โรคใบจุดมะเขือเทศที่เกิดจากแบคทีเรีย

โรคใบจุดที่เกิดจากแบคทีเรีย แตกต่างจากใบจุดที่เกิดจากรา สังเกตได้ง่ายๆ โดยจะพบจุดเล็กๆ บนใบอ่อน ลักษณะช้ำน้ำ ต่อมาแผลจะแห้งและยุบตัวลง แผลลักษณะกลม มีขนาดใกล้เคียงกัน กระจายทั่วทั้งแผ่นใบ เนื้อใบตรงกลางแผลจะโปร่งแสง หรือใบบางหรือทะลุเป็นรู ขอบแผลหนาสีน้ำตาลเข้ม รอยแผลที่พบบนกิ่ง ก้าน ของมะเขือเทศเป็นจุดสีดำเล็กๆ จุดแผลบนผลสีน้ำตาลเข้มบุ๋มลึกลงตรงกลางแผล ผลมะเขือเทศจะมีสีซีดหรือไม่เข้าสี ผลบิดเบี้ยว ขนาดเล็กลง และหลุดร่วงง่ายหากพบว่ามีการทำลายของแบคทีเรียที่ขั้วผล
แบคทีเรียสาเหตุมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า แซนโทโมแนส เวสิคาทอเรีย ชอบอากาศร้อนชื้น อาศัยติดมากับเมล็ดพันธุ์ปลูก และอยู่ในเศษซากพืชที่ตกค้างในดิน เมื่อปลูกมะเขือเทศในฤดูต่อไป แบคทีเรียในดินจะถูกน้ำฝน หรือน้ำที่ใช้รดชะล้างให้กระเด็นขึ้นมายังใบล่างๆ แล้วลุกลามขึ้นไปยังใบบนๆ
การป้องกันกำจัดโรค
- การเตรียมแปลงด้วยการไถดินตากแดดแรงๆ ประมาณ 2-3 วัน
- แปลงที่เคยพบว่ามีการระบาดมากสามารถ ลดปริมาณแบคทีเรียในดินได้ด้วยการใส่ปูนขาว ผสมยูเรียในอัตรา 10:.1
- เมื่อคลุกเคล้าปูนขาวเข้ากับยูเรีย ดีแล้ว ให้โรยบนแปลงปลูกที่เตรียมไว้ จากนั้นให้น้ำพอเปียกบนแปลงปลูกนาน 7 วัน โดยต้องให้แปลงมี ความชื้นตลอดเวลาแต่แปลงต้องไม่เปียกจนเกินไปหลังจากนั้นจึงย้ายกล้าลงปลูกได้
- การใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชในกลุ่มสารประกอบทองแดง
- การแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุ่น ที่อุณภูมิ 52-55 องศาเซลเชียส นาน 30 นาทีจะช่วยลดปริมาณแบคทีเรียที่ติดมากับเมล็ดลงได้

สารป้องกันกำจัดโรคพืช
ไอโรเน่ ดับบลิวจี : ในอัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
โคปิน่า 85 ดับบลิวพี : ในอัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
*พ่นมื่อเริ่มพบ การระบาดของโรค ทุกๆ 5-7 วัน จำนวน 3-4 ครั้ง