
โรคผลเน่าของสตรอเบอรี่ที่เกิดจากเชื้อราชั้นสูง ชื่อ โบไทรทิส ซินเนอเรีย ราสาเหตุนี้ทำลายได้ตั้งแต่ระยะออกดอก โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีสภาพอากาศเย็น ชื้น สปอร์ที่ฟุ้งในอากาศตกลงบนดอกจะงอกได้เมื่อพบความชื้นที่ได้จากการให้น้ำบนต้น และแทงเส้นใยเข้ากลีบดอกเกิดการเน่า ราสาเหตุจะพักตัวอยู่บนกลีบดอกนี้ และเข้าสู่ผลในช่วงปลายฤดูการปลูก เมื่อผลสตรอเบอรรี่สุก แป้งในผลจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาล สปอร์เชื้อราจะงอกและทำลายผลเกิดการเน่าของผล อาจพบการเน่าได้ในแปลงปลูก หรือหลังการเก็บเกี่ยว ในขณะขนส่ง

อาการที่ปรากฎบนกลีบดอกจะเป็นจุดสีน้ำตาลเล็กๆ ภายในเวลาเพียงวันเดียวเชื้อราก็สามารถผลิตสปอร์บนรอยแผลนั้นได้ สปอร์ที่ผลิตภายใต้รอยแผลบนกลีบดอกจะปรากฎคล้ายขุยกำมะหยี่สีเทา รอยแผลและขุยกำมะหยี่บนผลสตรอเบอรี่ก็เป็นเช่นเดียวกับบนกลีบดอก หรือคือกลีบเลี้ยงบนขั้วผลนั่นเอง รอยแผลบนผลจะแห้งลงได้เมื่ออากาศแห้ง สปอร์ที่ผลิตขึ้นบนรอยแผลจำนวนหลายล้านสปอร์จะฟุ้งขึ้นไปปะปนในอากาศ รอเวลาที่จะตกลงบนกลีบเลี้ยงและผลสตรอเบอรี่ต่อไป
ผลและส่วนต่างๆ ของสตรอเบอรี่ที่เป็นโรคที่ตกค้างอยู่ในแปลงปลูกเป็นแหล่งของการระบาดของโรคในแปลงในฤดูต่อไป
การป้องกันกำจัดโรคผลเน่าของสตรอเบอรี่ ต้องเริ่มตั้งแต่การเตรียมดินที่กำจัดแหล่งพักตัวของราสาเหตุ โดยการเก็บเศษซากพืชเป็นโรคออกจากแปลงปลูก ตลอดจนผลสตรอเบอรี่ที่ตกค้างในระหว่างเก็บเกี่ยวออกให้หมด การใช้ผ้าพลาสติกคลุมแปลงปลูกช่วยลดการเกิดโรคได้




พ่นทุก 7 วัน 2 ครั้ง แล้วพ่นสลับกลุ่มยา
การใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช ควรเลือกใช้สารป้องกันการงอกของสปอร์ก่อนเกิดการทำลาย เช่น เบนโนมิล เมื่อสภาพอากาศเหมาะสมต่อการระบาด ได้แก่ อากาศเย็น มีหมอกบาง หรือมีฝนพรำๆ ให้วางตารางการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น ไพราโคลสตราบิน โปรคลอราช หรือ อะซอกซีสโตรบิน + ไดฟีโนโคนาโซล เป็นต้น อย่างไรก็ตามมีการพบว่าการใช้ ไพราโคลสตราบิน ติดต่อกันเป็นเวลานานจะเกิดการดื้อสารเคมีของราสาเหตุได้
19 Comments