การจัดการสวนทุเรียนเมื่อพบปัญหาโรครากเน่าโคนเน่า ‼
การจัดการโรคในสวนแบบระยะสั้น ที่พบเชื้อสาเหตุว่าอาศัยอยู่บริเวณรากและโคนต้นของทุเรียน โดยวิธีใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช อาจใช้สารป้องกันกำจัดที่ออกฤทธิ์ภายในต้นทุเรียน ด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชราดบริเวณโคนต้นเพื่อกำจัดเชื้อสาเหตุที่อยู่ในดิน หรือพ่นบนแผลที่ปรากฏบนลำต้นที่พบว่ามีน้ำเหลวๆ สีน้ำตาลไหลออกมา ชาวสวนอาจถากแผลออกจนถึงเนื้อไม้ที่ไม่แสดงอาการสีน้ำตาลก่อนการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชเข้มข้นพ่น หรือทาบนแผล ซึ่งหากพบอาการน้ำยางสีน้ำตาลแดงซึมออกมาจากรอยแผลแล้วอาจต้องใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชบ่อยครั้งขึ้น หรือมีความเข้มข้นมากขึ้น ขึ้นอยู่กับชนิดของสารป้องกันกำจัดโรคพืชที่ใช้ วิธีการสังเกตว่าควรใช้บ่อยครั้งแค่ไหนโดยดูว่าหลังพ่นไป แล้วไม่มีน้ำยางซึมออกมาจากแผลบนลำต้นและกิ่ง และแผลแห้งสนิท
การบำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์มากๆ จะช่วยให้ต้นทุเรียนมีความสมบูรณ์ทางกิ่งและใบ และทำให้เกิดโรคได้มากขึ้นด้วย สวนที่ขาดการบำรุงจะพบ โรครากเน่าโคนเน่า น้อยกว่าแต่จะได้ผลผลิตที่ขาดคุณภาพด้วยเช่นกัน

การจัดทำทางระบายน้ำให้สามารถระบายน้ำออกจากสวนได้เร็วที่สุดจนไม่มีบริเวณน้ำขัง จะสังเกตได้ว่าต้นทุเรียนที่ปลูกในพื้นที่ลุ่มกว่าจะเป็นโรคได้รวดเร็วและรุนแรงกว่าต้นที่ปลูกบนที่ดอน การระมัดระวังในการเข้าไปปฏิบัติงานใต้ต้นและบริเวณทรงพุ่มทุเรียนในขณะที่ดินมีความเปียกชื้น เพราะจะเป็นการทำลายปลายรากอ่อนระดับดินให้เกิดแผลและเป็นช่องทางที่ราโรคพืชจะเข้าไปทำลายได้ง่าย
การจัดการสวนทุเรียนเมื่อพบปัญหาโรครากเน่าโคนเน่า ‼
การจัดการโรคในสวนแบบระยะสั้น ที่พบเชื้อสาเหตุว่าอาศัยอยู่บริเวณรากและโคนต้นของทุเรียน โดยวิธีใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช อาจใช้สารป้องกันกำจัดที่ออกฤทธิ์ภายในต้นทุเรียน ด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชราดบริเวณโคนต้นเพื่อกำจัดเชื้อสาเหตุที่อยู่ในดิน หรือพ่นบนแผลที่ปรากฏบนลำต้นที่พบว่ามีน้ำเหลวๆ สีน้ำตาลไหลออกมา ชาวสวนอาจถากแผลออกจนถึงเนื้อไม้ที่ไม่แสดงอาการสีน้ำตาลก่อนการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชเข้มข้นพ่น หรือทาบนแผล ซึ่งหากพบอาการน้ำยางสีน้ำตาลแดงซึมออกมาจากรอยแผลแล้วอาจต้องใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชบ่อยครั้งขึ้น หรือมีความเข้มข้นมากขึ้น ขึ้นอยู่กับชนิดของสารป้องกันกำจัดโรคพืชที่ใช้ วิธีการสังเกตว่าควรใช้บ่อยครั้งแค่ไหนโดยดูว่าหลังพ่นไป แล้วไม่มีน้ำยางซึมออกมาจากแผลบนลำต้นและกิ่ง และแผลแห้งสนิท
การบำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์มากๆ จะช่วยให้ต้นทุเรียนมีความสมบูรณ์ทางกิ่งและใบ และทำให้เกิดโรคได้มากขึ้นด้วย สวนที่ขาดการบำรุงจะพบ โรครากเน่าโคนเน่า น้อยกว่าแต่จะได้ผลผลิตที่ขาดคุณภาพด้วยเช่นกัน

การจัดทำทางระบายน้ำให้สามารถระบายน้ำออกจากสวนได้เร็วที่สุดจนไม่มีบริเวณน้ำขัง จะสังเกตได้ว่าต้นทุเรียนที่ปลูกในพื้นที่ลุ่มกว่าจะเป็นโรคได้รวดเร็วและรุนแรงกว่าต้นที่ปลูกบนที่ดอน การระมัดระวังในการเข้าไปปฏิบัติงานใต้ต้นและบริเวณทรงพุ่มทุเรียนในขณะที่ดินมีความเปียกชื้น เพราะจะเป็นการทำลายปลายรากอ่อนระดับดินให้เกิดแผลและเป็นช่องทางที่ราโรคพืชจะเข้าไปทำลายได้ง่าย
