โรคราน้ำฝนของลำไย หรือโรคผลเน่าและใบไหม้

โรคนี้พบระบาดในช่วงฤดูฝนโดยเฉพาะในช่วงที่ฝนตกชุก ประมาณต้นเดือนกันยายน – ตุลาคม เชื้อสาเหตุจะสร้าง sporangium ซึ่งผลิต zoospore แพร่ไปกับน้ำฝนทำลายใบอ่อนในช่วงผลิใบอ่อนหลังการเก็บเกี่ยวและเข้าทำลายผลในช่วงติดผล
ลักษณะอาการ
เชื้อสาเหตุเข้าทำลายใบอ่อนใบเพสลาดและกิ่งอ่อนทำให้เกิดอาการเน่าที่ใบและยอดไหม้ ทำให้ปลายยอดอ่อนเป็นแผลไหม้สีน้ำตาลดำในลักษณะตายจากปลายยอดลงมา แผลที่กิ่ง-ก้านอ่อน มีลักษณะสีน้ำตาลดำ ขนาดและรูปร่างไม่แน่นอนยาวไปตามความยาวของกิ่ง-ก้านและพบเส้นใยสีขาวฟูของเชื้อราบนแผลใบอ่อนเมื่อแผลไหม้ลุกลามมากขึ้น ใบจะร่วงลงสู่พื้นดินบริเวณโคนต้นถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการเกิดโรคจะพบอาการใบไหม้และยอดไหม้ระบาดทั่วทั้งต้นและทั่วทั้งสวน
ส่วนอาการโรคที่เกิดกับผลลำไยที่ยังไม่แก่เต็มที่ หรือก่อนการเก็บเกี่ยวประมาณ 1 เดือนช่วงที่มีฝนตกชุกติดต่อกันผลลำไยที่เป็นโรคจะแสดงอาการผลแตกและเน่า โดยเริ่มแรกเปลือกผลจะมีลักษณะเป็นแผลสีน้ำตาลมีขนาดและรูปร่างไม่แน่นอนต่อมาพบเส้นใยสีขาวฟูของเชื้อราบนเปลือกผลที่เป็นโรค จากนั้นผลจะร่วงหล่นลงสูพื้นดินบริเวณโคนต้น เนื่องจากสภาพการเน่าของเปลือกผลลำไยที่เป็นโรคเอง หรือลม– พายุฝน
ในสวนที่เป็นโรครุนแรงพบว่าผลเน่าเสียหายทั้งสวนภายหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วต้นลำไยจะผลิใบอ่อนกิ่งอ่อนถ้าหากฝนยังตกชุกอยู่ จะเกิดอาการใบเน่ากิ่งเป็นแผลเน่าได้อีก และจะพบเชื้อราขึ้นฟูขาวบนยอดอ่อนกิ่งอ่อนและก้านใบทำให้ยอดอ่อนเกิดอาการแห้งติดต้น
โดยปกติเชื้อราอาศัยอยู่ในดินเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมคือฝนตกชุก มีหมอกมีน้ำค้างจัด อุณหภูมิอยู่ในช่วง 8 – 38 องศาเซลเซียส อุณหภูมิที่เหมาะที่สุดคือ 30 องศาเซลเซียส เชื้อราจะเจริญเติบโตและเข้าทำลายพืช สร้างความเสียหายแก่พืช
การป้องกันกำจัด
- ปลูกลำไยให้มีระยะห่างที่พอเหมาะไม่ควรปลูกชิดจนเกินไป
- ตัดแต่งกิ่งภายในทรงพุ่มให้แสงแดดส่องถึงโคนต้น และกำจัดวัชพืชภายใต้ทรงพุ่ม
- บำรุงรักษาต้นลำไยให้เจริญเติบโตแข็งแรง โดยการใส่ปุ๋ย และให้น้ำในช่วงที่อากาศแห้งแล้ง
- พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชสารกำจัดแมลง และอาหารเสริมอย่างสม่ำเสมอ
- หมั่นตรวจแปลงเมื่อพบผลหรือใบลำไยเป็นโรค ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช
- กรณีที่ผลและใบลำไยเป็นโรคแล้วและร่วงหล่นอยู่บนพื้นดินภายใต้ทรงพุ่ม ให้รีบเก็บแล้วนำไปเผาทำลาย ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นานเนื่องจากเชื้อราสามารถมีชีวิตและอาศัยอยู่ในดินข้ามฤดูเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมจะทำให้เกิดการติดเชื้อใหม่ในฤดูถัดไป
- ในพื้นที่ซึ่งเคยมีโรคระบาดประจำเพื่อป้องกันการสูญเสียผลผลิตก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต 1เดือนช่วงฝนตกชุกติดต่อกันให้รีบพ่นสารป้องกันโรคพืชที่มีประสิทธิภาพทันทีและหลังการเก็บเกี่ยวเมื่อลำไยผลิใบอ่อน
โรคราน้ำฝนของลำไย หรือโรคผลเน่าและใบไหม้

