โรคเขียวเตี้ยของข้าว‼
ไวรัสสาเหตุของโรคอาศัยอยู่ในตัวเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้นานจนกว่าแมลงจะตาย เมื่อไวรัสถูกถ่ายทอดลงไปยังต้นข้าว มันจะใช้เวลาประมาณ 7-14 วัน เพื่อเพิ่มปริมาณและทำให้พืชแสดงอาการของโรคออกมา
อาการของโรคเขียวเตี้ย ที่พบได้คือต้นข้าวจะเตี้ย แคระแกรน ระหว่างเส้นใบมีสีเหลืองอ่อน แตกกอมากกว่าปกติ ใบอ่อนจะแคบเล็กเรียวมากขึ้น ข้าวออกรวงช้า รวงที่ได้จะเล็กและไม่สมบูรณ์
ดังนั้นการควบคุมโรคให้ได้ผลต้องเริ่มตั้งแต่ตรวจดูแมลงเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ซึ่งจะมาเกาะโคนต้นข้าวบริเวณใกล้น้ำ อาศัยดูดน้ำเลี้ยงต้นข้าวอยู่ในแปลงนา การพ่นสารเคมีควบคุมเพลี้ยชนิดนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้เครื่องพ่นสารที่สามารถพ่นละอองสารเคมีขนาดเล็กมากๆ จนมองด้วยตาเปล่าเกือบไม่เห็น ละอองสารที่มีขนาดเล็กมากเช่นนี้ จะมีจำนวนละอองต่อพื้นที่จำนวนมากกว่าละอองขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักเบากว่า จึงตกลงบนพื้นได้ช้ากว่า โอกาสที่ละอองยาจะสัมผัสตัวเพลี้ยกระโดดที่มีความว่องไวจึงมีมากกว่าและทั่วถึง โดยละอองจะเกาะกับผนังตัวเพลี้ยได้ดีกว่าละอองขนาดใหญ่ที่จะไหลตกลงจากตัวเพลี้ยได้ง่าย
ไวรัสสาเหตุโรคเขียวเตี้ยไม่ติดไปกับเมล็ดพันธุ์ข้าว การระบาดเกิดได้เฉพาะการเป็นพาหะของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเท่านั้น และการถ่ายเชื้อก็ใช้เวลาเพียง 5 นาที ต้นข้าวที่ปกติก็เป็นโรคได้แล้ว
โรคเขียวเตี้ยของข้าว‼

การไขน้ำเข้านาให้ท่วมยอดข้าว อาจเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้เพลี้ยกระโดดต้องไต่ขึ้นมาที่ยอดข้าวเพื่อขึ้นมาอยู่เหนือน้ำ ละอองสารเคมีจะเข้าทำลายได้ง่ายขึ้นกว่าการพ่นสารลงไปยังโคนต้น แต่เกษตรกรหรือผู้รับจ้างพ่นสารจะทำงานได้ยากเพราะต้องลุยน้ำที่สูง ดังนั้นวิธีนี้จะเป็นผลดี ในขณะที่ข้าวยังต้นเล็กอายุไม่มากนัก สามารถทนทานต่อระดับน้ำที่สูงได้ 2-3 วัน และแปลงนาอยู่ในเขตชลประทานที่มีน้ำมากพอควร การไขน้ำเข้าและออกทำได้อย่างสะดวกหลังการพ่นสารก็ไขน้ำออกให้เหลือน้ำตามปกติ
สารป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลควรเป็นสารประเภทดูดซึม พ่นก่อนพบการระบาด และมีการเปลี่ยนกลุ่มสารฯ ที่ใช้ทุกรอบการเจริญเติบโตของเพลี้ยกระโดด คือทุกสามอาทิตย์เพื่อป้องกันการดื้อยา และควรใช้ในอัตราที่แนะนำ ไม่ควรต่ำกว่าอัตราที่กำหนดตามฉลากกำกับสารเคมีชนิดนั้นๆ
เอราเฟซิน 25 ดับบลิวพี: อัตราการใช้ 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
เอราขาบ: อัตราการใช้ 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร