3. เมื่อต้นกล้าตั้งตัวได้แล้ว เราจะใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 นับว่าเป็นปีที่ 1 เราจะใส่ไม่มากนัก ถ้าดินเป็นดินเหนียวและน้ำใต้ดินสูง จะใส่น้อยกว่าดินร่วนครึ่งหนึ่งเพราะปุ๋ยไนโตรเจนจะละลายไปกับน้ำได้ในปริมาณมากและเร็วกว่าดินแห้ง สมมุติว่าใส่ต้นละ 50 กรัม (ขึ้นกับชนิดของไม้ผล) เรามักใส่สูตรเสมอ เช่น 15-15-15 หรือ 16-16-16 ซึ่งแตกต่างกันที่ชนิดของแม่ปุ๋ยที่นำมาทำสูตรนั้นๆ จำนวนปุ๋ยที่ใส่ในระบบราก จะน้อยกว่าจำนวนปุ๋ยที่หว่านใต้ต้นเท่าตัว(เพราะการหว่านปุ๋ย อากาศและแสงแดดจะทำลายปุ๋ยไปก่อนที่พืชจะนำไปใช้ได้) อย่างไรก็ตามการใส่ปุ๋ยทั้ง 2 วิธี จำนวนปุ๋ยที่ใส่ต้องไม่ออกไปนอกระบบรากพืช
4. เมื่อต้นไม้มีอายุมากขึ้นก็จะใส่ปุ๋ยมากขึ้น โดยปีที่ 2 มักใส่มากกว่าปีที่ 1 เท่าตัว (คือ 100 กรัมต่อต้นต่อปี) จำนวนครั้งของการแบ่งใส่ ขึ้นอยู่กับความเปียกหรือแห้งของดิน ถ้าดินเปียก ต้องแบ่งใส่ปีละบ่อยครั้งกว่าดินแห้งเสมอ พืชอายุน้อยอาจแบ่งใส่ปีละ 6 -10 ครั้ง พืชอายุ 3 ปีขึ้นไป จะแบ่งใส่ปีละ 4-6 ครั้ง และจำนวนปุ๋ยจะเป็น 150 กรัมต่อต้นต่อปี
5. เมื่อไม้ผลให้ผลผลิต วิธีการประหยัดปุ๋ย คือการคำนวนว่าเรานำปุ๋ยออกไปจากสวนกี่กิโลกรัม โดยชั่งน้ำหนักผลไม้ที่เก็บเกี่ยวได้ (หากเป็นได้ควรทราบจำนวนผลผลิตต่อต้น หากไม่สามารถทำได้ก็ทราบจำนวนผลผลิตต่อสวน แล้วคำนวนเป็นน้ำหนักต่อต้น) เราจะใส่ปุ๋ยเท่ากับธาตุอาหารที่ติดไปกับผลผลิต ซึ่งเราจะทราบจากค่าวิเคราะห์ธาตุอาหารของผลไม้แต่ละชนิด โดยผลการวิเคราะห์จะบอกถึงปริมาณธาตุ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริมอีก 10 ชนิด ที่พบในผลไม้ชนิดนั้นๆ (ผลไม้หลายชนิดได้มีการวิเคราะห์ค่าของธาตุอาหารไว้แล้วสามารถนำมาใช้ได้เลย)