โรคนี้พบระบาดในช่วงฤดูฝนโดยเฉพาะในช่วงที่ฝนตกชุก ประมาณต้นเดือนกันยายน – ตุลาคม เชื้อสาเหตุจะสร้าง sporangium ซึ่งผลิต zoospore แพร่ไปกับน้ำฝนทำลายใบอ่อนในช่วงผลิใบอ่อนหลังการเก็บเกี่ยวและเข้าทำลายผลในช่วงติดผล
ลักษณะอาการ
เชื้อสาเหตุเข้าทำลายใบอ่อนใบเพสลาดและกิ่งอ่อนทำให้เกิดอาการเน่าที่ใบและยอดไหม้ ทำให้ปลายยอดอ่อนเป็นแผลไหม้สีน้ำตาลดำในลักษณะตายจากปลายยอดลงมา แผลที่กิ่ง-ก้านอ่อน มีลักษณะสีน้ำตาลดำ ขนาดและรูปร่างไม่แน่นอนยาวไปตามความยาวของกิ่ง-ก้านและพบเส้นใยสีขาวฟูของเชื้อราบนแผลใบอ่อนเมื่อแผลไหม้ลุกลามมากขึ้น ใบจะร่วงลงสู่พื้นดินบริเวณโคนต้นถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการเกิดโรคจะพบอาการใบไหม้และยอดไหม้ระบาดทั่วทั้งต้นและทั่วทั้งสวน
ส่วนอาการโรคที่เกิดกับผลลำไยที่ยังไม่แก่เต็มที่ หรือก่อนการเก็บเกี่ยวประมาณ 1 เดือนช่วงที่มีฝนตกชุกติดต่อกันผลลำไยที่เป็นโรคจะแสดงอาการผลแตกและเน่า โดยเริ่มแรกเปลือกผลจะมีลักษณะเป็นแผลสีน้ำตาลมีขนาดและรูปร่างไม่แน่นอนต่อมาพบเส้นใยสีขาวฟูของเชื้อราบนเปลือกผลที่เป็นโรค จากนั้นผลจะร่วงหล่นลงสูพื้นดินบริเวณโคนต้น เนื่องจากสภาพการเน่าของเปลือกผลลำไยที่เป็นโรคเอง หรือลม– พายุฝน
ในสวนที่เป็นโรครุนแรงพบว่าผลเน่าเสียหายทั้งสวนภายหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วต้นลำไยจะผลิใบอ่อนกิ่งอ่อนถ้าหากฝนยังตกชุกอยู่ จะเกิดอาการใบเน่ากิ่งเป็นแผลเน่าได้อีก และจะพบเชื้อราขึ้นฟูขาวบนยอดอ่อนกิ่งอ่อนและก้านใบทำให้ยอดอ่อนเกิดอาการแห้งติดต้น
โดยปกติเชื้อราอาศัยอยู่ในดินเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมคือฝนตกชุก มีหมอกมีน้ำค้างจัด อุณหภูมิอยู่ในช่วง 8 – 38 องศาเซลเซียส อุณหภูมิที่เหมาะที่สุดคือ 30 องศาเซลเซียส เชื้อราจะเจริญเติบโตและเข้าทำลายพืช สร้างความเสียหายแก่พืช
การป้องกันกำจัด
- ปลูกลำไยให้มีระยะห่างที่พอเหมาะไม่ควรปลูกชิดจนเกินไป
- ตัดแต่งกิ่งภายในทรงพุ่มให้แสงแดดส่องถึงโคนต้น และกำจัดวัชพืชภายใต้ทรงพุ่ม
- บำรุงรักษาต้นลำไยให้เจริญเติบโตแข็งแรง โดยการใส่ปุ๋ย และให้น้ำในช่วงที่อากาศแห้งแล้ง
- พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชสารกำจัดแมลง และอาหารเสริมอย่างสม่ำเสมอ
- หมั่นตรวจแปลงเมื่อพบผลหรือใบลำไยเป็นโรค ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช
- กรณีที่ผลและใบลำไยเป็นโรคแล้วและร่วงหล่นอยู่บนพื้นดินภายใต้ทรงพุ่ม ให้รีบเก็บแล้วนำไปเผาทำลาย ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นานเนื่องจากเชื้อราสามารถมีชีวิตและอาศัยอยู่ในดินข้ามฤดูเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมจะทำให้เกิดการติดเชื้อใหม่ในฤดูถัดไป
- ในพื้นที่ซึ่งเคยมีโรคระบาดประจำเพื่อป้องกันการสูญเสียผลผลิตก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต 1เดือนช่วงฝนตกชุกติดต่อกันให้รีบพ่นสารป้องกันโรคพืชที่มีประสิทธิภาพทันทีและหลังการเก็บเกี่ยวเมื่อลำไยผลิใบอ่อน

เรนแมน: อัตราการใช้ 6 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร