
โรคช่อดอกพลาสติกในมะม่วง
ปัญหาของชาวสวน สู่งานวิจัย สวก.
เรื่อง : รศ.ดร.พงษ์นาถ นาถวรานันต์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
โรคช่อดอกพลาสติก (mango malformation disease, MMD) เป็นอาการผิดปกติที่เกิดกับช่อดอกของมะม่วงและมีผลทำให้มะม่วงไม่ติดผล ซึ่งชาวสวนมะม่วงในประเทศไทย พบลักษณะอาการดังกล่าวมาระยะหนึ่งแล้ว และได้มีการนำมาพูดคุยกันถึงปัญหาดังกล่าวในที่ประชุมสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย ถึงสาเหตุที่ยังไม่ได้มีการศึกษาทางด้านวิชาการอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามในต่างประเทศได้มีการพบลักษณะผิดปกติที่เรียกว่าโรคช่อดอกพลาสติก ซึ่งเป็นอาการผิดปกติของมะม่วงที่พบได้ในประเทศที่มีการปลูกมะม่วงทั่วโลกและสร้างความเสียหายให้กับชาวสวนอย่างกว้างขวาง
• ชาวสวนมะม่วงไทยให้ข้อมูลว่าจะพบอาการช่อดอกพลาสติกเฉพาะระยะการแทงช่อดอกและจะเห็นได้ชัดเจนเมื่ออยู่ในระยะดอกบานแต่ไม่พบอาการในช่วงการแตกใบอ่อน ขณะที่ลักษณะช่อดอกจะคล้ายคลึงกับช่อดอกปกติความยาวช่อใกล้เคียงกันแต่จะไม่ติดผลและดอกหรือส่วนของดอกติดอยู่บนก้านช่อดอกหนากว่าปกติ และจะพบเฉพาะบางพันธุ์ที่ปลูกในพื้นที่เดียวกัน
• โดยมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสาเหตุของโรคช่อดอกพลาสติกในหลายประเทศทั่วโลก พบว่าโรคช่อดอกพลาสติกมีสาเหตุจากการเข้าทำลายของเชื้อโรคพืช Fusarium spp.(เชื้อฟิวซาเรียม) โดยมีรายงานว่าเชื้อสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคได้แก่ Fusarium mangiferae
• อย่างไรก็ตามยังพบว่าเชื้อสาเหตุโรคช่อดอกพลาสติกจะแตกต่างกันในแต่ละประเทศหรือพื้นที่ที่พบการเกิดโรค โดยพบเชื้อสาเหตุโรคช่อดอกพลาสติกในสกุล Fusarium อื่นๆ ได้แก่ F. sterilihyphosum ในแอฟริกาใต้ และ บราซิล F. mexicanum พบในเม็กซิโก F. tupiense พบในบราซิลและเซเนกัล และยังพบ F. proloferatum และ F. pseudocircinatum
• นอกจากนั้นยังมีการรายงานว่า ไรที่เข้าทำลายบริเวณตายอดและตาดอกของมะม่วง (mango bud mite) (Aceria mangiferae)อาจทำให้เกิดการระบาดของโรคช่อดอกพลาสติกเพิ่มมากขึ้น โดยรอยแผลที่เกิดจากการกัดของไรจะเป็นช่องทางให้เชื้อสาเหตุโรคพืชเข้าทำลายมะม่วงได้ง่ายขึ้น แต่ยังขาดหลักฐานที่ชัดเจน
สำหรับในประเทศไทย มีรายงานว่าชาวสวนผู้ปลูกมะม่วงพบว่าโรคดังกล่าวเป็นปัญหาสำคัญและระบาดเพิ่มมากขึ้นเป็นวงกว้าง เพราะมะม่วงที่พบอาการจะไม่ติดผล ผลผลิตจึงลดลง ส่งผลให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ แต่ยังไม่มีการศึกษาในด้านของวิชาการถึงสาเหตุและการจัดการโรคช่อดอกพลาสติกของมะม่วงอย่างแท้จริง
• อีกทั้งลักษณะอาการบางลักษณะที่พบในประเทศไทยยังมีความแตกต่างจากที่มีรายงานในต่างประเทศ แม้ว่ารายงานของนักวิจัยในต่างประเทศได้สรุปว่าการเข้าทำลายของเชื้อราฟิวซาเรียมเป็นสาเหตุของโรคช่อดอกพลาสติก แต่ในประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจจะมีสาเหตุของอาการที่แตกต่างกัน หรืออาจจะเป็นได้ว่าเป็นโรคต่างชนิดกันกับที่พบในต่างประเทศแต่มีชื่อเรียกเหมือนกัน คือ mango malformation disease (MMD) ซึ่งประเทศไทยเรียกว่าโรคช่อดอกพลาสติก
