ราชั้นต่ำ.....ราชั้นสูง ‼
ความหมายของคำว่า “รา” หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่มีนิวเคลียสมีผนังหุ้ม (ส่วนที่ใช้ควบคุมกิจกรรมของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด) ราไม่มีคลอโรฟิลที่ทำหน้าที่สร้างแป้ง มีเส้นใยที่ยาวเป็นสาย ราสามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งการใช้เพศและไม่ใช้เพศ ผนังของเซลล์หรือผนังเส้นใยจะมีไคติน และ/ หรือเซลูโลสเป็นองค์ประกอบ
โดยทั่วไปราอาจจะพักอาศัย เจริญเติบโตได้บนสิ่งมีชีวิต เช่น คน สัตว์ พืช หรือปลา เป็นต้น ได้หลายชนิด ราแต่ละชนิดมีความเฉพาะเจาะจงสูงมากกับสิ่งที่มันอาศัยอยู่ แต่ราส่วนใหญ่อาจจะอยู่อย่างอิสระในธรรมชาติด้วยการย่อยอินทรีย์วัตถุต่างๆ ที่ตายแล้ว
รา สามารถถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มที่อาศัยบนสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวตลอดชีพ แต่บางชนิดอาจต้องอาศัยอยู่บนสิ่งมีชีวิตมากกว่า 1 ชนิด เพื่อการดำรงขีพจนครบวงจรของมัน
เมื่อหันมาดูความแตกต่างระหว่าง “ราชั้นต่ำ” และ “ราขั้นสูง” ที่เป็นสาเหตุโรคพืช เราจะแบ่งกันคร่าวๆ สำหรับเกษตรกร เพื่อให้เข้าใจง่าย และสามามารถนำไปปรับใช้เพื่อการป้องกันกำจัดโรคพืชดังนี้
ราชั้นต่ำ.....ราชั้นสูง ‼

ราชั้นต่ำที่สูงขึ้นมากว่า #พิเทียม และ #ไฟทอฟธอร่า เป็นรากลุ่มราน้ำค้างที่ชอบความชื้นสูงและอากาศค่อนข้างเย็นเช่นกัน รากลุ่มนี้จะอาศัยอยู่ได้บนพืชที่มีชีวิตเท่านั้น และมีความเฉพาะเจาะจงกับพืชอาศัยค่อนข้างสูง ตัวอย่างของรากลุ่มนี้ที่รู้จักกันทั่วไป ได้แก่ ราน้ำค้างของผักชนิดต่างๆ ราน้ำค้างของพืชตระกูลแตง ข้าวโพด องุ่น เป็นต้น
ราชั้นสูง เป็นราที่เส้นใย มีผนังกั้น มีการสร้างโครงสร้างพิเศษสำหรับการขยายพันธุ์ หรือราบางชนิดในกลุ่มนี้ไม่มีการสร้างส่วนขยายพันธุ์อื่น นอกจากการขยายและเพิ่มปริมาณจากเส้นใยที่ขาดออกจากกัน และการอยู่ข้ามฤดูด้วยการม้วนเส้นใยให้แน่นเป็นก้อนเพื่อการอยู่ข้ามฤดู และทนทานต่อสภาพแวดล้อมก็ได้
เราอาจแบ่งกลุ่ม ราชั้นสูงนี้ออกตามการสร้างส่วนขยายพันธุ์ได้ กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ กลุ่ม #ราแป้ง เส้นใยของรานี้จะอาศัยอยู่บริเวณผิวชั้นนอกของใบพืช เมื่อจะขยายพันธุ์แบบไม่มีเพศ ก็เพียงแต่ทำให้เส้นใยขาดออกจากกันเป็นโคนิเดียที่ปลิวไปกับลม เพื่อไปตกบนพืชอาศัยที่อยู่ห่างไกลได้ รานี้ทำลาย ใบ ดอก ก้านดอกที่อ่อนๆ ชอบอากาศค่อนข้างเย็นและมีน้ำค้างช่วงเช้าเป็นเวลาสั้นๆ เพื่อให้โคนิเดียงอกและเข้าสู่พืชทางปากใบได้ ตัวอย่างโรคราแป้งที่รู้จักกันดี ได้แก่ ราแป้งของมะม่วง กุหลาบ กระเจี๊ยบ เงาะ พืชตระกูลแตง เป็นต้น
