หยุดปัญหาโรคติดใบในทุกเรียน

หยุดปัญหา…โรคใบติดในทุเรียน  ช่วงนี้เกษตรกรชาวสวนทุเรียนเริ่มพบปัญหา #โรคใบติดในทุเรียน ทำให้ต้นทุเรียนทรุดโทรมและเสียทรงได้ โรคใบติด สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia sp. ส่วนมากจะพบในพื้นที่ที่มีความชื้นสูงและต้นทุเรียนที่มีทรงพุ่มแน่นทึบ ระยะที่พบระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน เกษตรกรจึงควรหมั่นตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเพราะสามารถพบได้ในระยะแตกใบอ่อน โดยอาการเริ่มแรกจะมีแผลคล้ายถูกน้ำร้อนลวกและจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อใบเริ่มแก่ขึ้น เชื้อราจะสร้างเส้นใยคล้ายใยแมงมุมให้ใบติดกัน ใบที่หลุดร่วงจะไปสัมผัสกับใบอื่นๆ ทำให้โรคลุกลามได้ การป้องกันกำจัด ควรตัดแต่งกิ่งทุเรียนให้โปร่ง รับแสงแดดได้ทั่วถึง หากพบส่วนที่เป็นโรคให้ตัดและนำไปทำลายนอกแปลง และพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช ฟราวไซด์ อัตรา 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ โคปิน่า 85 ดับบลิวพี อัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไอโรเน่ ดับบลิวจี อัตรา 10-20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เอราโปรมูเร่ อัตรา 15 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร การผสมสารป้องกันศัตรูพืช…

หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด

ปัญหาใหญ่ของชาวสวนข้าวโพดคือการเข้าทำลายของ หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด ตัวหนอนจะทำลายข้าวโพดตั้งแต่ข้าวโพดงอก จนกระทั่งออกฝัก โดยพบกลุ่มไข่ทั้งด้านบนใบ ใต้ใบ และที่ลำต้นหลังจากฟักจากไข่จะกัดกินยอดและใบข้าวโพดแหว่งหรือกัดกินทั้งใบ 10-11 วันหลังปลูก ตัวหนอนหลบซ่อนแสงอยู่ที่ยอดหรือโคนกาบใบ หากหนอนทำลายในระยะต้นอ่อนจะทำให้ต้นข้าวโพดตาย หากหนอนทำลายในระยะต้นแก่ข้าวโพดจะไม่เจริญเติบโต หากหนอนทำลายฝัก ฝึกจะลีบเล็กไม่สมบูรณ์ ——————- กำจัดหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด ด้วย อีมาไซด์ https://bit.ly/3y2nLeS   สารอีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% EC  หรือ อีมาไซด์ 5% ดับบลิวจี https://bit.ly/2WdlccE สารอีมาเมกตินเบนโซเอต 5% WG ออกฤทธิ์แบบถูกตัวตายและกินตาย ไม่ออกฤทธิ์แบบดูดซึม แต่สามารถซึมผ่านบริเวณผิวเข้าไปในตัวแมลงศัตรูพืชได้ ทำให้หนอนหยุดกินอาหารภายใน 1 ชั่วโมง และเข้าทำลายอยู่ภายในระบบทางเดินอาหาร ทำให้ตายได้ภายใน 2-4 วัน ——————- อัตราใช้ อีมาไซด์  20-30 ซีซี , อีมาไซด์ 5% ดับบลิวจี 10-20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เมื่อพบการระบาด…

เพลี้ยไฟระบาด แมลงอันตราย! ในช่วงทุเรียนแตกใบอ่อน

เพลี้ยไฟ (Thrips) ชื่อวิทยาศาสตร์  (Scirtothrips doralis) การเข้าทำลายในทุเรียน จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากดอก ใบอ่อน และผลอ่อน  ทำให้ ดอกแห้ง ร่วง ใบหงิก บิดเบี้ยว ใบแห้ง ร่วงหล่น  ผลอ่อนมีอาการหนามจีบ หนามติด เพลี้ยไฟ เป็นแมลงที่มีประวัติการดื้อยาง่าย เพราะฉะนั้นการพ่นจะต้องมีการหมุนเวียนการใช้สาร อย่าใช้สารตัวใดตัวหนึ่งพ่นติดต่อกันหลายครั้ง เพื่อชะลอการต้านทาน การใช้สารป้องกันกำจัดแมลงที่มีประสิทธิภาพ ในช่วงจังหวะเวลาที่ถูกต้องเหมาะสม การสลับกลุ่มสารเคมี และการใช้สารผสมกันตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไป คือหลักสำคัญในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชในสวนทุเรียน ควรพ่นป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟด้วย เอราคอน 70 อัตรา 5 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เอราท็อกซ์ อัตรา 5 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร  จำนวน 3-4 ครั้ง ทุก 5-7 วัน แล้วสลับกลุ่มสารเป็น  เอราทริป 5 เอสซี…

โรคราสีชมพูของลองกอง

โรคราสีชมพูของลองกอง โรคนี้เกิดจากเชื้อราชั้นสูงที่ชื่อ คอร์ติเซียม ซาลโมนิคัลเลอร์ เข้าทำลายบริเวณกิ่งหรือลำต้น ทำให้เกิดลักษณะอาการกิ่งแห้ง ใบแห้งและร่วงหล่น บริเวณกิ่งที่ถูกเชื้อราเข้าทำลายเริ่มแรกจะเห็นเส้นใยของเชื้อราสีขาวขึ้นปกคลุมบาง ๆ บริเวณโคนกิ่ง และจะค่อย ๆ เจริญปกคลุมกิ่ง เส้นใยนี้จะหนาขึ้นและค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีชมพู ในระยะนี้จะเห็นใบที่อยู่ส่วนบนของกิ่งที่ถูกเชื้อราเข้าทำลายเริ่มเหลือง เมื่อเฉือนเปลือกบริเวณที่มีเชื้อราปกคลุมจะเห็นเนื้อเปลือกถูกทำลายเป็นสีน้ำตาล ซึ่งกิ่งที่ถูกเชื้อราเข้าทำลายนี้ต่อมาจะแห้งตายทั้งกิ่ง การระบาดของโรคราสีชมพู มักจะพบระบาดมากในช่วงฤดูฝน และมักพบเกิดกับต้นลองกองที่มีทรงพุ่มทึบอยู่ในที่มีร่มเงามากเกินไป เชื้อราสาเหตุโรคอาจทำให้เกิดโรคกับพืชอื่นได้หลายชนิด เช่น ยางพารา ส้มจุก ส้มเขียวหวาน และทุเรียน ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาพความชื้นสูง การป้องกันกำจัด ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง และกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อลดความชื้นสะสม ในช่วงฤดูฝนหมั่นตรวจสวนอย่างสม่ำเสมอ หากพบอาการของโรคที่กิ่งแม้เพียงเล็กน้อย ให้ตัดไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก หรือเฉือนเปลือกบริเวณเป็นโรคออก แล้วทาด้วยสารคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 45-60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 62% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร…

โรคใบจุดมะเขือเทศที่เกิดจากแบคทีเรีย

โรคใบจุดมะเขือเทศที่เกิดจากแบคทีเรีย โรคใบจุดที่เกิดจากแบคทีเรีย แตกต่างจากใบจุดที่เกิดจากรา สังเกตได้ง่ายๆ โดยจะพบจุดเล็กๆ บนใบอ่อน ลักษณะช้ำน้ำ ต่อมาแผลจะแห้งและยุบตัวลง แผลลักษณะกลม มีขนาดใกล้เคียงกัน กระจายทั่วทั้งแผ่นใบ เนื้อใบตรงกลางแผลจะโปร่งแสง หรือใบบางหรือทะลุเป็นรู ขอบแผลหนาสีน้ำตาลเข้ม รอยแผลที่พบบนกิ่ง ก้าน ของมะเขือเทศเป็นจุดสีดำเล็กๆ จุดแผลบนผลสีน้ำตาลเข้มบุ๋มลึกลงตรงกลางแผล ผลมะเขือเทศจะมีสีซีดหรือไม่เข้าสี ผลบิดเบี้ยว ขนาดเล็กลง และหลุดร่วงง่ายหากพบว่ามีการทำลายของแบคทีเรียที่ขั้วผล แบคทีเรียสาเหตุมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า แซนโทโมแนส เวสิคาทอเรีย ชอบอากาศร้อนชื้น อาศัยติดมากับเมล็ดพันธุ์ปลูก และอยู่ในเศษซากพืชที่ตกค้างในดิน เมื่อปลูกมะเขือเทศในฤดูต่อไป แบคทีเรียในดินจะถูกน้ำฝน หรือน้ำที่ใช้รดชะล้างให้กระเด็นขึ้นมายังใบล่างๆ แล้วลุกลามขึ้นไปยังใบบนๆ การป้องกันกำจัดโรค การเตรียมแปลงด้วยการไถดินตากแดดแรงๆ ประมาณ 2-3 วัน แปลงที่เคยพบว่ามีการระบาดมากสามารถ ลดปริมาณแบคทีเรียในดินได้ด้วยการใส่ปูนขาว ผสมยูเรียในอัตรา 10:.1 เมื่อคลุกเคล้าปูนขาวเข้ากับยูเรีย ดีแล้ว ให้โรยบนแปลงปลูกที่เตรียมไว้ จากนั้นให้น้ำพอเปียกบนแปลงปลูกนาน 7 วัน โดยต้องให้แปลงมี ความชื้นตลอดเวลาแต่แปลงต้องไม่เปียกจนเกินไปหลังจากนั้นจึงย้ายกล้าลงปลูกได้ การใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชในกลุ่มสารประกอบทองแดง การแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุ่น ที่อุณภูมิ 52-55 องศาเซลเชียส นาน…

โรคราแป้งของกุหลาบ

โรคราแป้งของกุหลาบ โรคราแป้งของกุหลาบ เป็นอีกโรคหนึ่งที่ชาวสวนพบเห็นประจำและเป็นอุปสรรคสำคัญของการผลิตดอกกุหลาบคุณภาพ   โรคนี้เกิดจากราชั้นสูง  ที่มีชื่อว่า ออยเดียม สามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนของต้นกุหลาบตั้งแต่ใบอ่อน ก้านดอก ก้านใบ กลีบดอก กิ่งอ่อน ตลอดจนเกสรของดอกกุหลาบ   อาการเริ่มแรก เราจะเห็นส่วนอ่อนๆ ของกุลาบ เช่นบนใบอ่อน หรือกลีบดอก เป็นจุดสีแดง ไม่มีขอบ ต่อมาจะพบกลุ่มเส้นใยบางๆ สีขาวและสปอร์ละเอียดคล้ายผงแป้งบนบริเวณนั้นภายในเวลาเพียง 5 วัน ซึ่งนับว่าเร็วมาก เมื่อเปรียบเทียบกับพัฒนาการของโรคบนพืชอื่น ผงแป้งหรือราแป้งนี้จะกระจายเป็นหย่อมๆ ทั่วไปบนใบอ่อน กิ่งอ่อน กลีบดอก ดอกตูม ทำให้เกิดอาการบิดเบี้ยว เสียรูปร่าง ดอกเปลี่ยนสี ดอกไม่บาน กลีบเป็นสีน้ำตาลแดง ใบเหลือง แห้งกรอบ และร่วง   ราออยเดียม ชอบอากาศเย็น โดยอุณหภูมิช่วงกลางคืนที่ 15.5 องศาเซลเชียส และ 26.7 องศาเซลเชียส ในเวลากลางวัน ที่มีความชื้นสูง ประมาณ 90-99 เปอร์เซ็นต์ เช่นวันที่หมอกลงจัด…

โรคใบไหม้ของมันฝรั่ง ‼

โรคใบไหม้ของมันฝรั่ง ‼ ชาวไร่ข้าวโพดเก็บเกี่ยวผลผลิตกันบ้างแล้ว บางแห่งเตรียมพื้นที่เพื่อปลูกมันฝรั่งปลายปี ช่วงอากาศเย็น ปัญหาหนึ่งของการปลูกมันฝรั่งในพื้นที่สูงคือ โรคใบไหม้ สาเหตุของโรคใบไหม้ เกิดจากราชั้นต่ำ  ชื่อ ไฟทอฟทอร่าอินเฟสแตน ที่สามารถเป็นโรคกับมะเขือเทศได้ด้วย รานี้ชอบอากาศเย็น อุณหภูมิระหว่าง 15-25 องศาเซลเชียส และความชื้นสูง สปอแรงเจียมซึ่งเป็นส่วนขยายพันธุ์แบบไม่มีเพศ จะผลิตซูโอสปอร์ที่มีหาง ว่ายน้ำได้ ระบาดไปกับละอองหมอก หรือน้ำฝนที่ตกพรำๆ เพื่อไปยังต้นมันฝรั่งที่ยังไม่เป็นโรค รานี้อาศัยในดินได้เป็นเวลานาน และงอกเข้าทำลายพืชตั้งแต่ต้นเล็ก แต่เกษตรกรจะมองไม่คอยเห็น จนกว่าต้นจะโตจนใบชิดกัน ซึ่งก็สายเกินกว่าจะกำจัดโรคได้ ลักษณะอาการ เมื่อซูโอสปอร์งอกเข้าไปยังปลายใบบริเวณปลายท่อของเหลวของพืชใบจะแสดงอาการจุดช้ำน้ำเล็กๆ ต่อมาจุดขยายไปตามเนื้อใบเป็นแผลไม่มีขอบ สีน้ำตาล คล้ายอาการใบตายนึ่ง เมื่อความชื้นสูงและมีความเย็นไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง เส้นใยของราจะสร้างสปอแรงเจียม ฟูขึ้นมาบริเวณแผลด้านใต้ใบ และพร้อมจะระบาดไปในแปลงปลูก ตั้งแต่เริ่มอาการจนถึงระยะสร้างสปอร์ ใช้เวลาประมาณ หนึ่งสัปดาห์ สภาพแวดล้อมที่พบว่าเหมาะสมต่อการระบาดรวดเร็วและมากกว่า ได้แก่พื้นที่ในหุบเขา ที่มีหมอกหนาปกคลุมเป็นเวลานาน ภายใน 7 วัน ต้นมันฝรั่งจะยุบและตายจนหมดแปลง หากไม่มีการป้องกันไว้ก่อน หากเป็นพื้นที่สูง แสงแดดส่องถึง ดินลักษณะร่วนปนทราย ซึ่งแห้งเร็วกว่า การระบาดอาจเกิดช้าลงเป็นประมาณ 10 วัน ดังนั้นเกษตรกรจึงควรควบคุมโรคให้ได้ก่อนการระบาด โดยเริ่มพ่นสารป้องกันกำจัดราไฟทอทอร่าตั้งแต่ก่อนอายุพืช…

โรคราน้ำฝนของลำไย หรือโรคผลเน่าและใบไหม้

โรคราน้ำฝนของลำไย หรือโรคผลเน่าและใบไหม้ เชื้อสาเหตุ: เชื้อราPhytophthora capsici Leonian โรคนี้พบระบาดในช่วงฤดูฝนโดยเฉพาะในช่วงที่ฝนตกชุก ประมาณต้นเดือนกันยายน – ตุลาคม เชื้อสาเหตุจะสร้าง sporangium ซึ่งผลิต zoospore แพร่ไปกับน้ำฝนทำลายใบอ่อนในช่วงผลิใบอ่อนหลังการเก็บเกี่ยวและเข้าทำลายผลในช่วงติดผล ลักษณะอาการ เชื้อสาเหตุเข้าทำลายใบอ่อนใบเพสลาดและกิ่งอ่อนทำให้เกิดอาการเน่าที่ใบและยอดไหม้ ทำให้ปลายยอดอ่อนเป็นแผลไหม้สีน้ำตาลดำในลักษณะตายจากปลายยอดลงมา แผลที่กิ่ง-ก้านอ่อน มีลักษณะสีน้ำตาลดำ ขนาดและรูปร่างไม่แน่นอนยาวไปตามความยาวของกิ่ง-ก้านและพบเส้นใยสีขาวฟูของเชื้อราบนแผลใบอ่อนเมื่อแผลไหม้ลุกลามมากขึ้น ใบจะร่วงลงสู่พื้นดินบริเวณโคนต้นถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการเกิดโรคจะพบอาการใบไหม้และยอดไหม้ระบาดทั่วทั้งต้นและทั่วทั้งสวน ส่วนอาการโรคที่เกิดกับผลลำไยที่ยังไม่แก่เต็มที่ หรือก่อนการเก็บเกี่ยวประมาณ 1 เดือนช่วงที่มีฝนตกชุกติดต่อกันผลลำไยที่เป็นโรคจะแสดงอาการผลแตกและเน่า โดยเริ่มแรกเปลือกผลจะมีลักษณะเป็นแผลสีน้ำตาลมีขนาดและรูปร่างไม่แน่นอนต่อมาพบเส้นใยสีขาวฟูของเชื้อราบนเปลือกผลที่เป็นโรค จากนั้นผลจะร่วงหล่นลงสูพื้นดินบริเวณโคนต้น เนื่องจากสภาพการเน่าของเปลือกผลลำไยที่เป็นโรคเอง หรือลม– พายุฝน ในสวนที่เป็นโรครุนแรงพบว่าผลเน่าเสียหายทั้งสวนภายหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วต้นลำไยจะผลิใบอ่อนกิ่งอ่อนถ้าหากฝนยังตกชุกอยู่ จะเกิดอาการใบเน่ากิ่งเป็นแผลเน่าได้อีก และจะพบเชื้อราขึ้นฟูขาวบนยอดอ่อนกิ่งอ่อนและก้านใบทำให้ยอดอ่อนเกิดอาการแห้งติดต้น โดยปกติเชื้อราอาศัยอยู่ในดินเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมคือฝนตกชุก มีหมอกมีน้ำค้างจัด อุณหภูมิอยู่ในช่วง 8 – 38 องศาเซลเซียส อุณหภูมิที่เหมาะที่สุดคือ 30 องศาเซลเซียส เชื้อราจะเจริญเติบโตและเข้าทำลายพืช สร้างความเสียหายแก่พืช การป้องกันกำจัด ปลูกลำไยให้มีระยะห่างที่พอเหมาะไม่ควรปลูกชิดจนเกินไป ตัดแต่งกิ่งภายในทรงพุ่มให้แสงแดดส่องถึงโคนต้น และกำจัดวัชพืชภายใต้ทรงพุ่ม บำรุงรักษาต้นลำไยให้เจริญเติบโตแข็งแรง โดยการใส่ปุ๋ย และให้น้ำในช่วงที่อากาศแห้งแล้ง พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชสารกำจัดแมลง และอาหารเสริมอย่างสม่ำเสมอ…

ราชั้นต่ำ…..ราชั้นสูง ‼

ราชั้นต่ำ…..ราชั้นสูง ‼เกษตรกรและผู้อ่านหลายๆ ท่านอาจจะสงสัยว่า เวลาที่อ่านบทความหรือเอกสารด้านโรคพืชแล้วพบคำอธิบายเกี่ยวกับสาเหตุของโรคว่าเกิดจาก “ราชั้นต่ำ หรือราชั้นสูง ” มันมีความหมายอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการป้องกันกำจัดโรคพืชที่เกิดจากราอย่างไร ความหมายของคำว่า “รา” หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่มีนิวเคลียสมีผนังหุ้ม (ส่วนที่ใช้ควบคุมกิจกรรมของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด) ราไม่มีคลอโรฟิลที่ทำหน้าที่สร้างแป้ง มีเส้นใยที่ยาวเป็นสาย ราสามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งการใช้เพศและไม่ใช้เพศ ผนังของเซลล์หรือผนังเส้นใยจะมีไคติน และ/ หรือเซลูโลสเป็นองค์ประกอบ โดยทั่วไปราอาจจะพักอาศัย เจริญเติบโตได้บนสิ่งมีชีวิต เช่น คน สัตว์ พืช หรือปลา เป็นต้น ได้หลายชนิด ราแต่ละชนิดมีความเฉพาะเจาะจงสูงมากกับสิ่งที่มันอาศัยอยู่ แต่ราส่วนใหญ่อาจจะอยู่อย่างอิสระในธรรมชาติด้วยการย่อยอินทรีย์วัตถุต่างๆ ที่ตายแล้ว รา สามารถถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มที่อาศัยบนสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวตลอดชีพ แต่บางชนิดอาจต้องอาศัยอยู่บนสิ่งมีชีวิตมากกว่า 1 ชนิด เพื่อการดำรงขีพจนครบวงจรของมัน เมื่อหันมาดูความแตกต่างระหว่าง “ราชั้นต่ำ” และ “ราขั้นสูง” ที่เป็นสาเหตุโรคพืช เราจะแบ่งกันคร่าวๆ สำหรับเกษตรกร เพื่อให้เข้าใจง่าย และสามามารถนำไปปรับใช้เพื่อการป้องกันกำจัดโรคพืชดังนี้ราชั้นต่ำ…..ราชั้นสูง ‼ เกษตรกรและผู้อ่านหลายๆ ท่านอาจจะสงสัยว่า เวลาที่อ่านบทความหรือเอกสารด้านโรคพืชแล้วพบคำอธิบายเกี่ยวกับสาเหตุของโรคว่าเกิดจาก “ราชั้นต่ำ หรือราชั้นสูง ” มันมีความหมายอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการป้องกันกำจัดโรคพืชที่เกิดจากราอย่างไร…

เตือนภัย การระบาดโรคใบด่างของมันสำปะหลัง!!

เตือนภัย การระบาดโรคใบด่างของมันสำปะหลัง!!เมื่อไม่นานมานี้มีการสำรวจพบโรคใบด่างของมันสำปะหลังในพื้นที่การปลูกมันแห่งหนึ่ง โรคจากไวรัสชนิดนี้ไม่เคยพบว่ามีปรากฎในประเทศไทยมาก่อน อาการที่ปรากฎให้เห็นคือ ใบยอด 4-5 ใบบนของมันสำปะหลังจะหดย่น ม้วนงองุ้ม ใบเรียวเล็กลงกว่าปกติ ต้นเตี้ยแคระและไม่เจริญเติบโต มันไม่ลงหัว และยืนต้นตาย ในเมื่อมันไม่เคยมีในประเทศไทยมาก่อน แล้วไวรัสนี้มาได้อย่างไรกันล่ะ คำตอบคือ มีเอกชนรายหนึ่งลักลอบนำท่อนพันธุ์มันสำปะหลังเข้ามาโดยไม่รู้ว่ามีไวรัสติดเข้ามาในท่อนพันธุ์ด้วย หลังจากปลูกไปแล้วจึงแสดงอาการให้เห็น เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้เข้าไปตรวจสอบ และพบว่าเป็นไวรัสชนิดใหม่ที่มีแมลงหวี่ขาวยาสูบ เป็นพาหะนำโรค โชคร้ายคือ ในประเทศไทยเรามีแมลงหวี่ขาวชนิดนี้อยู่ด้วย โอกาสแพร่ระบาดจึงเป็นไปได้สูง เมื่อนักวิชาการได้ขอให้เจ้าของแปลงทำลายต้นที่เป็นโรค และต้นใกล้เคียงที่มีการติดเชื้อแล้วทิ้งไป เจ้าของแปลงก็ไม่ปฎิบัติตามด้วยข้ออ้างต่างๆ และเราก็ไม่มีกฎหมายสำหรับเรื่องนี้อย่างจริงจัง การปล่อยแปลงเป็นโรคไว้ให้มีการระบาดต่อไป จึงถือว่าเป็นภัยอันตรายสำหรับผู้ปลูกมันบริเวณใกล้เคียง และอาจลามต่อเนื่องไปในพื้นที่อื่นๆ นั่นคือข้อวิตกว่าอนาคตมันสำปะหลังจะสูญสิ้น นั่นเอง แล้วโอกาสที่เหตุการณ์นี้จะเป็นจริงได้หรือไม่ เราลองมาพิจารณาประเด็นความเป็นจริงกันก่อน แมลงหวี่ขาวยาสูบที่เป็นพาหะของไวรัสสาเหตุมีอยู่ทั่วไปในประเทศไทย มีพืชอาศัยมากกว่า 900 ชนิด สามารถถ่ายทอดไวรัสสาเหตุโรคพืชได้ในเวลาที่รวดเร็ว แมลงชนิดนี้มีขนาดเล็ก ประมาณ 1 มิลลิเมตร ปีกสีขาว มีขนละเอียดปกคลุม ลำตัวสีเหลืองอ่อน มีอายุประมาณ 30-40 วัน วงจรชีวิตของแมลงหวี่ขาวตัวนี้ มันจะวางไข่ได้มากถึง 200 ฟอง โดยไข่ของแมลงพาหะตัวนี้จะเป็นกระจุกเกาะอยู่ด้านใต้ใบ สีน้ำตาลอ่อน…