จัดการไรศัตรูพืชให้มีประสิทธิภาพ

เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน ในรอบปีที่ผ่านมาศัตรูที่มีปัญหาโดยตลอดนอกจากจะพบเพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย เพลี้ยไก่แจ้ และเพลี้ยจักจั่นแล้ว ศัตรูพืชอีกชนิดหนึ่งที่พบระบาดเป็นประจำและเริ่มทวีความรุนแรงขึ้นคือ ไรแดง ทั้งที่ปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะทุเรียนทางภาคใต้ เช่น ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช มีฝนตกชุกโดยตลอด ซึ่งที่ผ่านมาปีใดฝนตกชุกมักไม่พบการระบาดของไรแดง เนื่องจากปกติแล้วเป็นที่ทราบกันดีว่าไรแดงมักจะแพ้ฝน แต่ในปัจจุบันกลับพบว่าแม้ฝนจะตกต่อเนื่อง แต่ไรแดงยังคงพบการระบาดอยู่ตลอด อีกทั้งเกษตรกรยังบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าการพ่นสารกำจัดไร ไม่ค่อยได้ผลเท่าที่ควร และล่าสุดได้มีโอกาสไปบรรยายเขตภาคอีสานที่นครราชสีมา เกษตรกรที่มาร่วมฟังบรรยายมีทั้งปลูกไม้ผล เช่น มะม่วง ทุเรียน น้อยหน่า แก้วมังกร พืชไร่ เช่น มันสำปะหลัง อ้อย พืชผัก เช่น มะเขือเทศ พริก มะละกอ เกษตรกรส่วนใหญ่ก็พบปัญหาการระบาดของไรแดงเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะมะละกอและมันสำปะหลังมีปัญหามากที่สุด โดยเฉพาะมะละกอ เนื่องจากจะมีไขหรือนวลที่ใบมาก การพ่นสารเคมีบางสูตร สูตร EC, EW, OD มักประสบปัญหาใบไหม้ และดอกร่วง เกษตรกรจึงหาสารเคมีมากำจัดได้ยาก ในฉบับนี้จึงขอนำเรื่องการจัดการไรศัตรูพืชอย่างไรให้ได้ประสิทธิภาพ มาให้ท่านผู้อ่านได้ศึกษากัน มาทำความรู้จักไรศัตรูพืช ไรจัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโพดา(Arthropoda) เรียกให้เข้าใจง่ายๆก็คือกลุ่มของสัตว์ขาปล้อง (ปู กุ้ง…

การรับมือ ‘โรคใบไหม้ของมันฝรั่ง’จากเชื้อไฟทอฟทอร่า

โรคใบไหม้ของมันฝรั่งมีสาเหตุมาจากเชื้อรากลุ่มราน้ำ ที่ชื่อ ไฟทอฟทอร่า อินเฟสแตน ซึ่งชอบสภาพอากาศเย็นและชื้น พื้นที่การปลูกมันฝรั่งของไทยเราจะเป็นพื้นที่หุบภูเขา มีความสูงจากระดับน้ำทะเล หรือพื้นที่ราบในเขตที่มีอากาศเย็น ในฤดูหนาวจะพบว่ามีน้ำค้างช่วงเช้ามืดและอากาศเย็น อุณหภูมิ 18-25 องศาเซลเชียส ซึ่งเป็นสภาพที่เหมาะสมต่อการระบาดของโรคใบไหม้ของมันฝรั่งเป็นอย่างมาก เชื้อราสาเหตุของโรค ไฟทอฟทอร่า อินเฟสแตน  อยู่ข้ามฤดูในดินปลูก โดยอาศัยอยู่บนซากพืชเป็นโรคที่ตกค้างอยู่ เมื่อทำการปลูกมันฝรั่งฤดูใหม่ ส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราจะงอกเข้าทำลายใบมันฝรั่งใบล่างๆ ก่อน โดยสร้างเส้นใยในเนื้อใบจนพบเห็นเป็นแผลช้ำน้ำสีน้ำตาลเทา ต่อมาประมาณ 5-7 วัน รอยแผลจะปรากฎสปอร์สีเทาคล้ายผงขนาดเล็กจำนวนมาก ฟูขี้นมา สปอร์เหล่านี้จะถูกลม ฝน พัดพาขึ้นไปยังใบที่เกิดใหม่ และถูกลม อะอองไอน้ำ หรือฝน พัดพาไปยังต้นมันฝรั่งในแปลงปลูกทำให้เกิดการระบาดออกไปเป็นวงกว้าง การระบาดรุนแรงมากในพื้นที่หุบเขาที่มีความชื้นสูง ระยะเวลาที่ใช้ในการระบาดตั้งแต่เริ่มพบรอยแผลบนใบล่าง จนถึงการลามไปทั้งต้น จะใช้เวลาประมาณ 3 – 7 สัปดาห์ หากไม่มีการควบคุมโรค หรือการควบคุมโรคไม่ประสบความสำเร็จ แต่ทั้งนี้ยังมีปัจจัยของสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมร่วมอยู่ด้วย เทคนิคการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช  ในการควบคุมโรคนี้ ต้องเริ่มตั้งแต่ เริ่มพบโรคบนต้นกล้า และควรพ่นสารป้องกันโรคต่อเนื่องเพื่อการควบคุมที่มีประสิทธิภาพให้ได้ผลก่อนต้นมันฝรั่งจะเติบโตจนใบและทรงต้นเจริญมาชิดกัน ซึ่งในระยะที่ทรงต้นเบียดชิดกันนี้ภายในทรงพุ่มจะมีความชื้นสูงมาก เหมาะสมต่อการระบาดอย่างยิ่ง การพ่นสารป้องกันโรคควรหันปลายหัวพ่นสารเคมีเข้าไปใต้พุ่ม และควรพ่นให้ทั่วใต้ใบพืช   โดยพ่นสารตามอัตราที่ถูกต้องตามคำแนะนำ…

การใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชในช่วงเวลาเตรียมต้น ก่อนการออกดอกทุเรียน

การใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชในช่วงเวลาเตรียมต้น ก่อนการออกดอกทุเรียน หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียน เกษตรกรทำการตัดแต่งกิ่ง ตัดกิ่งผุ กิ่งเป็นโรค กิ่งที่หักเสียหาย นำกิ่งทุเรียน ซากต้นเก่า ใบเป็นโรคที่ร่วงหล่นไปเผาทำลายศัตรูทุเรียน เช่นเชื้อโรคบนใบ และกิ่ง ตลอดจนแมลงและไรที่คิดค้างอยู่ เพื่อลดปริมาณแหล่งระบาดของศัตรูเหล่านั้น   จากนั้นใส่ปุ๋ยอินทรีย์ผสมปุ๋ยเคมี อัตรา ปุ๋ยอินทรีย์ 5 กิโลกรัม กับปุ๋ยเคมี 300-500 กรัม ขึ้นกับขนาดต้น โดยใส่รอบโคนต้น รดน้ำตามเพื่อให้พืชใช้ปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อต้นทุเรียนฟื้นตัวหลังการให้ผลผลิต จะเริ่มแตกยอดใหม่  ระยะนี้ใบอ่อนของทุเรียนจะพบกับปัญหาโรคราใบติด โรคจุดสาหร่าย และอาจมีอาการของโรคแอนแทรคโนสปรากฎให้เห็นได้ หากมีฝนตก และหากเป็นการปลูกทุเรียนในท้องที่อากาศค่อนข้างเย็นและมีน้ำค้างช่วงเช้าก็จะพบปัญหาโรคราแป้งได้ด้วย สารป้องกันกำจัดโรคพืชที่แนะนำให้ใช้กับทุเรียนระยะแตกใบอ่อนเพื่อการควบคุมโรคดังกล่าวคือ สารป้องกันกำจัดโรคพืช  คลอโรทาโลนิล+อะซอกซีสโตรบิน (โรบินนิล)  สังเกตว่าทุเรียนแตกใบอ่อนได้มากว่า 70% ของ ต้นในสวน หลังจากนั้นพ่นซ้ำอีกครั้งหนึ่งหลังการพ่นครั้งแรก 10 วัน สารป้องกันกำจัดโรคพืช  คลอโรทาโลนิล+อะซอกซีสโตรบิน (โรบินนิล) เป็นสารป้องกันกำจัดโรคพืชชนิดดูดซึม มีกลไกการออกฤทธิ์ แบบ สารยับยั้งระบบหายใจ (กลุ่ม 11) และ สารที่ทำลายหลายตำแหน่ง (M5) จึงสามารถป้องกันการดื้อของเชื้อสาเหตุต่อสารป้องกันโรคพืชได้ดี…

ปราบหนอนม้วนใบข้าวด้วย “เอราด๊อกซาคาร์บ”

หนอนม้วนใบข้าวหรือหนอนห่อใบข้าว (rice leaffolder)  ชื่อวิทยาศาสตร์ Cnaphalocrocis medinalis (Guenee) เป็นหนอนที่ทำความเสียหายให้ใบข้าวมาก  ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ตัวเมียวางไข่ประมาณ 300 ฟอง บนใบข้าว ตัวเต็มวัยจะหลบซ่อนบนต้นข้าวและวัชพืชตระกูลหญ้าในเวลากลางวัน ปัจจุบันพบว่ามีการดื้อยากับสารกำจัดแมลงหลายชนิดที่ใช้กันเป็นประจำต่อเนื่องกันมายาวนาน   ผีเสื้อหนอนม้วนใบข้าวจะเข้าแปลงนา ตั้งแต่ข้าวยังเล็กและวางไข่ที่ใบอ่อน เมื่อตัวหนอนฟักออกมาจะแทะผิวใบข้าวส่วนที่เป็นสีเขียว ทำให้เห็นเป็นแถบยาวสีขาว มีผลให้การสังเคราะห์แสงลดลง หนอนจะใช้ใยเหนียวที่สกัดจากปาก ดึงขอบใบข้าวทั้งสองด้านเข้าหากันเพี่อห่อหุ้มตัวหนอนไว้กัดกินภายใน หนอนจะทำลายใบข้าว ทุกระยะการเจริญเติบโตของข้าวถ้าหนอนมีปริมาณมากจะใช้ใบข้าวหลายๆ ใบมาห่อหุ้มและกัดกินอยู่ภายใน ในระยะข้าวออกรวงหนอนจะทำลายใบธงซึ่งมีผลต่อผลผลิตเพราะทำให้ข้าวมีเมล็ดลีบ น้ำหนักลดลง หนอนห่อใบสามารถเพิ่มปริมาณได้ 2-3 อายุขัยต่อฤดูปลูก พบระบาดในนาเขตชลประทาน โดยเฉพาะแปลงข้าวที่ใส่ปุ๋ยอัตราสูง การป้องกันกำจัด 1) ปลูกข้าวสลับพันธุ์กันตั้งแต่ 2 พันธุ์ขึ้นไป จะช่วยลดความรุนแรงของการระบาด 2) กำจัดพืชอาศัย เช่น หญ้าข้าวนก หญ้านกสีชมพู และข้าวป่า 3) เมื่อเริ่มมีการระบาดของหนอนม้วนใบในแปลงข้าว ไม่ควรใช้ปุ๋ยไนโตรเจนเกิน 5 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยยูเรียไม่เกิน 10 กิโลกรัมต่อไร่ 4) เมื่อพบผีเสื้อหนอนม้วนใบข้าว 4-5…

โรคเมลานอสของส้ม

โรคเมลาโนส พบได้บนใบและบนผลส้มในขณะที่ใบอ่อนขยายแผ่นใบหรือ หรือผลอ่อนกำลังเติบโตในขณะที่สภาพอากาศร้อนชื้น หรือมีฝนตกพรำๆ  อาการของโรคเมลาโนส อาจแตกต่างไปตั้งแต่ จุดสีดำเล็กๆ หรือรอยแผลตกสะเก็ด  รูปแบบของรอยแผลอาจเป็นทางยาวคล้ายน้ำตาเทียน หรือ เป็นแผลนูน เป็นต้น   สาเหตุของโรค โรคนี้เกิดจากเชื้อราชั้นสูงที่อยู่ในระยะสร้างส่วนขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบมีเพศ ชื่อ ไดอะพอท ซิไตร หรืออยู่ในระยะสร้างส่วนขยายพันธุ์แบบไม่มีเพศ ชื่อ โฟทอพสีส ซิไตร โดยเชื้อราจะทำลายเฉพาะส่วนเปลือกของผลและไม่เข้าไปทำลายถึงเนื้อผลส้ม หากเชื้อราเข้าทำลายใบ จะพบรอยแผลที่มีวงสีเหลืองล้อมรอบ เมื่ออาการรุนแรง ใบจะร่วงได้ง่าย  บางครั้งเราอาจพบการเข้าทำลายของเชื้อราบนกิ่งที่ผุ หรือบนรอยแผลของปลายกิ่งที่ถูกตัดแต่ง ซึ่งเป็นส่วนที่ราสาเหตุใช้อยู่ข้ามฤดู ส่วนขยายพันธุ์ของราสาเหตุ เป็นคอนิเดียรูปยาวรี  ใส ไม่มีสี เกิดเป็นกลุ่มในเมือกภายในอวัยวะที่สร้างจากเส้นใยที่พันกันเป็นรูปขวด เมื่อสภาพอากาศชื้น คอนิเดียจะไหลออกจากปากขวดนี้แล้วไหลไปกับน้ำฝน หรือน้ำที่ใช้ในการรดต้นส้ม คอนิเดียงอกเป็นเส้นใยบนใบ ผิวใบจะพองออกเป็นตุ่ม อาจมีวงสีเหลืองล้อมรอบหรือไม่ก็ได้ วงสีเหลืองนี้อาจเปลี่ยนเป็นวงสีเขียวในภายหลังก็ได้เช่นกัน อาการบนกิ่งจะพบว่ากิ่งผุ เน่าลามลงข้างล่าง  คอนิดียของราสาเหตุจะไม่เข้าทำลายส่วนใบที่ขยายเต็มที่หรือใบแก่ อาการบนเป็นปื้น แล้วแตกเป็นรอยร้าว หรือคอนิเดียที่ไหลตามน้ำลงมา แล้วแห้งเกาะบนผิวเปลือกส้มเกิดเป็นแผลยาวคล้ายน้ำตาเทียน จุดนูนอาจมีขนาดใหญ่หากการเข้าทำลายเกิดบนผลอ่อน   วงจรชีวิต น้ำฝนหรือน้ำชลประทานที่ใช้รดต้นส้มเป็นพาหะนำคอนิเดียไปยังเนื้อเยื่อที่อ่อนแอของส้ม หรือคอนิเดียอาจแพร่กระจายไปตามลมได้ไกลๆ  การเข้าทำลายของคอนิเดียบนผลอ่อนจะเกิดหลังกลีบดอกร่วง…

3 ตัวช่วยลดอาการ ‘ผลแตก’ ของส้ม ด้วย ‘อาหารเสริม’

3 ตัวช่วยลดอาการ ‘ผลแตก’ ของส้ม ด้วย ‘อาหารเสริม’ อาการผลแตก เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นความไม่สมดุลย์ของแร่ธาตุอาหาร เซลล์พืชไม่แข็งแรง ส่วนเนื้อขยายเร็วกว่าการขยายของเปลือก เกิดจากสภาพอากาศในพื้นที่ มีอากาศแล้งสลับกับฝนตกหนัก ทำให้ส้มได้รับ’น้ำ’ที่ไม่สม่ำเสมอหรือมากเกินไป นอกจากนี้ การใส่ปุ๋ยยูเรียมากเกินไป ก็ส่งผลให้ส่วนเนื้อดันเปลือกจนแตกได้   การป้องกันการผลแตก จัดการระบบระบายน้ำในสวนที่ดีเพื่อป้องกันความชื้นในดินสูง การให้น้ำและปุ๋ยที่เหมาะสมและสม่ำเสมอ เสริมธาตุอาหารรองเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของผนังเซลล์พืช ไซฟามิน บีเค อัตรา 5 – 10  ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร  ควรฉีดพ่นซ้ำอย่างน้อย 2 ครั้ง ห่างกัน 7 – 10 วัน ในระยะติดผลอ่อน สำหรับกระตุ้นการเจริญเติบโตของผลอ่อน ลดการร่วงของผลและเร่งการเจริญเติบโตในช่วงต่างๆของพืช ชดเชยอาการขาดธาตุอาหารได้อย่างรวดเร็ว ไซโฟแคล อัตรา 10 – 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ควรพ่นซ้ำภายใน 7 – 10…

เอราบาสในแปลงข้าวโพด

ฉีดไล่ร่องทำรุ่นในข้าวโพด ข้าวโพดที่อยู่ในระยะการเจริญเติบโตทางลำต้นเป็นช่วงระยะเวลาที่สำคัญ วัชพืชจำเป็นต้องถูกควบคุม เนื่องจากวัชพืชแย่งธาตุอาหาร ส่งผลต่อการเจริญเติบโต  และส่งผลเสียต่อคุณภาพและปริมาณผลผลิตของข้าวโพดได้ ทำให้ต้นทุนของเกษตรกรสูงขึ้นด้วย เอราบาส ( กลูโฟซิเนต – แอมโมเนียม 15 % SL ) พรีเมี่ยมเกรด สูตรเฉพาะของเอราวัณ ปลอดฝนสั้น หญ้าเผาไหม้แห้งตายเร็ว หญ้าร้ายตายนาน ดูดซึมเร็วภายใน 2-3 ชั่วโมง สูตรสู้ฝน ทนการชะล้าง โดดเด่นในการกำจัดวัชพืช ใบแคบ ใบกว้าง เถาเลื้อย และหญ้าปราบยาก ไม่ดูดซึมเข้าทางราก ไม่มีพิษตกค้าง ย่อยสลายภายในดินอย่างรวดเร็ว จากการทดสอบประสิทธิภาพของ เอราบาส เปรียบเทียบกับ สารกำจัดวัชพืชประเภทเดียวกัน คือ สารไกลโฟเสต และสารพาราควอต ของบริษัทเอราวัณ พบว่าสารเอราบาส มีคุณสมบัติในการกำจัดวัชพืชได้ดีเช่นเดียวกับสารทั้งสองชนิดดังกล่าว แต่สาร เอราบาสจะมีข้อดีหรือข้อได้เปรียบกว่าสารทั้งสองชนิดคือ สารเอราบาสที่พ่นในข้าวโพด มันสำปะหลัง สวนผลไม้ สวนปาล์ม ยางพารา หรือไม้ยืนต้นต่างๆ ถ้าพ่นอย่างถูกต้องและระมัดระวัง โอกาสที่สารเอราบาสจะเป็นพิษต่อพืชปลูกมีน้อยมากหรือไม่มีเลย เพราะคุณสมบัติที่ไม่มีการเคลื่อนย้ายหรือเคลื่อนย้ายได้น้อยมากเฉพาะในใบพืชที่ได้รับสารเท่านั้น…

ชุดเร่งทำใบสะสมอาหารในทุเรียน

ชุดเร่งทำใบสะสมอาหารในทุเรียน สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้ต้นทุเรียนมีการออกดอกเป็นจำนวนมากและสม่ำเสมอ คือการ สะสมอาหาร การบำรุงใบให้สมบูรณ์ คือตัวช่วยทำให้ทุเรียนสะสมอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วย #คูวาส สารอาหารเสริมชนิดผงความเข้มข้นสูง โดยเฉพาะธาตุมักเนเซี่ยม ช่วยสร้างคลอโรฟิลล์ในใบพืช ทำให้ ใบเขียวเข้ม ใบมัน ใบใหญ่ ใบหนา จึงมีการสังเคราะห์แสงที่สูงขึ้น ส่งเสริมการเจริญเติบโตของใบอ่อนรุ่นใหม่ และป้องกันการร่วงหล่นของใบแก่ ทำให้พืชสามารถสร้างและสะสมอาหารได้อย่างเพียงพอสำหรับเร่งการเจริญเติบโต และการออกดอก ใช้ร่วมกับ ซีเนอกอน 2000  สารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช ประกอบไปด้วยสาร อะมิโนแอซิด #สาหร่ายทะเล และธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช เพราะถ้ามีการสะสมอาหารได้เพียงพอที่ต้องใช้ในการสร้างดอก จะทำให้ดอกออกง่าย และทำดอกได้พร้อมกันทั้งต้น ——————- ? อัตราใช้ แนะนำ คูวาส อัตรา 5 กรัม + ซีเนอกอน 2000 10-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร (1ปีบ) ควรฉีดพ่นซ้ำอย่างน้อย 3 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน

โรคแคงเกอร์ระบาดในส้ม

โรคแคงเกอร์ระบาดในส้ม โรคแคงเกอร์ หนึ่งในโรคที่อันตรายร้ายแรงอย่างยิ่งของพืชตระกูลส้ม เกิดจากแบคทีเรีย Xanthomonas campestris pv. citri โรคแคงเกอร์หรือชาวบ้านเรียกโรคขี้กลาก สามารถเข้าทำลายได้ตั้งแต่ ลำต้น กิ่ง ก้าน ใบ และผล สร้างความเสียหายทั้งปริมาณและคุณภาพ การแพร่ระบาด โรคนี้ปกติจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงในเขตที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูงในช่วงฤดูฝนและระยะที่มีหนอนชอนใบเข้าทำลาย เชื้อแบคทีเรียจะกระจายได้ตามกระแสลม ฝน แมลง จากส่วนที่เป็นโรคไปยังส่วนอื่นๆของต้น อาการที่เห็นชัดๆคือ จะเห็นจุดนูนสีออกคล้ายสนิม น้ำตาลเข้ม เริ่มตั้งแต่ใบอ่อน แต่โรคบนกิ่งจะนูนแต่ไม่มีวงสี โรคจะเข้าได้ตั้งแต่ผลอ่อนจะเห็นเป็นวงหรือปื้นใหญ่ จะทำให้ผลแตก จนผลร่วงในที่สุด การป้องกันกำจัด โรคแคงเกอร์ ควรเลือกกิ่งพันธุ์ที่ปลอดโรค การพ่นสารกำจัดเป็นกลุ่มทองแดง โดยพ่นในระยะใบเพสลาดอย่างสม่ำเสมอ การพ่นสารกำจัดแมลงจำพวกเพลี้ยไฟและหนอนชอนใบส้ม การรักษาความสะอาดในสวน ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคออก ทำให้ต้น โปร่ง ไม่อับชื้น จะช่วยป้องกันการเกิดโรคแคงเกอร์ในส้มได้ ป้องกันกำจัด โรคแคงเกอร์ด้วย ไอโรเน่ ดับบลิวจี อัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ โคปิน่า85 ดับบลิวพี…

มอร์เทล (Mortel) ยาหว่านประสิทธิภาพดี ที่อยากแนะนำให้เกษตรกรใช้กัน

มอร์เทล (Mortel) ยาหว่านประสิทธิภาพดี ที่อยากแนะนำให้เกษตรกรใช้กัน มอร์เทล มีชื่อสามัญคือ สาร ฟิโพรนิล 0.3 % GR (GR = Granule สูตรผสมชนิดเม็ด ที่นำไปใช้ได้ทันทีไม่ต้องทำให้เจือจาง) ตามระบบ IRAC จัดอยู่ในกลุ่ม 2B Phenylpyrazole ฟิโพรนิล เป็นสารที่ออกฤทธิ์กับระบบประสาท (Nerve Action) ของแมลง โดยไปขัดขวางการส่ง GABA (Gamma Amino Butylic Acid) ซึ่งเป็นสารเคมีในการนำส่งกระแสประสาทของแมลง ทำให้การทำงานของระบบประสาทของแมลงผิดปกติและตายในที่สุด ฟิโพรนิล เป็นสารที่ออกฤทธิ์แบบ สัมผัสตาย กินตาย และดูดซึม โดยดูดซึมได้ดีในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น ข้าวโพด อ้อย เป็นสารที่ออกฤทธิ์ได้ดีกับ แมลงที่มีการดื้อยา ในกลุ่ม Pyrethroid, Organophosphorus หรือ Carbamate มาก่อน สามารถกำจัดได้ทั้งแมลง และไส้เดือนฝอย ในดิน กำจัดเพลี้ยไฟ…