จากสาเหตุดังกล่าว สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. จึงได้อนุมัติทุนสนับสนุนการวิจัยให้กับทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พงษ์นาถ นาถวรานันต์ (ผู้เขียน) เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยร่วมกับทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เพื่อดำเนินการวิจัยศึกษาสาเหตุและวิธีการจัดการโรคช่อดอกพลาสติกในประเทศไทย ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงเริ่มต้นการวิจัยและต้องการความร่วมมือจากชาวสวนมะม่วงอีกมากในการร่วมกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว ถ้ามีความก้าวหน้าของการวิจัยเพิ่มมากขึ้นจะนำเสนอในโอกาสต่อไป
สำหรับโรคดอกพลาสติกในมะม่วงที่มักจะเกิดขึ้นในมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ ที่มีสาเหตุการเกิดหลายประการ แล้วแต่นักวิชาการด้านต่างๆจะวินิจฉัย สาเหตุทั้งหลายที่เกิดขึ้นน่าจะมาจากสาเหตุจากสภาวะโลกที่เปลี่ยนแปลงอาทิเช่น ภาวะอุณหภูมิที่สูงขึ้น ก็มีส่วนให้มะม่วงเจอสภาวะความเครียด เกิดการเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการของเกสรตัวผู้ เกิดจากความไม่พร้อมของเกสรตัวเมีย เกิดจากโรคศัตรูมะม่วงระบาดมากขึ้น เกิดจากการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟและเพลี้ยจั๊กจั่นเข้าทำลายในช่วงพัฒนาการของดอก เกิดจากความขาดความสมดุลของธาตุอาหาร ทั้งหลายทั้งมวลล้วนเป็นสาเหตุทั้งสิ้น
การเกิดดอกพลาสติกหรือดอกกระเทยเรียกว่า Parthenocarpy ซึ่งก็คือการพัฒนาเป็นผลของฐานรองดอกที่ไม่ได้เกิดจากกระบวนการผสมเกสรหรือ Fertilization ทั้งนี้เกิดจากพัฒนาการของเกสรตัวผู้มีปัญหา ทางด้านนี้ ผลิตภัณฑ์ของทางบริษัท เอราวัณเคมีเกษตร จำกัด คือ เอิร์ท 23 (Ert23) และ ไซฟามิน บีเค (Cifamin BK) สามารถช่วยแก้ปัญหาในกระบวนการผสมเกสรได้ อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาการขาดดุลยภาพของธาตุอาหารและความเครียดของพืชที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนได้
จากการเปลี่ยนแปลงของภาวะโลกร้อนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการระบาดของโรคโดยไม่ทราบเชื้อสาเหตุ การใช้ สารป้องกันกำจัดเชื้อรา “ ฟราวไซด์ (Frowncide) ” สามารถป้องกันกำจัดโรคที่ไม่ทราบสาเหตุได้ดี เนื่องจากออกฤทธิ์ได้อย่างกว้างขวางครอบคลุมในเชื้อสาเหตุได้หลากหลายที่เรยกว่า broad spectrum
“ เรสเปคท์บูล 72 WP (Respect Bul)” ชื่อสามัญคือ Cymoxanil+Mancozeb ก็มีคุณสมบัติที่ใช้เป็น broad spectrum ได้ดีเช่นเดียวกัน
สำหรับการใช้สารกำจัดเพลี้ยไฟ เพลี้ยจั๊กจั้น คงต้องใช้หลักการบริหารการใช้ยาให้ดี เนื่องมีอาการดื้อยาให้พบเห็นมากแล้วในปัจจุบัน
Cre: สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย