
หนอนม้วนใบข้าวหรือหนอนห่อใบข้าว (rice leaffolder) ชื่อวิทยาศาสตร์ Cnaphalocrocis medinalis (Guenee)
เป็นหนอนที่ทำความเสียหายให้ใบข้าวมาก ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ตัวเมียวางไข่ประมาณ 300 ฟอง บนใบข้าว ตัวเต็มวัยจะหลบซ่อนบนต้นข้าวและวัชพืชตระกูลหญ้าในเวลากลางวัน ปัจจุบันพบว่ามีการดื้อยากับสารกำจัดแมลงหลายชนิดที่ใช้กันเป็นประจำต่อเนื่องกันมายาวนาน ผีเสื้อหนอนม้วนใบข้าวจะเข้าแปลงนา ตั้งแต่ข้าวยังเล็กและวางไข่ที่ใบอ่อน เมื่อตัวหนอนฟักออกมาจะแทะผิวใบข้าวส่วนที่เป็นสีเขียว ทำให้เห็นเป็นแถบยาวสีขาว มีผลให้การสังเคราะห์แสงลดลง หนอนจะใช้ใยเหนียวที่สกัดจากปาก ดึงขอบใบข้าวทั้งสองด้านเข้าหากันเพี่อห่อหุ้มตัวหนอนไว้กัดกินภายใน หนอนจะทำลายใบข้าว ทุกระยะการเจริญเติบโตของข้าวถ้าหนอนมีปริมาณมากจะใช้ใบข้าวหลายๆ ใบมาห่อหุ้มและกัดกินอยู่ภายใน ในระยะข้าวออกรวงหนอนจะทำลายใบธงซึ่งมีผลต่อผลผลิตเพราะทำให้ข้าวมีเมล็ดลีบ น้ำหนักลดลง หนอนห่อใบสามารถเพิ่มปริมาณได้ 2-3 อายุขัยต่อฤดูปลูก พบระบาดในนาเขตชลประทาน โดยเฉพาะแปลงข้าวที่ใส่ปุ๋ยอัตราสูง
การป้องกันกำจัด

1) ปลูกข้าวสลับพันธุ์กันตั้งแต่ 2 พันธุ์ขึ้นไป จะช่วยลดความรุนแรงของการระบาด
2) กำจัดพืชอาศัย เช่น หญ้าข้าวนก หญ้านกสีชมพู และข้าวป่า
3) เมื่อเริ่มมีการระบาดของหนอนม้วนใบในแปลงข้าว ไม่ควรใช้ปุ๋ยไนโตรเจนเกิน 5 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยยูเรียไม่เกิน 10 กิโลกรัมต่อไร่
4) เมื่อพบผีเสื้อหนอนม้วนใบข้าว 4-5 ตัวต่อตารางเมตร พบใบข้าวถูกทำลายมากกว่า 15 % หรือ พบใบธงถูกทำลายมากกว่า 5 % หลังจากระยะข้าวแตกกอ ใช้สารกำจัดแมลง เอราด๊อกซาคาร์บ (indoxacarb 15% SC) อัตรา 20-40 ซีซี ต่อ น้ำ 20 ลิตร พ่นจำนวน 2-3 ครั้ง ทุกๆ 7 วัน แล้วสลับกลุ่มยา
เอราด๊อกซาคาร์บ (indoxacarb 15% SC) เป็นสารในกลุ่ม 22A oxadiazine ออกฤทธิ์แบบสัมผัสตาย กินตาย ซึมผ่านใบข้าวได้ดี มีค่า PHI ที่ 7 วัน ควรมีการใช้สารสลับกลุ่มสารเคมีกลุ่มอื่นบ้าง เช่น สารกลุ่ม 15 เอรามิลิน (lufenuron 5% EC) อัตรา 20 ซีซี ต่อ น้ำ 20 ลิตร หรือ สารกลุ่ม 2B เอราทริป 5 เอสซี (fipronil 5% SC) อัตรา 20-40 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อชะลอการดื้อยาของหนอนม้วนใบข้าว
74 Comments