ประกาศรายชื่อผู้โชคดีโชคติดลัง 35 ปี

คุณกิตติราช ชนะนิธิธรรม คุณวิมลสิริ สูญศรี เจตจรัส พารา พิจารี วิกิจการโกศล ธีรสิทธิ์ รุ่งพัฒนาชัยกุล ณัฐพงษ์ ศุภปัญญาพงศ์ ณัฏฐวัฒน์ คำภูผา สมจิตรการเกษตร ธนชัย ไทยวัน ทัศนีย์ ศรีชัยนาท เพ็ญวัน กุลเกียรติประเสริฐ ศิริภรณ์ พิทักษ์สันติสุข สดใส เมืองมนต์ ยุคนธร จิตอารีย์รัตน์ ฉัตรชัย เฉลิมโชคเจริญกิจ อรวรรณ ชาวลี้แสน รัชนี วนภูวดล สมหวัง บุญสากุลธงไชย สุพรรณี พรมเทพ ไพบูลย์ อุปพันธ์พงศ์ชัย เพ็ญวัน กุลเกียรติประเสริฐ จิณาพัฒน์ ศิริทัศนาเวชภูชิต สุทธิพงษ์ รัตนาภากร จิณาพัฒน์ ศิริทัศนาเวชภูชิต อุทัย ชุ่มจิตต์ ธนาวุฒิ โทสูงเนิน เชษฐิพิสิฐ โพธิ์แนม อำพล พรมประสิทธิ์…

เตือนภัย การระบาดโรคใบด่างของมันสำปะหลัง!!

เตือนภัย การระบาดโรคใบด่างของมันสำปะหลัง!!เมื่อไม่นานมานี้มีการสำรวจพบโรคใบด่างของมันสำปะหลังในพื้นที่การปลูกมันแห่งหนึ่ง โรคจากไวรัสชนิดนี้ไม่เคยพบว่ามีปรากฎในประเทศไทยมาก่อน อาการที่ปรากฎให้เห็นคือ ใบยอด 4-5 ใบบนของมันสำปะหลังจะหดย่น ม้วนงองุ้ม ใบเรียวเล็กลงกว่าปกติ ต้นเตี้ยแคระและไม่เจริญเติบโต มันไม่ลงหัว และยืนต้นตาย ในเมื่อมันไม่เคยมีในประเทศไทยมาก่อน แล้วไวรัสนี้มาได้อย่างไรกันล่ะ คำตอบคือ มีเอกชนรายหนึ่งลักลอบนำท่อนพันธุ์มันสำปะหลังเข้ามาโดยไม่รู้ว่ามีไวรัสติดเข้ามาในท่อนพันธุ์ด้วย หลังจากปลูกไปแล้วจึงแสดงอาการให้เห็น เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้เข้าไปตรวจสอบ และพบว่าเป็นไวรัสชนิดใหม่ที่มีแมลงหวี่ขาวยาสูบ เป็นพาหะนำโรค โชคร้ายคือ ในประเทศไทยเรามีแมลงหวี่ขาวชนิดนี้อยู่ด้วย โอกาสแพร่ระบาดจึงเป็นไปได้สูง เมื่อนักวิชาการได้ขอให้เจ้าของแปลงทำลายต้นที่เป็นโรค และต้นใกล้เคียงที่มีการติดเชื้อแล้วทิ้งไป เจ้าของแปลงก็ไม่ปฎิบัติตามด้วยข้ออ้างต่างๆ และเราก็ไม่มีกฎหมายสำหรับเรื่องนี้อย่างจริงจัง การปล่อยแปลงเป็นโรคไว้ให้มีการระบาดต่อไป จึงถือว่าเป็นภัยอันตรายสำหรับผู้ปลูกมันบริเวณใกล้เคียง และอาจลามต่อเนื่องไปในพื้นที่อื่นๆ นั่นคือข้อวิตกว่าอนาคตมันสำปะหลังจะสูญสิ้น นั่นเอง แล้วโอกาสที่เหตุการณ์นี้จะเป็นจริงได้หรือไม่ เราลองมาพิจารณาประเด็นความเป็นจริงกันก่อน แมลงหวี่ขาวยาสูบที่เป็นพาหะของไวรัสสาเหตุมีอยู่ทั่วไปในประเทศไทย มีพืชอาศัยมากกว่า 900 ชนิด สามารถถ่ายทอดไวรัสสาเหตุโรคพืชได้ในเวลาที่รวดเร็ว แมลงชนิดนี้มีขนาดเล็ก ประมาณ 1 มิลลิเมตร ปีกสีขาว มีขนละเอียดปกคลุม ลำตัวสีเหลืองอ่อน มีอายุประมาณ 30-40 วัน วงจรชีวิตของแมลงหวี่ขาวตัวนี้ มันจะวางไข่ได้มากถึง 200 ฟอง โดยไข่ของแมลงพาหะตัวนี้จะเป็นกระจุกเกาะอยู่ด้านใต้ใบ สีน้ำตาลอ่อน…

โลกร้อน…ส่งผลต่อพืชอย่างไร

โลกร้อน…ส่งผลต่อพืชอย่างไรพวกเราชาวเกษตรกรต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะเรื่องดิน ฟ้า อากาศ เป็นหลัก ปีนี้ได้มีการพยากรณ์ไว้แล้วว่าจะเป็นปีที่แล้งมากที่สุดในรอบหลายๆ ปีที่ผ่านมา ซึ่งเราก็ได้ประสบกันถ้วนหน้าว่าความแห้งแล้งได้เข้ามาเยือนเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ นั่นคือเริ่มส่งผลมาตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม ความร้อนและความแห้งแล้งนี้ส่งผลต่อการป ลูกพืชอย่างไรบ้าง ปัญหาที่เกิดกับพืชเมื่อเผชิญกับสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้งนี้ พอสรุปออกมาได้ดังนี้ • ความร้อนและแสงแดดจัดส่งผลให้น้ำในดินระเหยออกจากผิวดินขึ้นไปเร็วกว่าปกติ และระเหยในปริมาณที่มากขึ้น จึงทำให้พืชขาดน้ำอย่างมาก จะเห็นได้ชัดในพืชที่ต้องการน้ำมาก เช่น พืชอวบน้ำ และไม้ผลต่างๆ ทุเรียนมีความต้องการน้ำต้นละ 200 ลิตรต่อวัน จึงแสดงอาการขาดน้ำได้ชัดเจน เมื่อพืชขาดน้ำ ดินแห้งลงอย่างเร็วขึ้นส่งผลให้พืชจะอ่อนแอมากกว่าปกติ • ศัตรูพืชชนิดปากดูด และปากเขี่ยดูด ได้แก่ ไร เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยกระโดด และเพลี้ยอ่อน เป็นต้น จะมีวงจรชีวิตสั้นลง นั่นคือพวกมันจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ซึ่งนอกจากจะมีน้ำน้อยอยู่แล้ว มันยังเพิ่มปริมาณมากขึ้นในช่วงเวลาที่วงจรชีวิตน้อยลงดังนั้นรอบการตรวจดูพืชในสวนจะต้องดูบ่อยครั้งมากขึ้นนั่นเอง ส่วนแมลงกลุ่มผีเสื้อ เช่น หนอนต่างๆ จะไม่มีการเปลี่ยนช่วงเวลาของวงจรชีวิตมากนัก และอาจลดปริมาณตัวเต็มวัยลงได้ในธรรมชาติ เนื่องจากพืชอาศัยขาดแคลน • ด้านจุลินทรีย์สาเหตุโรคพืช จุลินทรีย์ประเภทแบคทีเรียทนร้อนจะมีปริมาณมากขึ้น เพราะจะขยายพันธุ์ได้ดี และเมื่อพืชอ่อนแอ แบคทีเรียจะเข้าทำลายได้ง่ายมากขึ้น สำหรับพืชขาดน้ำ ดินที่แห้งลงจะทำลายปลายรากฝอยและทำให้ปลายรากฝอยเกิดแผล การให้น้ำแต่ละครั้งจะส่งเสริมให้จุลินทรีย์ดินที่ปะปนอยู่กับเศษซากพืช หรือพักตัวอยู่จะงอกและเข้าทำลายรากพืชในระยะนี้ได้ง่าย…

โรคใบจุดอัลเทอนาเรียของพืชผักในระบบไฮโดรโปนิกส์

โรคใบจุดอัลเทอนาเรียของพืชผักในระบบไฮโดรโปนิกส์โรคของพืชผักในระบบการปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์อีกชนิดหนึ่งคือ โรคใบจุดที่เกิดจากราที่ชื่อ #อัลเทอนาเรียบราสสิซี โรคนี้มีความสำคัญเนื่องจากระบบการปลูกแบบนี้มีจุดประสงค์เพื่อการผลิตผักปลอดสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ซึ่งจะไม่มีการใช้สารเคมีใดๆ ภายในโรงเรือนปลูกผักอย่างเด็ดขาด ลักษณะอาการของโรคนี้ จะพบได้กับพืชตระกูลผักกาด เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอคเคอรี่ ผักกาดเขียว ผักกาดขาว ผักสลัดชนิดต่างๆ เช่น เรดคลอรอล กรีนโอ๊ค เป็นต้น โดยจะพบอาการของโรคได้ตั้งแต่ระยะกล้า จนถึงระยะเก็บเกี่ยว เริ่มแรก อาการที่เห็นจะเป็นจุดแผลเล็กๆ สีน้ำตาลเข้มถึงดำ โดยจะพบบนใบล่างก่อนลุกลามขึ้นไปยังใบบนๆ ลักษณะเด่นของโรคนี้คือ จุดแผลมีลักษณะเป็นวงเรียงซ้อนกัน หลายๆ ชั้น อาการบนพืชบางชนิดอาจเป็นรูปกลม บนบางพืชอาจเห็นเป็นจุดเหลี่ยมไปตามขอบของเส้นใบพืช เมื่ออาการเกิดรุนแรงขึ้น ต้นผักจะเหี่ยว ใบหักพับ อาการจุดแผลจะลุกลามไปทั่วต้นและทำให้ต้นแห้งตายก่อนแก่ ไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ พืชผักที่ปลูกเลี้ยงด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ มีข้อเสียเปรียบที่ระบบการส่งธาตุอาหารพืชผ่านจากถังผสมสารอาหารไปยังรางปลูกพืช เมื่อต้นพืชเป็นโรค ราสาเหตุจะผลิตส่วนขยายพันธุ์ที่เรียกว่าโคนิเดียจำนวนมาก และปล่อยลงในน้ำที่ผ่านระบบรากก่อนถูกดูดกลับไปยังถังผสมอาหาร แล้วย้อนกลับไปยังพืชในโรงเรือนเป็นเช่นนี้ทุกๆ วัน โคนิเดียของราสาเหตุที่ปะปนอยู่ในสารอาหารจะงอกและเข้าทำลายพืชต้นปกติได้ต่อไป ทำให้การระบาดของโรคเกิดได้ทั้งโรงเรือนนั่นเอง ราสาเหตุของโรคชอบอากาศค่อนข้างร้อนและชื้น ส่วนขยายพันธุ์ของราจะติดไปกับเมล็ดได้ดี และเป็นแหล่งการระบาดไปยังแหล่งปลูกอื่นๆโรคใบจุดอัลเทอนาเรียของพืชผักในระบบไฮโดรโปนิกส์ โรคของพืชผักในระบบการปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์อีกชนิดหนึ่งคือ โรคใบจุดที่เกิดจากราที่ชื่อ #อัลเทอนาเรียบราสสิซี โรคนี้มีความสำคัญเนื่องจากระบบการปลูกแบบนี้มีจุดประสงค์เพื่อการผลิตผักปลอดสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ซึ่งจะไม่มีการใช้สารเคมีใดๆ ภายในโรงเรือนปลูกผักอย่างเด็ดขาด ลักษณะอาการของโรคนี้ จะพบได้กับพืชตระกูลผักกาด เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก…

รากเน่าผักไฮโดรโปนิกส์….ปัญหาซ้ำซาก

รากเน่าผักไฮโดรโปนิกส์ ….ปัญหาซ้ำซากการปลูกผักด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ เป็นการปลูกผักด้วยการใช้ธาตุอาหารครบทุกชนิดตามสัดส่วนที่พืชต้องการ ละลายน้ำแล้วปล่อยให้ไหลผ่านระบบรางจากถังพักเพื่อไปยังแถวปลูกพืชที่วางถ้วยปลูกพืช โดยภายในถ้วยปลูกอาจบรรจุวัสดุรองรับ เช่น สารดูดซับความชื้น หรืออาจใช้วัสดุปลูกที่เป็นดินผสม แต่จะปลูกในโรงเรือนที่ป้องกันแมลงเพื่อลดปัญหาการใช้สารป้องกันกำจัดแมลง และการปนเปื้อนสารดังกล่าว เพื่อให้การผลิตพืชผักปลอดสารพิษเป็นไปตามวัตถุประสงค์ การให้ปุ๋ยชนิดละลายน้ำผ่านไปในระบบที่กล่าวมานี้ ปุ๋ยที่เหลือจะไหลกลับไปยังถังพักเพื่อตรวจวัดจำนวนปุ๋ยที่เหลือและเพิ่มเติมปุ๋ยลงใหม่ให้ได้สัดส่วนเพียงพอ ก่อนปล่อยกลับไปยังระบบส่งสารอาหารตามเดิม จะว่าไปแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างดูเหมือนว่าจะควบคุมได้ทั้งหมด และควบคุมได้เป็นอย่างดี จนมีการออกแบบการใช้เครื่องจักรกลอัตโนมัติมาเป็นตัวแทนพนักงานในการปฎิบัติงาน โรงเรือนที่ใช้ปลูกพืชมีระบบควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ความเข้มของแสงที่พอเหมาะ การเคลื่อนย้ายถาดปลูก การเติมสารอาหารและระบบต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมได้ทั้งสิ้น แล้วปัญหาอะไรกันที่เกิดได้ซ้ำซาก? ปัญหาที่เกิดโดยทั่วไปจะเกิดจากสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ หรือควบคุมได้ยากนั่นเอง โดยเฉพาะปัญหาจาก#จุลินทรีย์ ที่เป็นสาเหตุโรคพืชหลายชนิด ปัญหาด้านแมลง อาจจะพบบ้าง แต่เนื่องจากเป็นโรงเรือนปิด หรือโรงเรือนกันแมลง จึงพบแมลงที่มีขนาดเล็กๆ ได้แก่ #ไร และ #เพลี้ยไฟ เป็นส่วนใหญ่ แต่เชื้อโรคพืชจะสามารถติดเข้ามาในโรงเรือน และเพิ่มปริมาณในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตสภาพเดียวกันกับที่พืชชอบนั่นเอง เชื้อสาเหตุ #โรคโคนเน่ารากเน่า ของผักที่ปลูกในโรงเรือนระบบไฮโดรโปนิกส์ที่พบโดยทั่วไป คือ ราพิเทียม อฟานิเดอร์มาตัม เป็นราชั้นต่ำ ผลิตสปอร์ที่มีหางและว่ายน้ำได้ อาการที่พบบนผักคือการเหี่ยวและรากเน่า ถ้าอุณหภูมิต่ำพออาจมองเห็นเส้นใยละเอียดสีขาวบริเวณรอยแผล ราสาเหตุสร้างส่วนขยายพันธุ์ที่ทนต่อสภาพแวดล้อม และอาศัยในระบบของโรงเรือนได้ทุกส่วนเป็นเวลานานๆ ราสาเหตุ ติดเข้ามาในโรงปลูกได้โดยการติดมาทางเมล็ดพันธุ์ผักนั่นเอง แม้ว่าจะมีการเพาะกล้าในสถานที่อื่นก่อนย้ายมายังส่วนที่ใช้ปลูก และมีการคัดเลือกกล้าที่ไม่แสดงอาการของโรคมาแล้วก็ตาม แต่กล้าผักเพียงต้นเดียวที่มีราสาเหตุติดมาในระบบไฮโดรโปนิกส์ จะส่งผลให้ต้นผักทุกต้นในโรงเรือนที่ใช้ถังปุ๋ยถังเดียวกันเป็นโรคได้ทั้งหมดในเวลาอันรวดเร็ว นอกจากนี้การปลูกกล้าผักเป็นพันเป็นหมื่นต้นย่อมพบการผิดพลาดได้ และหากไม่ได้ใช้คนในการคัดเลือก ย่อมพบความผิดพลาดได้สูง ราสาเหตุที่ติดมาบนกล้าผัก จะเติบโต…

การกำจัดแบคทีเรียในแปลงปลูกผัก

การกำจัดแบคทีเรียในแปลงปลูกผักสภาพอากาศร้อนแล้วยังมีความชื้นร่วมด้วย เป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการระบาดของแบคทีเรียโรคพืชในเขตร้อน โดยเฉพาะโรคเน่าเละของพืชผักชนิดต่างๆ อาการของโรคเน่าเละ หรือรากเน่าโคนเน่าของผักที่เกิดจากแบคทีเรียที่มีชื่อว่า #เออวิเนียคาโรเทอโวร่าพบเจอกันตั้งแต่ผักยังเป็นต้นกล้า จนถึงโตใกล้เก็บเกี่ยวก็ได้ โรคนี้จำกันได้ง่ายๆ ที่มันจะมีกลิ่นเฉพาะตัวที่รุนแรงมาก หากพบอาการบนต้นหนึ่ง การระบาดไปยังต้นใกล้เคียงจะเกิดได้ในเวลาแค่ 2 -3 วัน เท่านั้น และอาจจะระบาดหมดทั้งแปลงได้ในเวลาไม่ถึงสัปดาห์ แบคทีเรียเหล่านี้มาจากไหน? แบคทีเรียมีอยู่ในแปลงผักที่ปลูกติดต่อกันมาป็นเวลานานๆ เศษใบ ราก และต้นผักที่มีแบคทีเรียอาศัยเป็นโรคอยู่ถูกสะสมลงในดิน เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม ดินมีความชื้น รากของผักปลดปล่อยสารอาหารให้แบคทีเรียๆ จะเพิ่มจำนวนมากพอที่จะเข้าทำลายพืชได้ ก่อนที่แบคทีเรียโรคพืชจะเข้ามาในแปลงที่ไม่เคยปลูกผัก และไม่เคยพบโรคมาก่อนมันมาจากไหนกันล่ะ ‼ คำตอบคือแบคทีเรียติดมากับเมล็ดพันธุ์ที่ซื้อมาปลูกนั่นเอง จริงอยู่แม้ว้าข้อกำหนดมาตรฐานของเมล็ดพันธุ์ผัก จะต้องมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคพืชได้ไม่เกิน 1 เมล็ด ในหนึ่งหมื่นเมล็ด แต่เกษตรกรไม่มีทางรู้ได้เลยว่าในเมล็ดพันธุ์ผัก แต่ละกระป๋องที่ซื้อมามีแบคทีเรียติดมากี่เมล็ด การเตรียมเมล็ดก่อนปลูกด้วยการบ่มด้วยความชื้นให้เมล็ดงอกตุ่มรากก่อนทำกล้า แบคทีเรียโรคพืชที่แอบมาใน 1 เมล็ดนั้นมีเวลามากพอที่จะเพิ่มจำนวนก่อนไหลไปปนเปื้อนมล็ดผักบางเมล็ดในถุงผ้าที่บ่มเมล็ดค้างคืนไว้นั้น ดังนั้นการปลูกฤดูแรกๆ จึงยังไม่ค่อยพบว่ามีโรคนี้ และเมื่อพบเพียงไม่กี่ต้นก็ไม่มีการนำออกไปเสียจากแปลง ใบผักหรือรากและต้นเป็นโรคที่ถูกทิ้งไว้เป็นแหล่งแพร่เชื้อเพราะแบคทีเรียสามารถพักตัวอยู่ได้ในดินนานถึง 10 ปี เมื่อถึงฤดูต่อไป การไถพรวนจะทำให้แบคทีเรียกระจายออกไปกว้างเท่าที่การเกลี่ยกลบดินจะทำไปถึง โรคเน่าเละก็จะพบมากขึ้นและมากขึ้น ตามจำนวนครั้งที่มีการปลูกพืชอาศัย นอกจากนี้หากชาวสวนทิ้งเศษต้นที่เป็นโรคลงในแหล่งน้ำ แบคทีเรียที่ติดอยู่บนต้นนั้นก็จะกระจายไปกับน้ำและระบาดไปยังแปลงที่ใช้น้ำร่วมกัน แล้วเราจะมีวิธีป้องกันกำจัดแบคทีเรียในแปลงปลูกผักกันได้อย่างไร การกำจัดแบคทีเรียในแปลงปลูกผัก สภาพอากาศร้อนแล้วยังมีความชื้นร่วมด้วย เป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการระบาดของแบคทีเรียโรคพืชในเขตร้อน โดยเฉพาะโรคเน่าเละของพืชผักชนิดต่างๆอาการของโรคเน่าเละ หรือรากเน่าโคนเน่าของผักที่เกิดจากแบคทีเรียที่มีชื่อว่า #เออวิเนียคาโรเทอโวร่าพบเจอกันตั้งแต่ผักยังเป็นต้นกล้า จนถึงโตใกล้เก็บเกี่ยวก็ได้ โรคนี้จำกันได้ง่ายๆ ที่มันจะมีกลิ่นเฉพาะตัวที่รุนแรงมาก หากพบอาการบนต้นหนึ่ง การระบาดไปยังต้นใกล้เคียงจะเกิดได้ในเวลาแค่ 2…

บริษัท เอราวัณเคมีเกษตร จำกัด ได้รับหนังสือรับรอง Q Factory จากกรมวิชาการเกษตร

บริษัท เอราวัณเคมีเกษตร จำกัด ได้รับหนังสือรับรอง Q Factory จากกรมวิชาการเกษตรเมื่อเร็วๆนี้ คณะผู้บริหารกลุ่มธุรกิจเอราวัณ โดยมีคุณไพน์ทวี สุพรรณธะริดา คุณสราวุธ สุพรรณธะริดา และคุณพฤชสุดา สุพรรณธะริดา ผู้บริหารระดับสูง เข้ารับหนังสือรับรอง “Q Factory” โดยได้รับเกียรติจาก ผ.อ.ภัชญภณ หมื่นแจ้ง (ผ.อ. สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร) และ ผ.อ.สังวรณ์ (ผ.อ.สารวัตรเกษตร) เป็นผู้มอบ ณ กรมวิชาการเกษตร Q Factory สัญลักษณ์การรับรองสินค้าเกษตรและอาหาร จัดโดยกรมวิชาการเกษตร เพื่อมอบให้แก่บริษัทที่เป็นผู้ผลิตวัตถุอันตรายทางการเกษตรที่มีคุณภาพ โดยบริษัท เอราวัณเคมีเกษตร จำกัด ได้รับหนังสือรับรอง Q Factory เป็นรายแรกในปี 2562 แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเพื่อเพิ่มผลผลิต พัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทย อย่างแท้จริง

ปูนสุก….ปูนดิบ

ปูนสุก….ปูนดิบย่างเข้าฤดูร้อนกันแล้ว เกษตรกรสวนผักเก็บเกี่ยวผักฤดูหนาวกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาเตรียมดินเพื่อรอปลูกผักในฤดูต่อไป ซึ่งก็ต้องหลังสงกรานต์เดือนเมษายน เพราะช่วงเวลาดังกล่าว นอกจากจะเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่ไทย หาแรงงานได้ยากแล้วยังมีสภาพภูมิอากาศร้อนและแห้งแล้งมาก การทำเกษตรกรรมจึงมีความเสี่ยงสูง อย่างไรก็ตาม สภาพอากาศร้อนและแห้งแล้งอย่างนี้มีข้อดีอย่างหนึ่ง นั่นคือ ชาวสวนสามารถเตรียมดิน ไถและตากแดด เพื่อฆ่าเชื้อโรค ลดจำนวนไข่และตัวอ่อนของแมลงลงได้ ตามตำรามีบอกไว้ว่า การตากดินด้วยแดดร้อนจัด ประมาณหนึ่งเดือน จะช่วยลดจำนวนศัตรูพืชลงได้อย่างมากทีเดียว การตากแดดดินต้องถูกไถขึ้นให้โครงสร้างของดินโปร่งเพื่อให้แสงแดดส่องเข้าไปได้อย่างทั่วถึงจึงจะได้ผลดี นอกจากนี้เมล็ดวัชพืชก็จะถูกพลิกขึ้นมาเหนือดิน ทำให้เมล็ดแห้งและเสียความงอก หรือได้วัชพืชที่อ่อนแอ หลังจากฝนตกลงมาในช่วงสงกรานต์ หรือาจก่อนหน้าบ้าง หลังสงกรานต์บ้าง แล้วแต่สภาพภูมิอากาศโลก ซึ่งในปีนี้มีพยากรณ์ว่าจะเกิดความแห้งแล้งขึ้นทั่วทั้งโลก นั่นหมายความว่าหากเกษตรกรท่านใดอยู่ใกล้แหล่งน้ำก็จะมีโอกาสปลูกผักได้ราคาดีอย่างแน่นอน แต่หากท่านไม่มีแหล่งน้ำ หรือมีน้ำไม่พอใช้ตลอดฤดู ก็ไม่ควรเสี่ยงปลูกผัก เพราะผักต้องการน้ำมาก ดังนั้นควรเลือกปลูกพืชใช้น้ำน้อย และอายุสั้นจะดีกว่า เช่นถั่วเขียว ที่ได้ราคาดีเช่นกัน ปัญหาการปลูกผักในฤดูแล้งจะต้องเผชิญศัตรูผักอะไรบ้าง เรื่องโรคพืช ก็จะเป็นโรคเน่าเละเป็นส่วนใหญ่ ส่วนแมลงเป็นกลุ่มแมลงปากดูด เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดด และ ไร เมื่อเราทราบปัญหาเช่นนั้นแล้ว เราจะมีวิธีป้องกันมันอย่างไรกันดี ในเรื่องโรคเน่าเละของผักที่เกิดจากแบคทีเรีย ซึ่งเป็นโรคที่มีลักษณะเฉพาะตัวคือกลิ่นผักเน่าจากแบคทีเรียสาเหตุ นักวิชาการหลายสำนักแนะนำให้เกษตรกรใช้ปูนขาวใส่ดินเพื่อการปรับค่าความเป็นกรด ด่างของดิน เพราะดินที่เป็นกรดจัดจะทำให้พืชอ่อนแอต่อแบคทีเรียโรคพืช และแบคทีเรียนี้ก็ชอบสภาพแวดล้อมเช่นนี้ด้วยเช่นกัน เมื่อมาถึงตรงนี้…

