โรครากเน่าโคนเน่า กับโรคราสีชมพู

โรครากเน่าโคนเน่าเป็นโรคที่ชาวสวนทุเรียนรู้จักกันมาอย่างน้อย 30 ปี แต่โรคราสีชมพู ซึ่งเกิดจากราฟิวซาเรียมเป็นโรคที่เพิ่งมีการพูดถึงกันมาในช่วง 4-5 ปีมานี้เอง (และมักสับสนกับโรคราสีชมพูที่เคยพูดถึงกันในอดีตซึ่งเกิดจากราคอติเชียม) เราลองมาทบทวนลักษณะอาการและสาเหตุของโรคเหล่านี้กันสักเล็กน้อย โรครากเน่าโคนเน่า เกิดจากราชั้นต่ำ ชื่อไฟทอฟทอร่า อาศัยอยู่ได้ในดินและน้ำ ชอบอากาศค่อนข้างเย็น และชื้น ส่วนขยายพันธุ์ที่เรียกว่าสปอร์ มีหาง ว่ายน้ำได้ เมื่อส่วนขยายพันธุ์ได้งอกและเข้าสู่พืชทางบาดแผล หรือช่องเปิดธรรมชาติ บริเวณราก ของทุเรียน ทำลายในส่วนของท่อน้ำ ท่ออาหาร เนื้อไม้รอบๆ ท่อน้ำท่ออาหาร และลุกลามขึ้นไปยังส่วนของลำต้น ช่วงเวลาการกระจายและเติบโตถึงลำต้นนี้ค่อนข้างนาน และอาจหยุดการเติบโตในช่วงอากาศแห้งแล้งก่อนเจริญเติบโตต่อไปได้ใหม่เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม สปอร์ที่อาศัยในดินสามารถปลิวปะปนไปกับละอองน้ำฝน หรือฝุ่นดินที่ลอยขึ้นไปยังส่วนบนในทรงพุ่มทุเรียน และตกลงบนคาคบ ดอกอ่อน ผลอ่อน กิ่งก้าน หรือใบอ่อนของทุเรียนได้ และทำให้พบอาการของโรคขึ้นได้บนกิ่ง ผล ดอก และผลอ่อน เมื่อมีความชื้นมากพอและสภาพแวดล้อมเหมาะสม เมื่อทุเรียนออกดอก และติดผลอ่อน สปอร์ของราสาเหตุโรครากเน่าโคนเน่านี้จะเกาะอาศัยอยู่บริเวณเปลือกผิวของผล และเมื่อราสาเหตุงอกเส้นใยเจริญมากขึ้น จะเป็นเหตุให้เกิดโรคผลเน่าของทุเรียน แต่การแสดงอาการเน่าของผลแก่ หรืออาการที่พบในโรคเก็บหลังการเก็บเกี่ยวเนื่องมาจากการระบาดเกิดขึ้นในระยะปลายฤดูของผลที่ใกล้เก็บเกี่ยว โดยเฉพาะการเกิดฝนชุก ลมกรรโชกแรงในช่วงผลใกล้แก่ และมีปริมาณราสาเหตุมากพอที่จะเข้าทำลายผลแก่ได้ โรคราสีชมพู เกิดจากราชั้นสูง ชื่อฟิวซาเรียม (และเกษตรกรหลายายอาจรู้สึกสับสนกับโรคราสีชมพูที่เกิดจากราชั้นสูงที่ชื่อคอติเชียม)…

โรคราน้ำค้างในข้าวโพด

โรคราน้ำค้างในข้าวโพด โรคราน้ำค้างของข้าวโพดเกิดจากราสาเหตุที่เป็นราชั้นต่ำกลุ่มราน้ำ  รานี้มีสปอร์ลักษณะใส ชอบอากาศเย็น ประมาณ 22-25 องศาเซลเชียส และความชื้นสูง ข้าวโพดที่อ่อนแอต่อโรคนี้ได้แก่ข้าวโพดหวานและข้าวโพดฝักอ่อน ราสาเหตุผลิตสปอร์ได้ทั้งด้านบนใบและใต้ใบช่วงเวลาเช้า ประมาณ ตีสามถึง ตีห้าก่อนแพร่ระบาดออกไปกับละอองหมอก ไปยังต้นข้าวโพดปกติที่อายุน้อยกว่า 1 เดือน การระบาดเกิดได้ดีโดยเฉพาะการปลูกข้าวโพดในพื้นที่หุบเขาที่มีอากาศเย็น น้ำค้างแรง และมีหมอกปกคลุมในหุบเขาเป็นเวลานาน เมื่อสปอร์งอกเข้าสู่ใบพืชจะสร้างเส้นใยในผิวใบอย่างรวดเร็วไปตามความยาวของใบ จึงเห็นอาการเป็นแถบสีอ่อนสลับสีเขียวปกติของใบ หากอาการรุนแรงรอยแผลสีซีดจะมีขนาดใหญ่ใบตามแผ่นใบในกรวยใบ เมื่อราสาเหตุใช้อาหารใบใบหมด จะทำให้ใบเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองและสีน้ำตาล ต้นข้าวโพดไม่เจริญเติบโต ลำต้นเตี้ยแคระ ข้อไม่ขยาย ไม่ออกดอก และไม่ออกฝัก หากอาการบนใบไม่รุนแรงข้าวโพดอาจออกฝัก และจะได้ฝัก บิดเบี้ยว ไม่สมบูรณ์ ไม่ติดเมล็ด หรือติดเมล็ดเล็กน้อย เมื่อข้าวโพดได้รับเชื้อสาเหตุแล้ว ต้นที่เป็นโรคจะไม่สามารถรักษาให้เป็นปกติได้  แต่ยังสามารถผลิต ราสาเหตุเพื่อการระบาดได้ต่อไปในแปลงปลูก ราสาเหตุที่ติดมากับเมล็ดจะเข้าลาย โดยอยู่อาศัยในต้นข้าวโพดตั้งแต่เริ่มงอก จนถึงแสดงอาการใบสีซีด ใช้เวลาประมาณ 10 – 14 วัน สปอร์ที่ผลิตขึ้นจะแพร่ระบาดไปยังข้าวโพดที่อายุต่ำกว่า 1 เดือน ถึง 45 วัน  โดยจะต้องมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะ เป็นปัจจัยประกอบด้วย…

โรคแคงเกอร์ของส้มโอ

ปัจจุบันส้มโอเป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ดีมาก โดยเฉพาะสวนส้มโอที่ผลิตเพื่อการส่งออก  แต่ปัญหาศัตรูพืชที่เป็นเรื่องใหญ่คือโรคแคงเกอร์ ซึ่งเป็นโรคพืชกักกันในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศในยุโรป และออสเตรเลีย  และเนื่องด้วยสถานะการณ์การระบาดของโรคไข้โควิด – 19 จึงส่งผลพวงมายังการค้า การส่งออก อีกทั้งการขาดแรงงานที่เป็นปัจจัยหลักของการทำสวนผลไม้ จึงทำให้โรคแคงเกอร์ของส้มโอทวีความรุนแรงมากขึ้นไปอีก ปัจจัยอื่นๆ นอกเหนือจากการขาดแรงงาน และปัญหาการตลาด ก็คือ การลดมาตรการควบคุมโรคพื้นฐาน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการรักษาสวนผลไม้ให้คงอยู่ และประคับประคองไปจนกว่าสถานะการณ์ภายนอกจะคลี่คลายลง สาเหตุ โรคแคงเกอร์ของส้มโอ มีสาเหตุจากแบคทีเรียชนิดเดียวกับส้มและมะนาว และพืชตระกูลส้มอีกหลายชนิด  นั่นคือ แบคทีเรีย แซนโทโมแนส ซิไตร ซิไตร ที่ชอบอากาศร้อนชื้น ลักษณะอาการ ลักษณะอาการของโรค แบคทีเรียสาเหตุทำให้เกิดรอยแผลเป็นขุยสีสนิมบน ใบอ่อน กิ่งอ่อน ยอดอ่อน และผล แบคทีเรียใช้เวลานานประมาณ 7-10 วัน  จึงจะแสดงอาการให้เห็น  ผลส้มจะอ่อนแอต่อการเข้าทำลายในช่วง 2 เดือนแรก ตั้งแต่เริ่มผสมเกสร ช่วงเวลาเริ่มระบาดจะตั้งต้นเมื่อเริ่มย่างฤดูฝน ในขณะที่ส้มโอแตกยอดใหม่ และมีฝนต้นฤดูโปรายปรายลงมา ช่วงที่ระบาดสูงสุดคือช่วงกลางฤดูฝน และลดโรคจะลดลงเมื่อ ฝนทิ้งช่วง หรือหมดฤดูฝนนั่นเอง อาการที่พบบนใบ เป็นจุดนูนสีเหลือง ฉ่ำน้ำ…

