อาการบนกิ่ง จะพบแผลเป็นปื้นสีสนิมรอบกิ
่ง เริ่มตั้งแต่กิ่งอ่อนและแผล
จะหนาขึ้นรอบกิ่งที่แก่มากข
ึ้น บริเวณกลางแผลจะพบสะเก็ดของ
แบคทีเรียนูนขึ้นและสากมือเ
มื่อลูบเช่นกัน แผลเก่าบนกิ่งจะทำให้กิ่งแห
้งและตาย ยอดที่แตกออกมาจากกิ่งเป็นโ
รคที่ยังไม่ตายจะสั้น มีจำนวนใบน้อย ใบเล็กลง กิ่งที่เป็นโรคจะยังคงค้างอ
ยู่บนต้น และเป็นแหล่งแพร่เชื้อสาเหต
ุให้กับยอดอ่อนและผลได้
อาการบนผล จะเหมือนกันกับอาการบนใบ แต่อาจไม่พบวงสีเหลืองล้อมรอบ แผลที่นูนจะตกสะเก็ดและเมื่อผลขยายใหญ่จะแตกบริเวณกลางแผล เมื่อแผลแตกและมีน้ำไหลออกมาทำให้ราและยีสต์บางชนิดเจริญขึ้นบนแผล ผลส้มเน่าและอาจร่วงได้
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการระบาดของแบคทีเรียคืออากาศอบอ้าว มีฝนตกบางเวลา ? ถ้ามี #หนอนชอนใบส้ม ระบาดด้วยจะพบโรคแคงเกอร์รุนแรงมากขึ้น ? วิธีการระบาดของโรค โดยติดมากับกิ่งพันธุ์ ระบาดมากับน้ำฝน เมื่อน้ำฝนไหลผ่านกิ่งที่เป็นโรคและหยดลงมาบนผล จะทำให้ผลเป็นโรค หนอนชอนใบส้ม ช่วยทำให้ใบเกิดแผล เป็นช่องทางที่ทำให้เป็นโรคได้รุนแรงขึ้น
การป้องกันกำจัด
- เลือกกิ่งพันธุ์ที่ปลอดโรคนี้และโรคอื่นๆ
- สารป้องกันกำจัดโรคนี้เป็นสารกลุ่มทองแดงโดยพ่นในระยะใบเพสลาดอย่างสม่ำเสมอ
- กำจัดแมลงจำพวกเพลี้ยไฟและหนอนชอนใบส้ม
- ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคออก ทำให้ทรงต้นโปร่งและไม่อับชื้น
- การจัดการสวนส้มให้ปลอดโรคอย่างถูกวิธีจะช่วยป้องกันส้มจากการเกิดโรคต่างๆ ได้
#โรคสแคปของส้ม เกิดจากราชื่อ สฟาซิโลม่า ราชนิดนี้ชอบอากาศเย็น ☃ จึงพบโรคกับส้มที่ปลูกในพื้นที่สูงที่มีอากาศเย็นติดต่อกันค่อนข้างนาน ?อาการที่เกิดบนใบจะคล้ายกับโรคแคงเกอร์คือจุดแผลมีลักษณะนูน พบบนใบอ่อนส้มที่เพิ่งแตกใหม่ แต่มีความแตกต่างที่รอยแผลจากราสาเหตุจะไม่มีวงสีเหลืองล้อมรอบ ตุ่มนูนจะเกิดด้านหลังใบ ส่วนหน้าใบรอยแผลจะบุ๋มลงไป ใบบิดเบี้ยว อาการบนผลก็คล้ายกับโรคแคงเกอร์แต่ไม่มีวงสีเหลืองล้อมรอบเหมือนกับโรคแคงเกอร์ที่อาจพบว่ามีวงสีเหลืองหรือไม่ก็ได้
โรคสแคปของส้มจะพบในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาวที่มีความชื้นสูง วิธีการป้องกันกำจัดโดยการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชได้แก่ คาร์เบนดาซิม แมนโคเซบ กลุ่มไทอะโซลและสโตรบิวลูริน พ่นในระยะส้มแตกใบอ่อนและผสมกับสารประกอบทองแดงพ่นในระยะใบเพสลาด