถูกตัดแต่ง ซึ่งเป็นส่วนที่ราสาเหตุใช้อยู่ข้ามฤดู
ส่วนขยายพันธุ์ของราสาเหตุ เป็นคอนิเดียรูปยาวรี ใส ไม่มีสี เกิดเป็นกลุ่มในเมือกภายในอวัยวะที่สร้างจากเส้นใยที่พันกันเป็นรูปขวด เมื่อสภาพอากาศชื้น คอนิเดียจะไหลออกจากปากขวดนี้แล้วไหลไปกับน้ำฝน หรือน้ำที่ใช้ในการรดต้นส้ม
คอนิเดียงอกเป็นเส้นใยบนใบ ผิวใบจะพองออกเป็นตุ่ม อาจมีวงสีเหลืองล้อมรอบหรือไม่ก็ได้ วงสีเหลืองนี้อาจเปลี่ยนเป็นวงสีเขียวในภายหลังก็ได้เช่นกัน อาการบนกิ่งจะพบว่ากิ่งผุ เน่าลามลงข้างล่าง คอนิดียของราสาเหตุจะไม่เข้าทำลายส่วนใบที่ขยายเต็มที่หรือใบแก่
อาการบนเป็นปื้น แล้วแตกเป็นรอยร้าว หรือคอนิเดียที่ไหลตามน้ำลงมา แล้วแห้งเกาะบนผิวเปลือกส้มเกิดเป็นแผลยาวคล้ายน้ำตาเทียน จุดนูนอาจมีขนาดใหญ่หากการเข้าทำลายเกิดบนผลอ่อน
วงจรชีวิต
น้ำฝนหรือน้ำชลประทานที่ใช้รดต้นส้มเป็นพาหะนำคอนิเดียไปยังเนื้อเยื่อที่อ่อนแอของส้ม หรือคอนิเดียอาจแพร่กระจายไปตามลมได้ไกลๆ การเข้าทำลายของคอนิเดียบนผลอ่อนจะเกิดหลังกลีบดอกร่วง 3-5 เดือน ในสภาพที่มีความชื้นต่อเนื่องคอนิเดียจะใช้เวลา 8-24 ชั่งโมง ในการงอกบนใบหรือบนผลส้ม ดังนั้น ช่วงเวลาที่มีฝนตกพรำ ต่อเนื่อง อากาศร้อนชื้น เป็นสภาพที่เหมาะสมต่อการระบาดของโรคเมลาโนสได้อย่างดี
การป้องกันกำจัดโรค
- ตัดแต่งกิ่งส้มที่เป็นโรคกิ่งแห้ง การทำให้สวนโปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี จะช่วยลดการเกิดโรคลงได้
- การเลือกแปลงปลูกที่มีแสงแดดส่องทั่วถึง ปริมาณน้ำฝนต่ำ วางระบบการปลูกพืชพันธุ์ต้านทานและพันธุ์อ่อนแอ
- เก็บกวาด ทำความสะอาดแปลงปลูกอยู่เสมอ
- การพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช ช่วยลดการเข้าทำลายของเชื้อได้โดยตรง โดยเฉพาะในระยะแตกใบอ่อน และระยะผลอ่อน สารประกอบทองแดง ใช้ได้ทั่วไป สารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น สโตรบิวรูลิน ใช้ได้ผลดี

ผลิตภัณฑ์แนะนำ
แมนโคเซบ 80% ดับบลิวพี หรือ แคปแทน 50 หรือ โคปิน่า 85 ดับบลิวพี
ใช้อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุกๆ 7-10 วัน จำนวน 3-4 ครั้ง
34 Comments