กลุ่ม ราสนิม สร้างส่วนขยายพันธุ์เป็นสปอร์สีส้ม เหมือนผงสนิม ละเอียด ทั้งบนใบและใต้ใบพืช ชอบอากาศค่อนข้างเย็น สปอร์ของราสนิมบางชนิดมีผนังหนา จึงทำให้ทนทานต่อสภาพแวดล้อม มีหนามเล็กๆ รอบสปอร์ ทำให้สารป้องกันโรคพืช สัมผัสและดูดซึมลงไปได้ยาก เห็ดชนิดต่างๆ ก็ถูกจัดไว้ในกลุ่มนี้
กลุ่มราสาเหตุโรคพืชที่มีจำนวนมากที่สุด ทำให้เกิดอาการได้หลากหลาย ได้แก่ อาการโคนเน่า ใบจุด ใบไหม้ รากลุ่มนี้สร้างส่วนขยายพันธุ์ที่เรียกว่าโคนิเดีย บนโครงสร้างพิเศษ เช่น โครงสร้างรูปถ้วย รูปจาน รูปขวด หรือภายในเส้นใยที่ม้วนตัวเข้ามาหากันคล้ายรังนก มีช่องเปิดให้โคนิเดียภายในปลิวออกไปกับสายลมหรือปะปนไปกับน้ำฝน ซึ่งโครงสร้างเหล่านี้อาจลอยอยู่เหนือส่วนของพืช หรือฝังตัวอยู่ภายในพืชก็ได้ แต่มีราหลายชนิดในกลุ่มนี้ที่สร้างโคนิเดียบนเส้นใยที่โผล่ออกมาจากผิวพืช โคนิเดียของรากลุ่มนี้อาจมีเซลเดียว หรือหลายเซล รูปร่างแตกต่างกันมากมาย อาจมีผนังบาง ผนังหนา สีเข้มหรือไม่มีสี
เส้นใยของรากลุ่มนี้นอกจากจะสร้างโคนิเดียที่ปลิวไปตามลม หรือไปกับน้ำฝนแล้ว เส้นใยที่อาศัยบนดอกสามารถพักตัวอยู่บนเมล็ด และติดไปกับเมล็ดหลังการเก็บเกี่ยว หากนำเมล็ดที่มีราติดไปด้วย จะเป็นการแพร่ระบาดของโรคได้อีกวิธีหนึ่ง
สารป้องกันกำจัดโรคพืชจึงมีการออกแบบมาให้ใช้กับราแต่ละกลุ่ม ที่มีความเฉพาะเจาะจงและได้ผลดีในการป้องกันกำจัด ที่เหมาะสมกับสารประกอบของราเป้าหมาย ได้แก่
สารป้องกันกำจัดราชั้นต่ำ จะมีกลไกการยับยั้งการสร้างกรดนิวคลิอีก ดีเอ็นเอ และอาร์เอนเอ ยับยั้งการส่งถ่ายพลังงาน ยับยั้งการสร้างไขมันและการสร้างผนังเซล เป็นต้น ส่วนสารป้องกันกำจัดราชั้นสูง มีกลไกการยับยั้งการสร้างเอนไซม์ เช่น สเตอรอย เอนไซม์ที่ใช้ในการสร้างผนังเซล การแบ่งเซล ยับยั้งการงอกของสปอร์ หรือการตกตะกอนโปรตีน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ราเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการมายาวนาน จึงมีความสามารถพิเศษในการสร้างความต้านทานสารป้องกันกำจัดโรคพืชได้ การใช้สารป้องกันซ้ำๆ และต่อเนื่องจะทำให้รามีโอกาสดื้อสารเคมี เกษตรกรจึงควรศึกษาเพื่อให้เข้าใจถึงกลไกการทำงานของสารป้องกันโรคพืช เพื่อให้การควบคุมโรคได้ผลและไม่เสียโอกาสการผลิตพืช