
เตือนเฝ้าระวังการระบาด “โรคใบด่างมันสำปะหลัง” ระบาดในไทย !
เมื่อเดือน พฤษภาคม 2561 กรมวิชาการเกษตรได้รับแจ้งจากสมาคมโรงงานผู้ผลิต มันสำปะหลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านนายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรีกรรมการมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย แจ้งพบการระบาด ใบด่างมันสำปะหลังใกล้ชายแดนไทยบริเวณช่องสะงำ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ พบอาการต้องสงสัย 1 แปลง จำนวน 2 ต้น เกษตรกรถอนทั้งต้นที่พบส่งห้องปฏิบัติการกรมฯ ผลการตรวจพบ ไวรัส Begomovirus สำหรับตัวอย่างแมลงหวี่ขาวที่เก็บมาตรวจไม่พบเชื้อไวรัส รวมทั้งไม่พบเชื้อในพืชอาศัยอื่นๆข้างแปลง ซึ่งพบว่ามีการระบาดจริงใน อ.ตะเบียงปราสาท จ.อุดรมีชัย ราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งอยู่ห่างจากประเทศไทย 40 กิโลเมตร
สวพ 4. และหน่วยงานในพื้นที่ สำรวจเพิ่มเติมจากจุดที่พบในรัศมี 5 กิโลเมตร พบอาการใบด่างจำนวน18 ต้นจากแปลงเกษตรกร จำนวน 8 ราย พื้นที่ปลูก 68 ไร่ และให้เฝ้าระวังในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง 6จังหวัด จันทบุรี สระแก้ว บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
แผนปฏิบัติงานฉุกเฉินหลังจากตรวจพบการระบาดในประเทศไทย
การกำจัดต้นมันสำปะหลังที่เป็นโรคและแมลงพาหะ
ถอนต้นมันสำปะหลังทั้งหมดในแปลง ที่พบต้นมันสำปะหลังที่เป็นโรค
นำต้นมันสำปะหลังที่ถอนขึ้นมาไปยังในหลุมที่มีขนาด 2X5X3 เมตร (กว้างX ยาว X สูง) จำนวน 3 หลุม พื้นที่ปลูกประมาณ 1-20 ไร่
พ่นต้นมันสำปะหลังด้วยสารกำจัดวัชพืช อะมีทรีน 80% WG
กลบหลุมด้วยดินที่ขุดขึ้นมา
ขั้นตอนการทำลายภายหลังตรวจพบการระบาดในประเทศไทย
พ่นสารฆ่าแมลง เพื่อกำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบบนพืชอาศัยในพื้นที่บริเวณรอบๆ แปลงมันสำปะหลังที่เป็นโรคไปแล้ว โดยใช้สารฆ่าแมลง เช่น imidacloprid 70% WG อัตรา 12 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ thiamethoxam 25% WG อัตรา 12 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อกำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบบนพืชอาศัยที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ที่พบการระบาด
สำรวจซ้ำทุก 2 สัปดาห์
Cre: สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร