เตือนภัย การระบาดโรคใบด่างของมันสำปะหลัง!!
ในเมื่อมันไม่เคยมีในประเทศไทยมาก่อน แล้วไวรัสนี้มาได้อย่างไรกันล่ะ คำตอบคือ มีเอกชนรายหนึ่งลักลอบนำท่อนพันธุ์มันสำปะหลังเข้ามาโดยไม่รู้ว่ามีไวรัสติดเข้ามาในท่อนพันธุ์ด้วย หลังจากปลูกไปแล้วจึงแสดงอาการให้เห็น เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้เข้าไปตรวจสอบ และพบว่าเป็นไวรัสชนิดใหม่ที่มีแมลงหวี่ขาวยาสูบ เป็นพาหะนำโรค โชคร้ายคือ ในประเทศไทยเรามีแมลงหวี่ขาวชนิดนี้อยู่ด้วย โอกาสแพร่ระบาดจึงเป็นไปได้สูง เมื่อนักวิชาการได้ขอให้เจ้าของแปลงทำลายต้นที่เป็นโรค และต้นใกล้เคียงที่มีการติดเชื้อแล้วทิ้งไป เจ้าของแปลงก็ไม่ปฎิบัติตามด้วยข้ออ้างต่างๆ และเราก็ไม่มีกฎหมายสำหรับเรื่องนี้อย่างจริงจัง การปล่อยแปลงเป็นโรคไว้ให้มีการระบาดต่อไป จึงถือว่าเป็นภัยอันตรายสำหรับผู้ปลูกมันบริเวณใกล้เคียง และอาจลามต่อเนื่องไปในพื้นที่อื่นๆ นั่นคือข้อวิตกว่าอนาคตมันสำปะหลังจะสูญสิ้น นั่นเอง
แล้วโอกาสที่เหตุการณ์นี้จะเป็นจริงได้หรือไม่ เราลองมาพิจารณาประเด็นความเป็นจริงกันก่อน
แมลงหวี่ขาวยาสูบที่เป็นพาหะของไวรัสสาเหตุมีอยู่ทั่วไปในประเทศไทย มีพืชอาศัยมากกว่า 900 ชนิด สามารถถ่ายทอดไวรัสสาเหตุโรคพืชได้ในเวลาที่รวดเร็ว แมลงชนิดนี้มีขนาดเล็ก ประมาณ 1 มิลลิเมตร ปีกสีขาว มีขนละเอียดปกคลุม ลำตัวสีเหลืองอ่อน มีอายุประมาณ 30-40 วัน วงจรชีวิตของแมลงหวี่ขาวตัวนี้ มันจะวางไข่ได้มากถึง 200 ฟอง โดยไข่ของแมลงพาหะตัวนี้จะเป็นกระจุกเกาะอยู่ด้านใต้ใบ สีน้ำตาลอ่อน ใช้เวลาเป็นไข่ 3-7 วัน ฟักเป็นตัวอ่อน มีอายุ 11-18 วัน เข้าดักแด้นาน 5-7 วัน ก่อนเป็นตัวเต็มวัย ที่ใช้เวลาหาคู่ ผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงเวลา 2-11 วัน ขึ้นกับสภาพแวดล้อม
การแพร่กระจายโดยมันจะบินไปกับลม ถ้าลมพัดแรงมันจะเดินทางไปได้ไกลถึง 2-7 กิโลเมตรต่อวัน แปลงมันสำปะหลังของเกษตรกรปลูกติดต่อกันเป็นผืนใหญ่ ซึ่งก็แน่นอนว่าหากมีโรคระบาดอยู่เพียง 1 ต้น ในแปลงหนึ่ง แปลงที่อยู่ในละแวกเดียวกันย่อมติดโรคได้ในเวลาไม่นานเลยอย่างแน่นอน
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมของการเพิ่มปริมาณแมลงหวี่ขาว คือสภาพอากาศที่แห้งแล้ง มีฝนทิ้งช่วง และมีพืชอาศัยให้แมลงใช้ชีวิตอยู่ได้ตลอดทั้งปี ซึ่งมันสามารถอาศัยอยู่บนพืชได้มากกว่า 900 ชนิด เดือนกุมภาพันธุ์ ถึง เดือนเมษายน เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมมากสำหรับการแพร่ระบาดนั่นเอง
หากเกษตรกรมันสำปะหลังช่วยกันเป็นหูเป็นตา ปกป้องพืชผลของเราเอง ตามวิธีที่กล่าวมา โอกาสการสูญสิ้นมันสำปะหลัง ก็คงจะเกิดได้ยาก แต่หากพวกเราละเลย ปล่อยให้การค้าพันธุ์ที่มีโรคติดมาระบาดไปในที่ต่างๆ เราชาวไร่มันอาจจะต้องเผชิญภัยโรคไวรัสชนิดนี้อย่างแน่นอน
การป้องกันกำจัดแมลงหวี่ขาว
- การกำจัดวัชพืชที่เป็นพืชอาศัย รอบๆ แปลง
- เก็บซากพืชหลังการเก็บเกี่ยว ฝังลงดินลึกๆ หรือเผาไฟ เพื่อไม่ให้มีต้นอ่อนงอกออกมาเป็นแหล่งอาศัยของแมลงได้อีก
- แช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูก แนะนำให้ใช้สารในกลุ่มนีโอนิโคตินอยด์ เช่น ไทอะมีโธแซม 2-4 กรัม ผสมกับ ไซฟามิน บีเค 5-10 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร แช่นาน 10 นาที ห้ามเกิน
- ตรวจแปลง หากพบการระบาด ควรตัดใบที่มีตัวอ่อนไปเผาทำลาย แล้วพ่นด้วย สารกำจัดแมลงหวี่ขาว เช่น อะซีเฟต หรือ อะเซทามิพริด หรือ อิมิดาคลอปริด หรือ ไทอะมีโธแซม หรือ บูโปรเฟซิน เป็นต้น ผสมไซฟามินไปด้วย 5 ซีซี/20ลิตร ห้ามเกิน !!! พ่นเมื่อพบแมลงหวี่ขาว 5-10 ตัว บนต้นมันสำปะหลัง 10-20 ต้น และพ่นติดต่อกัน ทุก 4-5 วัน อีก 1-2 ครั้ง หากยังพบการระบาดของแมลงอีก
หมายเหตุ สารกลุ่มหนึ่ง ควรพ่นติดต่อกันได้ไม่เกิน 3 ครั้ง แล้วพ่นสลับกลุ่มสารเคมี เช่น พ่นครั้งแรกด้วย อะซีเฟต 3 ครั้ง ทุก 4-5 วัน แล้ว จึงพ่นสลับด้วย อิมิดาคลอปริด อีก 3 ครั้ง ทุก 4-5 วัน แล้วสลับด้วยสารกลุ่มอื่น อีก เพื่อเป็นการป้องกันการดื้อยาของแมลงหวี่ขาว
เอราเฟต สารอะซีเฟต อีกทางเลือกสำหรับกำจัดแมลงหวี่ขาว โดยเฉพาะแมลงหวี่ขาวยาสูบ พาหะที่ ทำให้เกิดโรคไวรัสใบด่างในมันสำปะหลัง
ไซฟามินบีเค พ่นอัตรา 5 ซีซี ต่อ น้ำ 20 ลิตร สารอาหารพืชเข้มข้ม มันสำปะหลังโตไว ใบเขียวเข้ม ลงหัวดี หัวใหญ่
มันสำปะหลังปลอดโรค ต้นโตไว ลงหัวดี หัวใหญ่ ด้วย ไซฟามิน บีเค + เอราเฟต