
โรคใบไหม้ของมันฝรั่งมีสาเหตุมาจากเชื้อรากลุ่มราน้ำ ที่ชื่อ ไฟทอฟทอร่า อินเฟสแตน ซึ่งชอบสภาพอากาศเย็นและชื้น พื้นที่การปลูกมันฝรั่งของไทยเราจะเป็นพื้นที่หุบภูเขา มีความสูงจากระดับน้ำทะเล หรือพื้นที่ราบในเขตที่มีอากาศเย็น ในฤดูหนาวจะพบว่ามีน้ำค้างช่วงเช้ามืดและอากาศเย็น อุณหภูมิ 18-25 องศาเซลเชียส ซึ่งเป็นสภาพที่เหมาะสมต่อการระบาดของโรคใบไหม้ของมันฝรั่งเป็นอย่างมาก

เชื้อราสาเหตุของโรค ไฟทอฟทอร่า อินเฟสแตน อยู่ข้ามฤดูในดินปลูก โดยอาศัยอยู่บนซากพืชเป็นโรคที่ตกค้างอยู่ เมื่อทำการปลูกมันฝรั่งฤดูใหม่ ส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราจะงอกเข้าทำลายใบมันฝรั่งใบล่างๆ ก่อน โดยสร้างเส้นใยในเนื้อใบจนพบเห็นเป็นแผลช้ำน้ำสีน้ำตาลเทา ต่อมาประมาณ 5-7 วัน รอยแผลจะปรากฎสปอร์สีเทาคล้ายผงขนาดเล็กจำนวนมาก ฟูขี้นมา สปอร์เหล่านี้จะถูกลม ฝน พัดพาขึ้นไปยังใบที่เกิดใหม่ และถูกลม อะอองไอน้ำ หรือฝน พัดพาไปยังต้นมันฝรั่งในแปลงปลูกทำให้เกิดการระบาดออกไปเป็นวงกว้าง การระบาดรุนแรงมากในพื้นที่หุบเขาที่มีความชื้นสูง ระยะเวลาที่ใช้ในการระบาดตั้งแต่เริ่มพบรอยแผลบนใบล่าง จนถึงการลามไปทั้งต้น จะใช้เวลาประมาณ 3 – 7 สัปดาห์ หากไม่มีการควบคุมโรค หรือการควบคุมโรคไม่ประสบความสำเร็จ แต่ทั้งนี้ยังมีปัจจัยของสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมร่วมอยู่ด้วย
เทคนิคการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช ในการควบคุมโรคนี้ ต้องเริ่มตั้งแต่ เริ่มพบโรคบนต้นกล้า และควรพ่นสารป้องกันโรคต่อเนื่องเพื่อการควบคุมที่มีประสิทธิภาพให้ได้ผลก่อนต้นมันฝรั่งจะเติบโตจนใบและทรงต้นเจริญมาชิดกัน ซึ่งในระยะที่ทรงต้นเบียดชิดกันนี้ภายในทรงพุ่มจะมีความชื้นสูงมาก เหมาะสมต่อการระบาดอย่างยิ่ง การพ่นสารป้องกันโรคควรหันปลายหัวพ่นสารเคมีเข้าไปใต้พุ่ม และควรพ่นให้ทั่วใต้ใบพืช โดยพ่นสารตามอัตราที่ถูกต้องตามคำแนะนำ

เรนแมน อัตราการใช้ 6-7 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
ฟราวไซด์ อัตราการใช้ 12-16 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
เอราแลกซิล 35 อัตราการใช้ 20-40 กรัมต่อน้ำ 20ลิตร
สารป้องกันกำจัดโรคพืชที่แนะนำให้ใช้ได้แก่ Cyazofamid 40% W/V SC เป็นสารป้องกันโรคพืชชนิดดูดซึมซึ่งมีกลไกการทำงานยับยั้งเอนไซม์ที่ควบคุมการส่งถ่ายพลังงานในไมโตรคอนเดีย ของรากลุ่มราน้ำ
สารป้องกันกำจัดโรคพืช Fluazinum 50% W/V SC เป็นสารป้องกันโรคพืชชนิดสัมผัส มีกลไกการทำงานโดยยับยั้งการงอกของสปอร์ และสปอร์ของราน้ำชนิดต่างๆ
สารป้องกันกำจัดโรคพืช Metalaxyl 35 เป็นสารป้องกันโรคพืชชนิดดูดซึม มีกลไกการควบคุม โดยการยับยั้งการสร้างสารพันธุกรรม มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมรากลุ่มราน้ำชนิดต่างๆ