

สารป้องกันกำจัดโรคพืช โดยเฉพาะสารที่มีความเฉพาะเจาะจงต่อกลุ่มจุลิทรีย์ที่มีความใกล้ชิดกัน จะก่อให้เกิดการต้านทานขึ้นได้เมื่อมีการใช้เป็นเวลานาน ทั้งนี้เนื่องจากความต้องการอยู่รอดของจุลินทรีย์ในธรรมชาติเอง
กลไกการต้านทานของจุลินทรีย์ที่มีต่อสารป้องกันกำจัดโรคพืชเกิดขึ้นได้หลายวิธี ได้แก่
1. จุลินทรีย์อาจเปลี่ยนโครงสร้างของเซลล์ เช่นสร้างผนังเซลล์หนาขึ้น ทำให้สารป้องกันกำจัดโรคพืชซึมลงไปไม่ถึงชั้นในของเชื้อจุลินทรีย์นั้น
2. จุลินทรีย์ผลิตสารต่อต้านสารป้องกันกำจัดโรคพืชที่พ่นลงไป ทำให้สามารถรอดชีวิตได้ และขยายพันธุ์ได้จุลินทรีย์ต้านทานมากขึ้น
3. สารป้องกันกำจัดโรคพืชชนิดเฉพาะเจาะจงที่เข้าทำลายในขบวนการผลิตสารเพื่อ การดำรงชีวิตชนิดหนึ่งของจุลินทรีย์ เพื่อความอยู่รอด จุลินทรีย์นั้นอาจสร้างสารที่มันต้องการใช้ให้มากขึ้นเพื่อชดเชยจำนวนที่ถูกทำลายไป
4. หรือจุลินทรีย์อาจเลิกใช้สารที่ถูกทำลาย หันผลิตไปสารชนิดใหม่ขึ้นมาใช้ทดแทน
ดังนั้นการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชชนิดเฉพาะเจาะจงต่อเนื่องกันเป็นเวลานานๆ จะทำให้จุลินทรีย์สร้างความต้านทานขึ้นได้และมีพัฒนาการต่อไปจนต้านทานได้อย่างสมบูรณ์
การลดหรือชลอการต้านทานสารป้องกันกำจัดโรคพืชของจุลินทรีย์ อาจทำได้โดย
1. การใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชชนิดเฉพาะเจาะจงให้น้อยครั้งที่สุดในแต่ละฤดูการปลูก
2. วางแผนการสลับกลุ่มสารป้องกันกำจัดโรคพืชให้ต่างกลุ่มเป้าหมายการทำลาย หรืออาจใช้ผสมกันระหว่างกลุ่มที่มีฤทธิ์การทำลายต่างกัน
3. ลดความถี่ของการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชชนิดนั้น โดยใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชที่ไม่เฉพาะเจาะจงมาสลับใช้
4. ไม่ใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชชนิดเฉพาะเจาะจงในอัตราที่ต่ำกว่าอัตราที่กำหนดว่าสามารถใช้ควบคุมจุลินทรีย์สาเหตุโรคพืชนั้นได้
5. ถ้าหากการปลูกพืชชนิดหนึ่งๆ มีการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชที่ถูกจำกัดให้อยู่ในกลุ่มที่มีการออกฤทธิ์ที่ต่างกัน เพียงไม่กี่ชนิด วิธีการใช้สารสลับกัน จะได้ประสิทธิภาพในการควบคุมดี มากกว่าการใช้สารหลายชนิดผสมกันแล้วพ่นในแต่ละครั้ง
หากจำเป็นต้องผสมสารป้องกันกำจัดโรคพืชมากกว่า 1 ชนิด หัวใจสำคัญของการผสม สารป้องกันกำจัดโรคพืช ต้องไม่ก่อให้เกิดความต้านทานข้ามกลุ่ม และอัตราการใช้สารป้องกันกำจัดทั้ง 2 ชนิด จะต้องเพียงพอต่อการควบคุมจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างความต้านทานได้ง่าย โดยทั่วไป การผสมสารป้องกันกำจัดโรคพืชมากกว่า 1 ชนิด ในถังเดียวกันควรคำนึงถึงจุลิทรีย์สาเหตุของโรคตัวหลักที่มีความสำคัญก่อน แม้ว่าเชื้อสาเหตุที่มีความสำคัญน้อยกว่าจะต้านทานสารป้องกันกำจัดโรคง่ายกว่าก็ตาม
อย่างไรก็ตาม วิธีการพ่นสารสลับกลุ่มการออกฤทธิ์ หรือการผสมกันในถังพ่น ยังไม่มีข้อยืนยันว่าวิธีใดดีกว่ากัน ดังนั้นผู้ปฎิบัติอาจเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับชนิดของโรค ชนิดของพืชที่ต้องการควบคุม และชนิดสารป้องกันกำจัดโรคพืชที่เหมาะสมในการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการปฎิบัติงานเป็นสำคัญ
——————-
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่มีสูตรผสมที่ถูกต้อง เพราะอยู่ต่างกลไกการออกฤทธิ์กัน สามารถช่วยลดการดื้อยาได้
เรสเปคท์ บูล: https://bit.ly/2PP0oQe
เอราสตาร์ 32.5 เอสซี: https://bit.ly/2MLeOin
#บริษัทเอราวัณเคมีเกษตรจำกัด #เกษตร #โรคพืช #มะม่วง
———————-
มาปรึกษาปัญหาศัตรูพืชและสอบถามข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมกับเราได้ที่
Line@: https://bit.ly/2NltiL0
โทร: 02-5135251, 099-121-5161