การดูแลสับปะรดช่วงเริ่มปลูก

สับปะรด พืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่สำคัญของไทย การปลูกสามารถปลูกได้ง่ายโดยการฝังกลบหน่อหรือส่วนยอดของผล สับปะรดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี ปกติสับปะรดมักปลูกซ้ำที่เดิมอยู่ตลอดปีเพียงพืชเดียวโดดๆ จึงเป็นโอกาสที่โรคและแมลงศัตรูจะระบาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตลอดจนโรคมีโอกาสปรับตัวให้เข้ากับสภาพการปลูก และการดูแลรักษา ซึ่งปฏิบัติซ้ำซากตลอดมา ทางบริษัทฯ มีผลิตภัณฑ์สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชดีๆหลายกลุ่มสารเคมี หลายชนิดที่มีประสิทธิภาพสูงให้เลือกใช้ให้เหมาะสมในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่เป็นปัญหาสำคัญในสับปะรด ในระยะช่วงเริ่มปลูกของสับปะรด เป็นระยะที่สำคัญเพื่อให้เกิดผลผลิตที่มีคุณภาพ ล้างแปลงก่อนปลูก ด้วย เอราบาส อัตรา 800 ซีซี ต่อไร่ หรือ 200 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ชุปหน่อพันธุ์สับปะรดก่อนปลูก เพื่อกำจัดเพลี้ยแป้ง ด้วย เอราท๊อกซ์ อัตรา 16 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เอราท๊อกซ์ 24 อัตรา 16 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เอรามอล 83 อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร…

เทคนิคการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช ควบคุมโรคราแป้งของสตรอเบอรี่

โรคราแป้งของสตรอเบอรี่ เกิดจากราชั้นสูงที่มีชื่อว่า โปโดสฟีร่า อะฟานิส อาการเริ่มแรกพบบนใบด้านใต้ใบ มองเห็นเป็นผงเล็ก ๆ คล้ายฝุ่นสีขาว ต่อมารอยแผลขยายขึ้นทั่วผิวใบด้านใต้ใบ ขอบใบม้วนขี้น ต่อมาเนื้อบนใบและใต้รอยแผลเปลี่ยนเป็นสีม่วง ใบที่แสดงอาการรุนแรงจะกรอบ แห้ง ผลสตรอเบอรี่จะเล็ก แกรน ไม่เจริญ ผลแข็ง บางครั้งพบผงฝุ่นของเชื้อสาเหตุบนผลด้วย เชื้อราอาศัยอยู่บนซากใบพืชในดิน เมื่อปลูกพืชใหม่ เชื้อราเข้าทำลายต้นพืช สร้างส่วนขยายพันธุ์บนใบ จากนั้นสปอร์จะกระจายตามลมขึ้นไปยังใบเกิดใหม่ และต้นกล้าใหม่ในแปลงปลูก แล้วติดต้นกล้าไปยังพื้นที่ปลูกที่ห่างไกลออกไป  สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการระบาดเป็นพื้นที่อากาศค่อนข้างเย็น ความชื้นในอากาศสูง และมีลมพัดอ่อนๆ ตลอดวัน การควบคุมโรคโดยทั่วไป เน้นการดูแลรักษาต้นกล้าจากไหลที่เพาะเลี้ยงในพื้นที่เพาะกล้าให้ปราศจากโรคให้มากที่สุด  การเฝ้าระวังอาการของโรคที่เกิดบนใบครั้งแรกและกำจัดให้ได้ในทันทีโดยใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช สารป้องกันกำจัดโรคพืช ได้แก่   คาร์เบนดาซิม หรือ ครีโซซิม เมททิล หรือ เฮกซาโคนาโซล  เป็นต้น สารป้องกันกำจัดโรคพืชคาร์เบนดาซิม สารเคมีกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งเซลล์ของเชื้อรา สารจะเข้าไปในเส้นใย ยับยั้งเอนไซม์ที่ช่วยในการเจริญเติบโต ที่ช่วยการสร้างแอพเพรสซอเรียม แต่ไม่ยับยั้งการสร้างสปอร์และเส้นใยในเซลล์ สารป้องกันกำจัดโรคพืชครีซอกซิม เมททิล เป็นสารป้องกันกำจัดโรคพืชกลุ่มใหม่ที่ได้สารตั้งต้นจากการสกัดเห็ดพิษและได้สังเคราะห์สารออกฤทธิ์ในการควบคุมระบบหายใจของเชื้อรา สารกลุ่มนี้เป็นสารดูดซึม ละลายได้ดีในไขมัน จึงแทรกซึมผ่านชั้นไขของผิวใบพืชและสะสมอยู่ในผิวชั้นบนของพืช ละลายได้น้อยในน้ำ  สารนี้ยังซึมผ่านผนังเซลล์ของเชื้อราเข้าทำลายส่วนของไมโตชอนเดรีย…

เทคนิคการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช ควบคุมโรคผลเน่าของสตรอเบอรี่

โรคผลเน่าของสตรอเบอรี่ที่เกิดจากเชื้อราชั้นสูง ชื่อ โบไทรทิส ซินเนอเรีย ราสาเหตุนี้ทำลายได้ตั้งแต่ระยะออกดอก โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีสภาพอากาศเย็น ชื้น สปอร์ที่ฟุ้งในอากาศตกลงบนดอกจะงอกได้เมื่อพบความชื้นที่ได้จากการให้น้ำบนต้น  และแทงเส้นใยเข้ากลีบดอกเกิดการเน่า ราสาเหตุจะพักตัวอยู่บนกลีบดอกนี้ และเข้าสู่ผลในช่วงปลายฤดูการปลูก เมื่อผลสตรอเบอรรี่สุก แป้งในผลจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาล สปอร์เชื้อราจะงอกและทำลายผลเกิดการเน่าของผล อาจพบการเน่าได้ในแปลงปลูก หรือหลังการเก็บเกี่ยว ในขณะขนส่ง อาการที่ปรากฎบนกลีบดอกจะเป็นจุดสีน้ำตาลเล็กๆ ภายในเวลาเพียงวันเดียวเชื้อราก็สามารถผลิตสปอร์บนรอยแผลนั้นได้ สปอร์ที่ผลิตภายใต้รอยแผลบนกลีบดอกจะปรากฎคล้ายขุยกำมะหยี่สีเทา รอยแผลและขุยกำมะหยี่บนผลสตรอเบอรี่ก็เป็นเช่นเดียวกับบนกลีบดอก หรือคือกลีบเลี้ยงบนขั้วผลนั่นเอง รอยแผลบนผลจะแห้งลงได้เมื่ออากาศแห้ง สปอร์ที่ผลิตขึ้นบนรอยแผลจำนวนหลายล้านสปอร์จะฟุ้งขึ้นไปปะปนในอากาศ รอเวลาที่จะตกลงบนกลีบเลี้ยงและผลสตรอเบอรี่ต่อไป ผลและส่วนต่างๆ ของสตรอเบอรี่ที่เป็นโรคที่ตกค้างอยู่ในแปลงปลูกเป็นแหล่งของการระบาดของโรคในแปลงในฤดูต่อไป การป้องกันกำจัดโรคผลเน่าของสตรอเบอรี่ ต้องเริ่มตั้งแต่การเตรียมดินที่กำจัดแหล่งพักตัวของราสาเหตุ โดยการเก็บเศษซากพืชเป็นโรคออกจากแปลงปลูก ตลอดจนผลสตรอเบอรี่ที่ตกค้างในระหว่างเก็บเกี่ยวออกให้หมด การใช้ผ้าพลาสติกคลุมแปลงปลูกช่วยลดการเกิดโรคได้ พ่นทุก 7 วัน 2 ครั้ง แล้วพ่นสลับกลุ่มยา การใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช ควรเลือกใช้สารป้องกันการงอกของสปอร์ก่อนเกิดการทำลาย เช่น เบนโนมิล เมื่อสภาพอากาศเหมาะสมต่อการระบาด ได้แก่ อากาศเย็น มีหมอกบาง หรือมีฝนพรำๆ ให้วางตารางการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น  ไพราโคลสตราบิน  โปรคลอราช หรือ อะซอกซีสโตรบิน + ไดฟีโนโคนาโซล…

โรคราน้ำค้างของบวบเหลี่ยม

โรคราน้ำค้างของบวบเหลี่ยม บวบเหลี่ยม เป็นอีกพืชหนึ่งที่เกษตรกรนิยมปลูกหลังการผลิตพืชหลัก ไม่ว่าจะหลังการปลูกข้าว หรือข้าวโพด เพราะเป็นพืชอายุสั้น ได้ผลผลิตเร็ว แต่บวบเหลี่ยมก็มีปัญหาด้านการดูแลรักษา ทั้งเรื่องโรค แมลง และการเขตกรรม เกษตรกรจึงควรมีความเข้าใจปัญหาพื้นฐานของศัตรูและหมั่นสังเกตความผิดปกติที่พบในแปลงอยู่เสมอๆ โรคราน้ำค้างของบวบ เป็นโรคประจำชนิดหนึ่งที่มักพบเสมอๆ เกิดจากราชั้นต่ำที่มีชื่อว่า ซูโดเพอเรอโนสปอร่า การสังเกตอาการ จะพบอาการบนใบ มักพบมีแผลเหลี่ยมเล็กสีเหลืองชัดเจน ในขอบเขตเส้นใบ ในบางสายพันธุ์แผลอาจเป็นสีขาวหรือเทา ต่อมาใบจะเหลืองแห้งไป แตกต่างจากอาการใน แตงโม หรือแคนตาลูป โดยแผลจะเกิดในขอบเขตเส้นใบเช่นเดียวกับแตงกวา แต่ไม่ชัดเจนเท่า จะติดผลน้อย ผลมีขนาดเล็ก และความหวานลดลง หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม โรคจะระบาดรวดเร็ว ทำให้ใบเหลืองและแห้งตายทั้งต้น พบเส้นใยเชื้อราฟู เล็กๆ สีเทาดำตรงแผลใต้ใบ มักจะระบาดรุนแรงและรวดเร็วเมื่อช่วงกำลังให้ผล ทำให้เถาตายก่อนที่ผลจะสุกแก่พร้อมเก็บเกี่ยว การแพร่ระบาด พบได้ทุกระยะการเจริญ ระบาดมากในช่วงปลายฝนต้นหนาว ยิ่งมีความต่างของอุณหภูมิต่ำในเวลากลางคืน และอุณหภูมิสูงในเวลากลางวัน ยิ่งทำให้อาการของโรครุนแรง วิธีป้องกันกำจัด จัดการให้แปลงปลูกมีการถ่ายเทอากาศที่ดี ใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราชั้นต่ำ เช่น สาร ไดเมโทมอร์ฟ สารกลุ่ม 4 – เมทาแลกซิล กลุ่ม 22 – อีทาบอกแซม หรือ…