มอร์เทล

สารฟิโพรนิล ชนิดเม็ด 0.3%GR กำจัดหนอนกอ แมลงนูนหลวง ด้วงหนวดยาว หนอดเจาะยอดอ้อย เพลี้ยจั๊กจั่นในกระเจี๊ยบเขียวและฝ้าย   สารกำจัดแมลงศัตรูพืชในกลุ่ม Phenylpyrazoles(Fiprole) อ้อย หนอนเจาะยอดอ้อย หนอนกัดกินรากอ้อย แมลงนูนหลวง ด้วงหนวดยาวอ้อย กระเจี๊ยบเขียว ฝ้าย เพลี้ยจั๊กจั่นฝ้าย   การใช้และอัตราการใช้ อ้อย ใช้ในอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ หว่านบริเวณร่องอ้อยก่อนปลูกหรือหลังปลูกอ้อยทันที ในสภาพดินมีความชื้นพอเหมาะ กระเจี๊ยบเขียว ฝ้าย ใช้ในอัตรา 5 กรัมต่อหลุม รองก้นหลุมก่อนปลูก ขณะดินมีความชื้นพอเหมาะ

เผานา..เผาไร่…เกษตรกรเสียอะไร

เผานา..เผาไร่…เกษตรกรเสียอะไรปัญหามลภาวะ ฝุ่น 2.5 ไมครอน ไร่ถูกเผา ไฟไหม้ป่า ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ ดูว่าจะเป็นเรื่องซ้ำซาก จำเจ ค้างคามาหลายยุค หลายสมัย แต่อย่างหนึ่งที่ไม่มีใครกล่าวถึง คือความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงจากการเผา โดยเฉพาะการเผาไร่ เผาตอซังข้าวในนา   เกษตรกรเผาแปลงด้วยข้ออ้างและเหตุผลต่างๆ นานา ที่ผู้เขียนเองเข้าใจถึงปัญหา ทั้งเรื่องแรงงานตัดอ้อย การจัดการแปลงให้ทันฤดูปิดหีบ การจัดการนาให้พร้อมสำหรับพืชหลังนา ให้ทันช่วงเวลาส่งน้ำของฝ่ายชลประทาน หรือช่วงเวลาแรงงานภาคการเกษตร แม้จะมีเครื่องจักรกลมาช่วยผ่อนแรงบ้างแล้ว แต่แรงงานคนสำหรับเกี่ยวข้าวหรือเก็บข้าวโพด ก็ยังต้องแย่งกันกับผู้ปลูก หอม กระเทียม ให้ทันฤดูกาลเช่นกัน จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม เกษตรกรที่เผาแปลง ไม่ใช่เฉพาะแต่ไร่อ้อย ต้องรวมถึงพืชอื่นๆ ทั้งข้าวโพด มันสำปะหลัง หรือแม้แต่การเผาหญ้า เกษตรกรท่านจะทราบหรือไม่ว่า ท่านได้เผาทรัพยากรอันมีค่าของท่านเองทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย   ทรัพยากรแรกคือ #อินทรีย์วัตถุ จากพืช ตอซัง ใบพืช และส่วนต่างๆ ที่เป็นอินทรีย์วัตถุ ซึ่งอุดมไปด้วยธาตุอาหารพืชที่ใช้ในการบำรุงดิน ให้มีโครงสร้างที่ดี มีการอุ้มน้ำ และเก็บรักษาธาตุอาหารไว้เพื่อคอยปลดปล่อยให้แก่พืชได้ใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง ด้วยวิธีการย่อยสลายของจุลินทรีย์ดินอย่างช้าๆ อินทรีย์วัตถุเหล่านี้มีธาตุอาหารพืชครบทุกชนิด ตามธรรมชาติ และท่านได้เผามันทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย   ความสูญเสียต่อมาคือ #น้ำบนผิวดิน ที่ระเหยออกไปเมื่อได้รับความร้อนจากการเผาไร่…