
โรคแคงเกอร์ระบาดในส้ม
โรคแคงเกอร์ หนึ่งในโรคที่อันตรายร้ายแรงอย่างยิ่งของพืชตระกูลส้ม เกิดจากแบคทีเรีย Xanthomonas campestris pv. citri
โรคแคงเกอร์หรือชาวบ้านเรียกโรคขี้กลาก สามารถเข้าทำลายได้ตั้งแต่ ลำต้น กิ่ง ก้าน ใบ และผล สร้างความเสียหายทั้งปริมาณและคุณภาพ

การแพร่ระบาด
โรคนี้ปกติจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงในเขตที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูงในช่วงฤดูฝนและระยะที่มีหนอนชอนใบเข้าทำลาย เชื้อแบคทีเรียจะกระจายได้ตามกระแสลม ฝน แมลง จากส่วนที่เป็นโรคไปยังส่วนอื่นๆของต้น อาการที่เห็นชัดๆคือ จะเห็นจุดนูนสีออกคล้ายสนิม น้ำตาลเข้ม เริ่มตั้งแต่ใบอ่อน แต่โรคบนกิ่งจะนูนแต่ไม่มีวงสี โรคจะเข้าได้ตั้งแต่ผลอ่อนจะเห็นเป็นวงหรือปื้นใหญ่ จะทำให้ผลแตก จนผลร่วงในที่สุด

การป้องกันกำจัด โรคแคงเกอร์
- ควรเลือกกิ่งพันธุ์ที่ปลอดโรค
- การพ่นสารกำจัดเป็นกลุ่มทองแดง โดยพ่นในระยะใบเพสลาดอย่างสม่ำเสมอ
- การพ่นสารกำจัดแมลงจำพวกเพลี้ยไฟและหนอนชอนใบส้ม
- การรักษาความสะอาดในสวน ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคออก ทำให้ต้น โปร่ง ไม่อับชื้น จะช่วยป้องกันการเกิดโรคแคงเกอร์ในส้มได้


ป้องกันกำจัด โรคแคงเกอร์ด้วย
ไอโรเน่ ดับบลิวจี อัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ โคปิน่า85 ดับบลิวพี อัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร และควรป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟและหนอนชอนใบส้มที่ทำให้เกิดแผล จนเชื้อสาเหตุเข้าทำลายด้วย
เอราทริป 5 เอสซี อัตร 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เอราคอน 70 อัตรา 5-10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
ควรปรับสภาพน้ำที่เป็นด่างก่อนการผสมสารทุกครั้งให้เป็นกรดอ่อนๆด้วย
ไซโฟเวอร์ ในอัตรา 3-5 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร (หรือใส่ไซโฟเวอร์ให้น้ำเป็นสีชมพูอ่อน เพื่อปรับสภาพน้ำให้เหมาะสม ก่อนการผสมยา)
หลังการตัดแต่งกิ่งทุกครั้งควรทาบริเวณแผลด้วย โคปิน่า 85 ดับบลิวพี เพื่อป้องกันเชื้อราและแบคทีเรียเข้าทางบาดแผล