
การใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชในช่วงเวลาเตรียมต้น ก่อนการออกดอกทุเรียน
หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียน เกษตรกรทำการตัดแต่งกิ่ง ตัดกิ่งผุ กิ่งเป็นโรค กิ่งที่หักเสียหาย นำกิ่งทุเรียน ซากต้นเก่า ใบเป็นโรคที่ร่วงหล่นไปเผาทำลายศัตรูทุเรียน เช่นเชื้อโรคบนใบ และกิ่ง ตลอดจนแมลงและไรที่คิดค้างอยู่ เพื่อลดปริมาณแหล่งระบาดของศัตรูเหล่านั้น
จากนั้นใส่ปุ๋ยอินทรีย์ผสมปุ๋ยเคมี อัตรา ปุ๋ยอินทรีย์ 5 กิโลกรัม กับปุ๋ยเคมี 300-500 กรัม ขึ้นกับขนาดต้น โดยใส่รอบโคนต้น รดน้ำตามเพื่อให้พืชใช้ปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อต้นทุเรียนฟื้นตัวหลังการให้ผลผลิต จะเริ่มแตกยอดใหม่ ระยะนี้ใบอ่อนของทุเรียนจะพบกับปัญหาโรคราใบติด โรคจุดสาหร่าย และอาจมีอาการของโรคแอนแทรคโนสปรากฎให้เห็นได้ หากมีฝนตก และหากเป็นการปลูกทุเรียนในท้องที่อากาศค่อนข้างเย็นและมีน้ำค้างช่วงเช้าก็จะพบปัญหาโรคราแป้งได้ด้วย

สารป้องกันกำจัดโรคพืชที่แนะนำให้ใช้กับทุเรียนระยะแตกใบอ่อนเพื่อการควบคุมโรคดังกล่าวคือ สารป้องกันกำจัดโรคพืช คลอโรทาโลนิล+อะซอกซีสโตรบิน (โรบินนิล) สังเกตว่าทุเรียนแตกใบอ่อนได้มากว่า 70% ของ ต้นในสวน หลังจากนั้นพ่นซ้ำอีกครั้งหนึ่งหลังการพ่นครั้งแรก 10 วัน
สารป้องกันกำจัดโรคพืช คลอโรทาโลนิล+อะซอกซีสโตรบิน (โรบินนิล) เป็นสารป้องกันกำจัดโรคพืชชนิดดูดซึม มีกลไกการออกฤทธิ์ แบบ สารยับยั้งระบบหายใจ (กลุ่ม 11) และ สารที่ทำลายหลายตำแหน่ง (M5) จึงสามารถป้องกันการดื้อของเชื้อสาเหตุต่อสารป้องกันโรคพืชได้ดี
การพ่นสารป้องกันโรคบนใบทุเรียนที่ให้ผลการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดที่สุด ควรปฏิบัติเมื่อทุเรียนมีใบอ่อนถึงใบเพสลาด และพ่นห่างกันตามระยะการแตกยอดและใบใหม่ทุกครั้ง
ใช้อัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
พ่นเมื่อเริ่มพบการระบาด พ่นให้ทั่วทั้งต้น ทุกๆ 10 วัน จนกว่าอาการระบาดของโรคเริ่มทุเลาลง