

โรคใบติด หรือ โรคใบไหม้ (Durian leaf blight) พบได้ทั่วไปในแปลงปลูกทุเรียนที่มีความชื้นสูง มักเกิดกับทุเรียนที่มีความสมบูรณ์สูง ทรงพุ่มหนา พบมากกับพันธุ์ชะนีและหมอนทอง มีสาเหตุจากเชื้อรา Rhizoctonia solani Kuehn ซึ่งเป็นเชื้อราที่สามารถพักตัวอยู่ในดินได้เป็นเวลานาน โดยอาศัยเศษซากพืชเป็นแหล่งอาศัย
ลักษณะอาการ : เชื้อราเข้าทำลายพืชได้ดีในระยะที่ทุเรียนแตกใบอ่อนในฤดูฝน มักพบอาการบนใบอ่อนที่คลี่แล้ว โดยเห็นเป็นแผลคล้ายน้ำร้อนลวกบริเวณกลางใบและขอบใบ แผลจะค่อย ๆ ขยายตัวลุกลามและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ขนาดและรูปร่างแผลไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการแพร่ระบาดมากน้อยเพียงใด เชื้อราสามารถลุกลามไปยังใบอื่นๆ ที่ติดกันได้ โดยสร้างใยยึดใบให้ติดกัน และทำให้เกิดอาการใบไหม้ หรือใบที่เป็นโรคลุกลามจนแห้งและหลุดร่วงลงมาไปแตะหรือติดกับใบที่อยู่ข้างล่าง เชื้อราก็จะเข้าทำลายใบเหล่านั้น จนเกิดโรคลุกลามไปหลายๆ จุดในต้น ทำให้เห็นอาการใบไหม้เป็นหย่อมๆ ใบจะทยอยร่วงหล่นลงยังโคนต้นเหลือแต่กิ่ง ซึ่งต่อมาจะค่อยๆ แห้ง ทำให้ต้นทุเรียนเสียรูปทรง และมีการเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์
โคปิน่า 85 ดับบลิวพี
โคปิน่า 85 ดับบลิวพี เป็นสารป้องกันกำจัดโรคพืช มีชื่อสามัญคือ คอปเปอร์ ออกซีคลอไรด์ (copper oxychloride) 85% WP จัดอยู่ ในกลุ่ม M 01 (M: Chemicals with multi-site activity) ในระบบ FRAC (Fungicide Resistance Action Committee ) อยู่ในรูปผง WP (Wettable powder) ออกฤทธิ์แบบสัมผัส (Contact) เมื่อจะใช้ต้องเจือจางด้วยน้ำ จะได้สารละลายในรูปของสารผสมแขวนลอย
จุดเด่นของโคปิน่า 85 ดับบลิวพี
โคปิน่า 85 ดับบลิวพี ผลิตโดย บริษัท ISAGRO ประเทศอิตาลี ซึ่งเป็น 1 ในผู้นำด้านเทคโนโลยีการผลิตสารคอปเปอร์ ที่ทันสมัยที่สุดในโลก พัฒนาโคปิน่า 85 ดับบลิวพี ให้ผงละเอียดมากขึ้นกว่าเดิม โดยมีขนาดอนุภาคเล็กลง 1.5-2.5 micron ทำให้โคปิน่า 85 กระจายตัวได้อย่างทั่วถึงบนใบพืชและส่วนอื่น ๆ ทนฝนดีกว่า ออกฤทธิ์ได้ยาวนาน ประสิทธิภาพสูงขึ้น และพัฒนาให้โคปิน่า 85 ปลอดภัยต่อพืชสูงเป็นพิษต่อพืชต่ำลง ปลอดภัยกว่าสารคอปเปอร์ รุ่นเก่าๆ
โคปิน่า 85 ดับบลิวพี” เป็นสารป้องกันกำจัดโรคพืชในกลุ่มอนินทรีย์ (Inorganic) ชนิดสัมผัส สารป้องกันกำจัดโรคพืชชนิดนี้มีคุณสมบัติในการป้องกันเชื้อราและแบคทีเรียได้หลายชนิด เนื่องจากมีการเข้าทำลายเชื้อโรคพืชได้หลายตำแหน่ง (multi-site activity) สารชนิดนี้จึงเหมาะสมสำหรับการป้องกันเชื้อโรคพืชก่อนที่เชื้อจะเจริญเข้าสู่พืช
การทำงานของ โคปิน่า 85 นี้ เกิดขึ้นจากการแตกตัวเป็นประจุอย่างช้าๆ เมื่อมีการละลายในน้ำ ทำให้ได้ขนาดของประจุเหมาะสมที่จะเกาะอยู่บนผิวพืชได้ดีโดยไม่ถูกน้ำฝนชะล้างออกได้ง่าย และมีพื้นที่การควบคุมเชื้อโรคได้ครอบคลุมเนื้อที่ของต้นพืชอย่างสม่ำเสมอ
การใช้โคปิน่า 85 เพื่อการควบคุมโรคใบติดของทุเรียน
ใช้ โคปิน่า 85 อัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นบนใบทุเรียนที่พบอาการของโรค ซึ่งจะพบว่ามีเส้นใยสีชาวของเชื้อราดึงใบทุเรียนให้ติดกันเป็นคู่ หรือเป็นกลุ่ม มักพบในช่วงหลังฝนตกและมีความชื้นสูง การพ่นเฉพาะจุดที่พบอาการจะช่วยให้ประหยัดและได้ผลดีกว่าการพ่นกระจายทั้งสวน อาจพ่นเพียงครั้งเดียว หรือพ่นซ้ำเมื่อพบว่ายังมีอาการเกิดขึ้นอีก
การใช้โคปิน่า 85 เพื่อการควบคุมโรคแคงเคอร์ของส้ม และมะนาว
ใช้ โคปิน่า 85 อัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นบนใบส้ม หรือใบมะนาวในระยะที่ใบเริ่มเปลี่ยนเป็นจากใบอ่อนเป็นเพสลาด และพ่นห่างจากครั้งแรก 3-5 วัน อีกครั้งหนึ่ง
วิธีการใช้ ตักผง โคปิน่า 85 ใส่ลงในน้ำในภาชนะขนาดเล็ก แล้วคนให้ละลายจนกลายเป็นของเหลวก่อนเทลงในถังพ่นยา ก่อนที่จะใส่สารป้องกันศัตรูพืชชนิดที่เป็นน้ำมัน เพื่อป้องกันการจับตัวเป็นก้อน

กลไกการทำงานและข้อดีของโคปิน่า 85
เป็นสารประกอบทองแดง กลไกการทำงานคือเมื่อโคปิน่า 85 ทำปฏิกิริยากับน้ำเกิดประจุทองแดงที่มีฤทธิ์ในการทำลายเอนไซม์ที่จุลินทรีย์ที่ใช้ในการงอกของสปอร์และเอนไซม์ในโครโมโซมที่ใช้ในระบบการหายใจ ของเชื้อราและแบคทีเรีย โดยโคปิน่า 85 จะทำลายโรคศัตรูพืชชนิดสัมผัส แต่ได้ผลรวดเร็วกว่าสารป้องกันกำจัดโรคพืชชนิดอื่น
โคปิน่า 85 สามารถใช้ควบคุมแบคทีเรีย เช่น โรคแคงเกอร์ได้ดีกว่าสารป้องกันกำจัดโรคพืชชนิดอื่นที่ใช้ได้ดีกับเชื้อราเท่านั้น
โคปิน่า 85 ไม่เป็นอันตรายต่อผึ้ง และสามารถใช้ร่วมกับสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชชนิดอื่นๆ ได้
ข้อควรระวัง
ไม่ควรใช้ร่วมกับสารที่มีส่วนประกอบของกำมะถันและสารในกลุ่มไดธิโอคาร์บาเมท (Dithiocarbamates) (ซีเน็บ มาเนบ แมนโคเซ็บ เป็นต้น)
Cr. ดร.ศรีสุข พูนผลกุล. กรมวิชาการเกษตร
ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์. บริษัท เอราวัณเคมีเกษตร จำกัด
http://www.frac.info/
..“เอราวัณเคมีเกษตร สัญลักษณ์แห่งคุณภาพ”
Line@ ID: http://line.me/ti/p/~erawanagri.com หรือพิมพ์ erawanagri
สนใจติดต่อ 02-5135251
Email: info@erawanagri.com